รูปแบบการพัฒนาคณะกรรมการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ปรเมศวร์ ศิริรัตน์ สำนักงาน กศน.กรุงเทพมหานคร สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

คณะกรรมการสถานศึกษา, สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานครรูปแบบการพัฒนา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาคณะกรรมการสถานศึกษา และ (2) นำเสนอรูปแบบการพัฒนาคณะกรรมการสถานศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งได้ 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 คณะกรรมการสถานศึกษาของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร จำนวน 50 เขต เขตละ 9 คน รวมทั้งสิ้น 450 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ผู้วิจัยทำการสุ่มอย่างง่ายจากคณะกรรมการสถานศึกษาในแต่ละเขต เขตละ 5 คน รวมทั้งสิ้น 250 คน เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาคณะกรรมการสถานศึกษา กลุ่มที่ 2 ผู้ทรงคุณวุฒิได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงเฉพาะผู้บริหารที่ดำรงตำแหน่งบริหารการศึกษาหรือเคยดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และรับผิดชอบในการบริหารการศึกษาตามอัธยาศัยระดับจังหวัด ไม่น้อยกว่า 5 ปี จำนวน 19 คน เพื่อสัมภาษณ์ประเด็นต่างๆ ดังนี้ 1) หน่วยงานที่รับผิดชอบในการบริหารคณะกรรมการสถานศึกษา 2) เป้าประสงค์ในการพัฒนา 3) หลักสูตร 4) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของคณะกรรมการสถานศึกษา 5) วิธีการพัฒนา และ 6) ปัญหาในการพัฒนาคณะกรรมการสถานศึกษา เมื่อได้ข้อมูลแล้วผู้วิจัยได้นำมาสังเคราะห์และสร้างรูปแบบจำลอง การพัฒนาคณะกรรมการสถานศึกษา หลังจากได้รูปแบบการพัฒนาคณะกรรมการสถานศึกษา แล้วผู้วิจัยจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group) โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดการศึกษานอกระบบและการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน 19 คน ร่วมกันพิจารณาถึงความเป็นไปได้ของรูปแบบ แล้วนำมาปรับปรุงเพื่อได้รูปแบบการพัฒนาคณะกรรมการสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร

ผลการวิจัยปรากฏว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหาโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน สำหรับความต้องการในการพัฒนาโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะและงานด้านอื่นๆ อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านการระดมทุนทางสังคมและทรัพยากรจากชุมชน และด้านการติดตามและเสนอแนะผลงานอยู่ในระดับปานกลาง

รูปแบบการพัฒนาคณะกรรมการสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 1) ปัจจัยนำเข้า มี 3 ส่วนได้แก่ ส่วนที่ 1 ระบบการบริหาร ซึ่งต้องมีหลักการกระจายอำนาจการบริหาร โดยธรรมาภิบาลและมีส่วนร่วมเป้าหมายในการพัฒนาสมรรถนะเชิงความรู้ เจตคติและการปฏิบัติ ส่วนที่ 2 หลักสูตรเพื่อพัฒนาบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษา และส่วนที่ 3 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ 2) กระบวนการ ได้แก่ กระบวนการ บริหาร PDCA และวิธีการพัฒนา 3) ผลผลิตได้แก่ ตัวบ่งชี้ความสำเร็จในด้านปัจจัยกระบวนการและผลผลิต 4) เงื่อนไขความสำเร็จในด้านปัจจัยนำเข้า ได้แก่ สื่อและวิธีการที่นำมาพัฒนาคณะกรรมการสถานศึกษาเหมาะสมกับความแตกต่างของบุคคล การคัดเลือกคณะกรรมการด้วยความโปร่งใส การสร้างวิสัยทัศน์ของผู้บริหารต่อการบริหารแบบคณะกรรมการเงื่อนไขความสำเร็จในด้านกระบวนการคือ การนำกระบวนการ PDCA มาใช้ในการบริหารทั้งระบบ

ผลจากการสนทนากลุ่ม (Focus Group) รูปแบบการพัฒนาคณะกรรมการสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กรุงเทพมหานคร ผู้ทรงคุณวุฒิยอมรับใน 3 ประเด็นนี้คือ ยอมรับในรูปแบบการพัฒนา คณะกรรมการสถานศึกษายอมรับองค์ประกอบต่างๆ ในแผนภาพรูปแบบการพัฒนาคณะกรรมการสถานศึกษา และเห็นว่ามีความเหมาะสมในการนำรูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาไปใช้

References

กรมสามัญ, กระทรวงศึกษาธิการ. (2543). บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาข้นพื้นฐานต่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียน. สงขลา : สำนักงานสามัญจังหวัดสงขลา.

กรมสามัญศึกษา (2544). กระทรวงศึกษาธิการ. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกรมสามัญศึกษา. กรุงเทพฯ :หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา.

การศึกษานอกโรงเรียน, กรม. (ม.ป.ป.). รายงานการวิจัย เรื่องการศึกษาแนวทางการจัดการศึกษาทางไกลในอนาคตให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์การศึกษาทางไกลไทยคม กรมการศึกษานอกโรงเรียน.

กำธร กิตติภูมิชัย. (2524) บทบาทของคณะกรรมการกับการบริหารราชการไทย. ศูนย์ศึกษา 7 (กรกฎาคม-สิงหาคม 2524).

คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. (2530). กระบวนการบริหารโรงเรียนการศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการของโรงเรียน ระบบข้อมูลและสารสนเทศ เล่มที่ 8. กรุงเทพมหานคร: รุ่งศิลป์การพิมพ์.

คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2546). แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554). (เอกสารอัดสำเนา)

จินตนา ศักดิ์ภู่อร่ม. (2545). การนำเสนอรูปแบบการบริหารโรงเรียนในกำกับของรัฐสำหรับประเทศไทย.

ฐิณีวรรณ วุฒิวิกัลยาการ. (2546). มนุษย์สัมพันธ์ในการทำงาน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

เติม แย้มสรวล. (2524). การบริหารการศึกษารูปแบบคณะกรรมการ. กรุงเทพฯ : อักษรสมัย.

ธรรมรส โชติกุญชร. 2544. “การบริหารแบบมีส่วนร่วม”. ประมวลสาระชุดวิชาทฤษฏีและแนวปฏิบัติในการบริหารการศึกษา หน่วยที่ 12. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นภาภรณ์ หะวานนท์ และคณะ. (2543). การศึกษาเงื่อนไขความสำเร็จในการดำเนินงานของคณะกรรมการโรงเรียน. (อัดสำเนา)

ประยูร ศรีประสาธน์ และคณะ. (2539). การกระจายอำนาจการบริหารการศึกษาของไทย. รายงานการวิจัยทุนอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน พ.ศ. 2537-2539. (ม.ป.ท.)

พิณสุดา สิริธรังศรี. (2541). การกระจายอำนาจการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร:เซเว่น พริ้นติ้ง กรุ๊ป.

สมยศ นาวีการ. (2545). การบริหารแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์บรรณกิจ 1991 จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง(พ.ศ. 2552 – 2561). กรุงเทพฯ : สำนักงานนโยบายและแผนการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2551). พระราชบัญญัติการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551. กระทรวงศึกษาธิการ.

อานันท์ ปันยารชุน. (2542). “ผู้นำคือผู้ที่คนอื่นอยากเดินตาม” ผู้นำ บรรณาธิการโดย สงวน นิตยรัมภ์พงศ์และ สุทธิลักษณ์ สมิตสิริ (ผู้รวบรวม) หน้า 26. กรุงเทพฯ: มติชน.

อุทัยวรรณ มรรคประเสริฐ. (2543). การปฏิบัติงานของคณะกรรมการโรงเรียน สังกัดสำนักงานประถมศึกษาจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

โอวาท สุทธนารักษ์. (2540). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการศึกษา (ภายใต้โครงสร้างการบริหารและการจัดการศึกษาที่ไม่กระจายอำนาจ) กรณีศึกษาภาคกลาง. (ม.ป.ท.)

Eisner, E. (1976). “Education connoisseurship and criticism: their form and functions in educational evaluation” Journal of Aesthetic Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-10