ภาระภาษีบุหรี่ของประชากรไทย

ผู้แต่ง

  • อนุวัฒน์ ชลไพศาล

คำสำคัญ:

ความไม่คงเส้นคงวาของการวางแผนข้ามเวลา, ลักษณะถดถอยของภาษีบุหรี่, ประเทศไทย

บทคัดย่อ

บทความนี้ใช้ข้อมูลโครงการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และดื่มสุราของประชากรไทย พ.ศ. 2550 เพื่อศึกษาผลของการเปลี่ยนแปลงภาษีบุหรี่ต่อการกระจายของภาระภาษีของประชากรผู้สูบบุหรี่ที่มีรายได้แตกต่างกัน การวิเคราะห์ตั้งอยู่บนกรอบคำอธิบายพฤติกรรมการสูบบุหรี่ 2 แบบคือ แบบจำลองการเสพติดที่สมเหตุผล และความไม่คงเส้นคงวาของการวางแผนข้ามเวลา ในแบบจำลองแรกภาษีบุหรี่มีลักษณะถดถอย อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาปัญหาความถดถอยของภาษีจากแบบจำลองความไม่คงเส้นคงวาของการวางแผนข้ามเวลา ผลการศึกษาพบว่า ภาษีบุหรี่ในประเทศไทยมีลักษณะก้าวหน้า โดยเมื่อมีการเพิ่มภาษีบุหรี่ ผู้สูบบุหรี่ในกลุ่มรายได้ต่ำจะได้รับประโยชน์จากการเพิ่มภาษีบุหรี่มากกว่ากลุ่มรายได้สูง ทั้งนี้เนื่องจากผู้สูบบุหรี่ ณ ช่วงชั้นรายได้ต่ำมีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาบุหรี่ซองมากกว่าผู้สูบบุหรี่ ณ ช่วงชั้นรายได้สูง

References

อนุวัฒน์ ชลไพศาล (2554) ภาระภาษีบุหรี่ของประชากรไทย, รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เสนอศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ

Becker, G. and K. Murphy (1988) “A Theory of Rational Addiction”, Journal of Political Economy, 96(4), 675–700

Fullerton, D. and G. Metcalf (2002) “Tax Incidence”, in Handbook of Public Economics, Vol. 4 A. Auerbach and M. Feldstein (eds.) Elsvier, 1787-1872

Gruber, J., and B. Koszegi (2001) “Is Addiction ‘Rational?’ Theory and Evidence”, Quarterly Journal of Economics, 116(4), 1261–1305

Gruber, J., and B. Koszegi (2004a) “A Theory of Government Regulation of Addictive Bads: Optimal Tax Levels and Tax Incidence for Cigarette Taxation”, Journal of Public Economics, 88(9–10), 1959–1987

Gruber, J. and B. Koszegi (2004b) “Tax Incidence when Individuals are Time Inconsistent: the Case of Cigarette Taxes”. Journal of Public Economics 88, 1959-87

Gruber, J. and B. Koszegi (2008) A Modern Economic View of Tobacco Taxation. Paris: International Union against Tuberculosis and Lung Disease

Isra Sarntisart et.al (2003) “An Economic Analysis of Tobacco Control in Thailand”, HNP Discussion Paper no.15, World Bank.

Koenker, R. (2005) Quantile Regression. Econometric Society Monograph Series, Cambridge University Press.

O’Donoghue, T. and M. Rabin (2006) “Optimal Sin Taxes”, Journal of Public Economics, 90(10–11), 1825–1849

O’Donoghue, T. and M. Rabin (2001) “Choice and Procrastination”, Quarterly Journal of Economics, 116(1), 121–160

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-10