บทบาทพระเอกของสมบัติ เมทะนี

ผู้แต่ง

  • นวธร ฤทธิ์เรืองนาม ภาควิชาการภาพยนตร์และภาพนิ่ง สาขาวิชาการภาพยนตร์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • จีรบุณย์ ทัศนบรรจง ภาควิชาการภาพยนตรและภาพนิ่ง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

บทบาทพระเอก, สมบัติ เมทะนี

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์สำคัญของการวิจัยคือ เพื่อวิเคราะห์ภาพลักษณ์ความเป็นพระเอกของสมบัติ เมทะนี งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพจากภาพยนตร์ที่สมบัติ เมทะนี รับบทเป็นพระเอกจำนวน 17 เรื่อง ทั้งนี้โดยเป็นการศึกษาชีวประวัติ เพื่อให้ทราบถึงหลักการดำเนินชีวิต การวางตัวในสังคมตลอดจนประสบการณ์ต่างๆ ที่ทำให้สมบัติ เมทะนี สามารถถ่ายทอดความเป็นพระเอกในภาพยนตร์จนเป็นที่นิยมของผู้ชม ภาพยนตร์ นอกจากนี้ยังเป็นการศึกษาผลงานการแสดงภาพยนตร์ของสมบัติ เมทะนี และองค์ประกอบในภาพยนตร์ที่ทำให้ลักษณะตัวละครและภาพลักษณ์ความเป็นพระเอก ในภาพยนตร์ของสมบัติ เมทะนี มีความโดดเด่นมากกว่าตัวละครอื่นๆ

ผลการวิจัยพบว่าตัวละครในบทบาทพระเอกที่รับบทโดยสมบัติ เมทะนี มีลักษณะดังนี้ ภารกิจหลักขึ้นอยู่กับความสามารถในการคลี่คลายสถานการณ์ของพระเอก ส่วนในภาพยนตร์ที่มีการปฏิบัติภารกิจร่วมกันของตัวละครที่มีความสำคัญเท่าเทียมกันนั้น ตัวละครที่รับบทโดยสมบัติ เมทะนี จะมีความโดดเด่นมากกว่าตัวละครภายในกลุ่ม ซึ่งภายหลังจะได้ก้าวมาเป็นหัวหน้ากลุ่มและใช้ความสามารถของตัวเองทำให้ภารกิจประสบความสำเร็จ เนื่องจากในสมัยนั้นไม่มีเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์มาช่วยให้ภาพยนตร์เกิดความสมจริง นักแสดงต้องใช้ความสามารถทางการแสดงและ ประสบการณ์ของตนเองเพื่อให้ภาพยนตร์เกิดความสมจริง ซึ่งสมบัติ เมทะนี เป็นนักแสดงที่มีความสามารถทางการแสดงสูงจึงส่งผลให้ภาพยนตร์มีความสมจริง นอกจากนี้สมบัติ เมทะนี ยังแสดงภาพยนตร์ได้ในทุกประเภททำให้มีผลงานการแสดงภาพยนตร์เป็นจำนวนมากที่สุดในโลก ในส่วนของภาพลักษณ์ความเป็นพระเอกของ สมบัติ เมทะนี ในสายตาผู้ชมภาพยนตร์นั้นเขามีความเหมาะสมกับการเป็นพระเอก เนื่องจากมีหน้าตาที่หล่อ คมสันและโครงสร้างทางร่างกายที่แข็งแรงเหมาะกับความเป็นพระเอกในภาพยนตร์ไทย ในชีวิตส่วนตัวสมบัติ เมทะนี ถือได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ดีในด้านต่างๆ เช่น การเป็นคนรักครอบครัว เอาใจใส่ในสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น หรืออาจกล่าวได้ว่าสมบัติ เมทะนี มีบุคลิกเป็นพระเอกทั้งในจอภาพยนตร์และนอกจอภาพยนตร์ จนได้รับฉายาว่า “พระเอกตลอดกาล”

References

กาญจนา แก้วเทพ. การวิเคราะห์สื่อ : แนวคิดและเทคนิค. กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541.

กาญจนา วิชญปกรณ์. หลักเบื้องต้นในการศึกษาเรื่องสั้นและนวนิยาย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2534.

กิตติศักดิ์ สุวรรณโภคิน. ภาพยนตร์คลาสสิค. กรุเทพมหานคร : โรงพิมพ์ห้องภาพสุวรรณ, 2541.

กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. หน้าที่ของกรมป่าไม้. [ออนไลน์]. 2553. แหล่งที่มา: www.panyathai.or.th [2553, มิถุนายน 8]

กุหลาบ มัลลิกามาส. วรรณคดีวิจารณ์. ชุดที่ 1, เอกสารประกอบคำบรรยาย วิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2528.

กุลเชษฐ์ เล็กประยูร. พัฒนาการการแสดงของล้อต๊อกศิลปินตลกไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540.

กฤษดา เกิดดี. ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ : การศึกษาว่าด้วย 10 ตระกูลสำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ห้องภาพสุวรรณ, 2541.

กองบรรณาธิการสกรีน. หนังเพลงเรียงยุค (1927-1984). สกรีน 2 (กันยายน 2527): 49

จุฑาพรรธ์ ผดุงชีวิต. วัฒนธรรม การสื่อสาร และอัตลักษณ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551.

จำเริญลักษณ์ ธนะวังน้อย. ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทยตั้งแต่แรกเริ่มจนสิ้นสุดสมัยสงครามโลก ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2544.

ฉลองรัตน์ ทิพย์พิมาน. วิเคราะห์โครงสร้างการเล่าเรื่องในภาพยนตร์อเมริกันที่มีตัวเอกเป็นสตรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539.

ชัชวาลย์ เพชรสุวรรณ. การสร้าง “คนเก่ง” ในภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์ พ.ศ. 2534-2535. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536.

ฐปนัฬศ์ วิจิตรรัฐกานต์. ทัศนะของผู้ชมที่มีต่อภาพยนตร์อเมริกันแนวชีวิตในฐานะสื่อเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในการพัฒนาตนเอง.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547.

โดม สุขวงศ์. ประวัติภาพยนตร์ไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์องค์การค้าของคุรุสภา, 2533.

ดอกดิน กัญญามาลย์. ผู้กำกับภาพยนตร์. สัมภาษณ์, 4 มีนาคม 2553.

ทวินันท์ คงคราญ. บทบาทของสื่อมวลชนในการสร้างภาพนางสาวไทย พ.ศ.2507-2531. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534.

ทวิษย์ชญะ ตั้งสหะรังษี.เจ้าของร้านจำหน่าย ภาพยนตร์ไทย “อาหารหู”. สัมภาษณ์, 12 พฤษภาคม 2553.

ทวิษย์ชญะ ตั้งสหะรังษี.เจ้าของร้านจำหน่าย ภาพยนตร์ไทย “อาหารหู”. สัมภาษณ์, 21 สิงหาคม 2553.

ธิดา ผลิตผลการพิมพ์. เขียนบทหนัง ซัดคนดูให้อยู่หมัด. เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ครั้งที่ 2, 2550.

ธัญญา สังขพันธานนท์. วรรณกรรมวิจารณ์. กรุงเทพมหานคร : นาคร, 2539.

เบญจา ยอดดำเนิน แอ็ตติกจ์ และคนอื่นๆ. การศึกษาเชิงคุณภาพ : เทคนิคการวิจัยภาคสนาม. โครงการเผยแพร่ข่าวสารและการศึกษาด้านประชากร. มหาวิทยาลัยมหิดล, 2541.

บริษัท กำลังแผ่นดินจำกัด. ข้อมูลอำเภอทั่วประเทศ. [ออนไลน์]. 2553. แหล่งที่มา: http://www.thaitambol.net/district/data1_3.asp [2553, พฤษภาคม 27]

ปิยะศักดิ์ ชมจันทร์. ภาพตายตัวของตัวละครต่างๆ ในภาพยนตร์ไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.

ปมุข ศุภสาร. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาพนิ่งและภาพยนตร์ หน่วยที่ 11. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2531.

ประภาศรี สีหอำไพ. การเขียนแบบสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร : โอเดี้ยนสโตร์, 2531.

ปริญญา เกื้อหนุน. เรื่องสั้นอเมริกันและอังกฤษ. กรุงเทพมหานคร : โอเดี้ยนสโตร์, 2537.

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 1. บริษัท อักษรเจริญทัศน์ จำกัด, 2525.

พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์. ทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.

ฟีลิปดา. 100 คำถามสร้างนักเขียน : นิยาย คุณเขียนได้ด้วยตนเอง. นนทบุรี : ชบาพับลิชชิ่งเวิกร์ส. 2549.

ร้อยตำรวจโทภานุวัฒน์ ไชยธงรัตน์.พนักงานสอบสวน สัญญาบัตร 1 สถานีตำรวจนครบาลทุ่งมหาเมฆ. สัมภาษณ์, 16 กุมภาพันธ์ 2553.

ภัทรหทัย มังคะดานะรา. การนำเสนอลักษณะของวีรบุรุษในหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นในประเทศไทย พ.ศ.2536-2540. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541.

มานพ อัศวเทพ. นักแสดงภาพยนตร์. สัมภาษณ์, 18 พฤศจิกายน 2552.

มานพ อัศวเทพ. นักแสดงภาพยนตร์. สัมภาษณ์, 31 กรกฎาคม 2553.

ยอดชาย เมฆสุวรรณ. นักแสดงภาพยนตร์. สัมภาษณ์, 18 พฤศจิกายน 2552.

รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม. นักสร้าง สร้างหนัง หนังสั้น. ภาควิชาการภาพยนตร์และภาพนิ่ง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546.

รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม. เสกฝัน ปั้นหนัง : บทภาพยนตร์ (Three – act structure screen writing). กรุงเทพมหานคร : บริษัทบ้านฟ้า, 2547.

รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม. ปั้นบทสะกดหนัง. กรุงเทพมหานคร : อาทิตย์สนิทจันทร์, 2548.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน. [ออนไลน์]. 2553. แหล่งที่มา: http://th.wikipedia.org [2553, เมษายน 18]

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. ทหารราบ. [ออนไลน์]. 2552. แหล่งที่มา: www.wikipedia.org [2553, พฤษภาคม 27]

วิมลรัตน์ อรุณโรจน์สุริยะ. 2540. “ภาพยนตร์ไทยในยุค 16 มม.”, สารคดี, 13 : 150 , สิงหาคม 2540.

วิศิษฐ์ พันธุมกุล. พิพิธภัณฑ์หนังไทย บู๊แซ่บสุดยอดหนังบู๊ระดับตำนาน. พิมพ์ครั้งที่ 1. บริษัท วิทยาการพิมพ์ จำกัด: สำนักพิมพ์ป๊อปคอร์น, 2550.

วิศิษฐ์ พันธุมกุล. พิพิธภัณฑ์หนังไทย บู๊แซ่บ 2 สุดยอดหนังบู๊ระดับตำนาน.พิมพ์ครั้งที่ 1. บริษัท วิทยาการพิมพ์ จำกัด: สำนักพิมพ์ป๊อปคอร์น, 2551.

วิริยะ พงษ์อาจหาญ. แฟนพันธุ์แท้ดาราไทย. สัมภาษณ์, 15 พฤษภาคม 2553.

วิริยะ พงษ์อาจหาญ. แฟนพันธุ์แท้ดาราไทย. สัมภาษณ์, 22 สิงหาคม 2553.

วิสิทธิ์ อนันต์ศิริประภา. การนำเสนอภาพความเป็นชายในภาพยนตร์ไทยระหว่างปี พ.ศ.2541-2542. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547.

ศิริพงษ์ บุญราศรี. สมบัติ เมทะนี ดาวในดวงใจ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โกเมนเอก, 2549.

ศรีเรือน แก้วกังวาน. จิตวิทยาพัฒนการทุกช่วงวัย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2538.

ศศิลักษณ์ แจ้งสุข . การนำเสนอภาพตัวละครเอกในโทรทัศน์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538.

สมบัติ เมทะนี. นักแสดงภาพยนตร์. สัมภาษณ์, 8 กุมภาพันธ์ 2553.

สมบัติ เมทะนี. นักแสดงภาพยนตร์. สัมภาษณ์, 12 พฤษภาคม 2553.

สมบัติ เมทะนี. เป็นพระเอกซะจนได้. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, 2539.

สุภางค์ จันทวานิช. การวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542

อัญชลี ชัยวรพร. เรื่องเล่าในภาพยนตร์. ในทฤษฎีและการวิจารณ์ภาพยนตร์เบื้องต้น, พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2548.

อรัญญา นามวงศ์. นักแสดงภาพยนตร์. สัมภาษณ์, 11 มีนาคม 2553.

ร้อยตำรวจโทหญิงอารยา ถาวรวันชัย. ภาพลักษณ์แบบผู้ร้ายกลับใจที่ปรากฎในสื่อมวลชน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539.

Berger A.A. Media and Society: A Critical Perspective. (2nd ed). Maryland: Rowman & Littlefield, 2007.

Bordwell, D. Film Art: An Introduction. US: Mcgraw – Hill, 1993.

Blacker, A. Robert. The Elements of Screenwriting: A Guide for Film and Television Writing. New York: Macmillan Publishing Company, 1968.

Boorstin, Danial J. The Image: Guide to Psudo – Events in America. New York: Atheneum, 1973.

Boulding, Kenneth E. The Image: Knowledge in Life and Society. USA: The University of Michigan, 1975.

Cantarella, E. Pandora’s Daughters:The Roles and Status of Women in Greek and Roman Antiquity. Baltimore, John Hopkins U: 1987.

Cook, D.A. A History of Narrative Film. New York: W.W. Norton, 1996.

Craig, S. Men, Masculinity and the Media. Newbury Park: Sage, 1992.

Dancyger, K. and Rush, J. Alternative Scriptwriting. (2nd ed). Boston: Focal Press, 1995.

David. A. “Wake in the Dark. An Anthology of American Film Criticism. 1915 to the present.

Doyle, J.A. The Male Experience. Dubuque: W.C. Brown, 1989.

Field, S. Four Screenplays: Studies in the American Screenplays. New York: Dell Publishing, 1984.

Field, S. The Screen – Writers Workbook. New York: Dell Publishing, 1984.

Fiske, J. Introduction to Communication Studies. London: Methuen, 1982.

Giannetti, L. Understanding Movies. (4th ed.) New Jersey: Prentice – Hall, 1987.

Grove, Elliot. Raindance Writers’ Lab: Write + Sell the Hot Screenplay. Boston: Focal Press, 2001.

Hurtik, E. and Yarber R. An Introduction to Short Story and Criticism.Massachusetts: Xerox College, 1971.

Keuls, E. C. The Reign of the Phallus : Sexual Politics in Ancient Athens. New York: Harper & Row, 1985.

Mehring, M. The Screenplay : A Blend of Film Form and Content. Boston: Focal Press, 1990.

Monaco, J. How to Read a Film: The Art, Technology, Language, History and Theory of Film and Media. New York: Oxford University Press, 1981.

Perrine, L. Literature: Structure Sound and Sense. San Diego: Harcourt Brace Jovanovich, 1978.

Swain, D.V. Film Scripting. New York: Hasting House, 1982.

Schatz, T. Hollywood Genres : Formulas, Filmmaking, and the Studio System. New York: Mcgraw – Hill, 1981.

Strate, L. “Beer Commercials: A Manual of Masculinity”. In Craig, S. (ed.), Men, Masculinity and the Media. Newbury Park: Sage, 1992.

Williams J.A. and Muller, G. Introduction to Literature. New York: Mcgraw – Hill, 1985.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-11