การเห็นคุณค่าในตนเองของนักศึกษาที่มีประสบการณ์เพศสัมพันธ์แบบข้ามคืน

ผู้แต่ง

  • พัชราภา ตันติชูเวช หมวดวิชาศึกษาทั่วไป คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์

คำสำคัญ:

การเห็นคุณค่าในตนเอง, เพศสัมพันธ์แบบข้ามคืน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบระดับการเห็นคุณค่าในตนเองของนักศึกษาชายและนักศึกษาหญิงที่มีประสบการณ์เพศสัมพันธ์แบบข้ามคืน 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการเห็นคุณค่าในตนเองของนักศึกษาที่มีประสบการณ์เพศสัมพันธ์แบบข้ามคืนและนักศึกษาที่ไม่มีประสบการณ์เพศสัมพันธ์แบบข้ามคืน และ 3) เพื่อศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นและวิธีการป้องกันตนเองของนักศึกษาภายหลังจากการมีประสบการณ์เพศสัมพันธ์แบบข้ามคืน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี อายุ ระหว่าง 18 – 24 ปี ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 29 คน เก็บข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและนำมาวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นและวิธีการป้องกันตนเองภายหลังการมีเพศสัมพันธ์แบบข้ามคืน และสำหรับข้อมูลเชิงปริมาณเป็นการตรวจสอบการเห็นคุณค่าในตนเองของนักศึกษาที่มีประสบการณ์เพศสัมพันธ์แบบข้ามคืน ผู้วิจัยเปรียบเทียบระดับการเห็นคุณค่าในตนเองของนักศึกษาที่มีประสบการณ์เพศสัมพันธ์แบบข้ามคืนด้วยค่าสถิติที (t – test)

ผลการศึกษาพบว่า 1) นักศึกษาเพศชายที่มีประสบการณ์เพศสัมพันธ์แบบข้ามคืน มีระดับการเห็นคุณค่าในตนเองสูงกว่านักศึกษาเพศหญิงที่มีประสบการณ์เพศสัมพันธ์แบบข้ามคืนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักศึกษาที่มีประสบการณ์เพศสัมพันธ์แบบข้ามคืนทั้งเพศชายและเพศหญิงมีระดับการเห็นคุณค่าในตนเองไม่แตกต่างกันกับนักศึกษาที่ไม่มีประสบการณ์เพศสัมพันธ์แบบข้ามคืน และ 3) ผลกระทบที่เกิดขึ้นภายหลังการมีเพศสัมพันธ์แบบข้ามคืนคือ เพศหญิงจะมีความวิตกกังวลกับผลที่เกิดขึ้นในอนาคตกับตนเอง และอนาคตด้านต่างๆ ในชีวิตมากกว่าเพศชาย โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ทั้งในเพศชายและเพศหญิงจะเลิกมีพฤติกรรมเพศสัมพันธ์แบบข้ามคืนหากมีครอบครัวในอนาคต สำหรับวิธีการป้องกันตนเองภายหลังการมีเพศสัมพันธ์แบบข้ามคืนคือ การสวมถุงยางอนามัยและการกินยาคุมกำเนิด

References

เกศราภรณ์ มีมงคล. (2551). เจตคติของเยาวชนต่อการมีพฤติกรรมเพศสัมพันธ์แบบข้ามคืน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาพัฒนาการ คณะจิตวิทยา กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เกศรินทร์ กาญจนภิรมย์. (2547). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิงมหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. วิทยานิพนธ์สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์. (2551). ประวัติศาสตร์ของเพศวิถี : ประวัติศาสตร์เรื่องเพศ/เรื่องเพศในประวัติศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง (สคส.)และสถาบันวิจัยประชากรและสังคม (วปส.). มหาวิทยาลัยมหิดล

ฐิติมา ยินดี. (2550). การรับรู้ตนเองของวัยรุ่นหญิงตอนปลายที่มีคู่นอนคนเดียวและมีคู่นอนมากกว่า 1 คน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาพัฒนาการ คณะจิตวิทยากรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐนันท์ คงคาหลวง. (2548). เหตุผลของการมีพฤติกรรมทางเพศที่ขาดการป้องกันในสตรีวัยรุ่นตอนปลายและวัยผู้ใหญ่ตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาพัฒนาการ คณะจิตวิทยา กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพิชา สุพพัตกุล. (2551). การเห็นคุณค่าในตนเอง ความรู้เรื่องโรคเอดส์ และเหตุผลของวัยรุ่นตอนปลายที่มีพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ข้ามคืน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตสาขาจิตวิทยาพัฒนาการ คณะจิตวิทยา กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ระวีวรรณ ดนัยดุษฎีกุล. (2549). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการละเว้นเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นหญิงตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประชากรศาสตร์แห่งชาติ. สมาคมนักประชากรไทย. กรุงเทพฯ.

วัฒนธรรมเพื่อชีวิต. (2553). “เด็กไทยในมิติวัฒนธรรม”. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 1, 6. หน้า 38 – 39.

วันทนีย์ วาสิกะสิน และคณะฯ. (2546). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเพศศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิภาดา เอี่ยมแย้ม. (2548). การมีพศสัมพันธ์ข้ามคืนของวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาเพศศาสตร์ (สหสาขาวิชา) บัณฑิตวิทยาลัย กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิไลลักษณ์ เสรีตระกูล. (2438). รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรู้เรื่องโรคเอดส์และการใช้ถุงยางอนามัยในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในสถาบันอุดมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : ทบวงมหาวิทยาลัย.

สมประสงค์ พระสุจันทร์ทิพย์ และ อัญชลี ปิยะตานนท์. (2544). นักเรียนเรทอาร์ นักศึกษาเรทเอ็กซ์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : บี เค อินเตอร์ปริ้นท์.

สิทธิพงศ์ วงศ์วิวัฒน์. (2548). ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ระดับปริญญามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาพัฒนาการ คณะจิตวิทยา กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อมรา พงศาพิชญ์. (2548). เพศสถานะและเพศวิถีในสังคมไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Coopersmith. (1981). The antecedents of self-esteem. CA: Consulting Psychologists Press.1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-10