การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานไทยในประเทศมาเลเซีย

ผู้แต่ง

  • สุเทพ พันประสิทธิ์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • วรุณพันธ์ คงสม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ชนาธิป มิธิดา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, แรงงานไทยในประเทศมาเลเซีย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ลักษณะการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจชีวิตความเป็นอยู่ของแรงงานไทยในมาเลเซียอันได้แก่ รายได้ การประกอบอาชีพ การบริโภคและการส่งรายได้กลับมาประเทศไทย 2) เพื่อสำรวจ ความพึงพอใจและความต้องการของแรงงานไทยที่มีต่อสภาพการทำงานในสถานประกอบการในประเทศมาเลเซีย 3) เพื่อประเมินระดับคุณภาพชีวิตโดยจัดทำดัชนีคุณภาพชีวิตของแรงงานไทยในมาเลเซียในแต่ละด้านๆ ได้แก่ การมีสุขภาพดี สภาพที่อยู่อาศัยเหมาะสมสะดวกสบาย ความพอเพียงของรายได้และสิ่งแวดล้อม การทำงานมีความมั่นคงปลอดภัย 4) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของแรงงานไทยที่เข้าไปทำงานในมาเลเซียโดยทำการศึกษาเอกสารต่างๆ เช่น สถิติข้อมูล ของสำนักงานแรงงานไทยในมาเลเซีย และศึกษาพฤติกรรมและความคิดเห็นของแรงงานเกี่ยวกับการปฏิบัติงานและคุณภาพชีวิต จากกลุ่มเป้าหมายคือ กลุ่มอาชีพ แม่บ้าน ก่อสร้าง เกษตรเพาะปลูก อุตสาหกรรมการผลิต และธุรกิจบริการจำนวน 417 ตัวอย่าง ประกอบกับการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้เกี่ยวข้องได้แก่สำนักงานแรงงานไทยในมาเลเซีย แล้วนำมาวิเคราะห์ด้วย ANOVA, Regression Analysis และความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจในการทำงานด้วย NPV วิเคราะห์คุณภาพชีวิตด้วยแบบวัดของ WHO ฉบับย่อ เพื่อหาแนวทางการตลาดแรงงานที่สอดคล้องกับภาครัฐและเอกชนใน การพัฒนาตลาดแรงงาน คุณภาพชีวิตและการทำงานของแรงงานไทยในมาเลเซีย

ผลการวิจัยพบว่าในปัจจุบัน สาขาอาชีพที่แรงงานไทยย้ายถิ่นไปทำงานในมาเลเซียได้แก่ ภาคธุรกิจบริการ ได้ประเภทร้านอาหาร โดยเข้ามาทำงานเป็น พ่อครัว/แม่ครัว และที่มีนายจ้างติดต่อแจ้งความต้องการอย่างต่อเนื่องและเริ่มทยอย เข้ามาก็คือพนักงานกายภาพบำบัด (นวดแผนไทย) สำหรับสาขาอื่นๆ คือ ก่อสร้าง คนงานที่เข้าทำงานเป็นการจ้างโดยบริษัทต่างชาติซึ่งได้รับสัมปทาน ซึ่งให้ค่าตอบแทนดีกว่าและไม่คิดค่าใช้จ่ายในการเข้าทำงาน ส่วนภาคอุตสาหกรรมการผลิตมีอยู่ประปรายและเป็นกลุ่มแรงงานที่แจ้งการเดินทางเข้ามาเองโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเข้าทำงาน ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างรายได้ที่ได้รับ กับค่าหัวเดินทางเข้าไปทำงาน ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิต และเงินส่งกลับประเทศไทยพบว่ามีความ สัมพันธ์สูงในระดับ 0.851 ระหว่างรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ค่าหัวการเข้าไปทำงานในประเทศมาเลเซีย ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตในประเทศมาเลเซีย และเงินส่งกลับประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และพบว่าทุกกลุ่มอาชีพมีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ และกลุ่มอาชีพพนักงานธุรกิจบริการมีค่าของมูลค่าปัจจุบันของเงินและอัตราผลตอบแทนภายในสูงที่สุด ประกอบกับสถานการณ์ตลาดแรงงานไทยในมาเลเซียอาชีพลักษณะงานดังกล่าวยังมีความต้องการอีกมาก โดยเฉพาะตลาดแรงงานร้านอาหารไทยในมาเลเซียกำลังเติบโตทางด้านคุณภาพชีวิตโดยรวมแรงงานมีคุณภาพชีวิตระดับปานกลางโดยที่แรงงานที่เข้าไปทำงานโดยถูกต้องมีคุณภาพชีวิตสูงกว่าผู้ลักลอบเข้าไปทำงาน การพัฒนาคุณภาพชีวิต ได้แก่การพัฒนาด้านความรู้ขั้นพื้นฐานควรสนับสนุนและให้โอกาสแรงงานได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ทั้งในระบบและนอกระบบ

การศึกษา การได้รับข่าวสารข้อมูลสม่ำเสมอ การพัฒนาด้านการเพิ่มพูนทักษะ ทางอาชีพควบคู่กับการใช้ภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ การตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ จัด Road Show เพื่อการขยายตลาดแรงงานไทยในประเทศมาเลเซีย การสร้างตลาดแรงงานไทยในประเทศมาเลเซียให้เป็น Malaysia Model

References

กนก โตสุรัตน์ และปรีชา อุยตระกูล. ผลกระทบภายหลังการเดินทางกลับจากทำงานของแรงงานไทยในตะวันออกกลาง. สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย. เจ้าพระยาการพิมพ์. 2527.
ประชัญพล ธีรเนตร. นโยบายส่งแรงงานไปไทยไปต่างประเทศ ศึกษาเฉพาะกรณีส่งแรงงานไทยไปไต้หวัน. บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2534.
ประดิษฐ์ ชาสมบัติ. เศรษฐศาสตร์แรงงานว่าด้วยการวิเคราะห์ตลาดแรงงาน ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2540
พระเทพเวที. คุณภาพชีวิตในการทำงาน. วารสารสังคมวิทยานุษยวิทยา ฉบับฉลองครบรอบ 25 ปี : 1- 6, 2532.
พรรณศิริ พรหมพันธุม. นโยบายต่างประเทศด้านแรงงานไทย. บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2535.
พีระ ชัยชาญ. ความคิดเห็นทางการเมืองของคนงานไทยที่ไปทำงานในประเทศตะวันออกกลาง. บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2529.
แรงงานและสวัสดิการสังคม,กระทรวง,กรมการจัดหางาน. สรุปสถานการณ์ไปทำงานในต่างประเทศของแรงงานไทยปี 2539. กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม : กรุงเทพฯ. 2540.
วงศ์ จั่นทอง. การส่งออกแรงงานไทย : อดีต ปัจจุบัน และอนาคต. บทความในหนังสือรวมบทความที่น่าสนใจ. ฝ่ายวิจัยและพัฒนา กองวิชาการและแผนงาน กรมการจัดหางาน. 2537 : 22 - 28
ศรัญยา บุนนาค และเสาวภา ชัยมุสิก. แรงงานไทยในสิงคโปร์. กรุงเทพฯ : เจ้าพระยาการพิมพ์, 2528.
สุมาลี ปิตยานนท์. ผลกระทบของการเดินทางไปทำงานต่างประเทศตามสัญญาจ้างระยะสั้นของแรงงานไทยที่มีต่อเศรษฐกิจครัวเรือน และชุมชนชนบท : กรณีศึกษาหมู่บ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525.
สุมาลี ปิตยานนท์. เศรษฐศาสตร์แรงงาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535.
สุภางค์ จันทวานิช และ วิศนี ศิลตระกูล เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิต. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช, 2539.
สุชาติ ตรีทิพย์ธิกุล และคณะ. ผลกระทบทางเศรษฐกิจ และสังคมจิตวิทยาต่อครอบครัว และชุมชนของแรงงานไทยภายหลังกลับจากทำงานในต่างประเทศ. โรงพยาบาลจิตเวช ขอนแก่น กองสุขภาพจิต กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, 2533.
สุวัตน์ มหัตนิรันดร์กุล และคณะ. แบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก. โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่, 2540.
Becker, Gary. Human Capital : A Theoretical and Empirical Analysis with Special Reference to Education. Chicago : The University of Chicago Press. 1994.
Everett S.Lee. A Theory of Migration. Cambridge University Press, 1996.
Herzberg, Frederick. The Motivation to Work. New York, John Wiley and Sons, 1993.
Griffin, Ricky W. Management. Boston (MA) : Houghton Miffin, 1993.
T.W. Schultz. Investment in Human Capital. American Economic Review. 1961 : P. 14.
L.A. Sjaadtad. The Costs and Returns of Human Migration. Journal of Political Economy. LXX October 1962. “ P.80-93.
M.P. Todaro. A Model of Labor Migration and Urban Unemployment in Less Developed Countries. American Economic Review. (March 1969) : P.138-148.
Kuznets, Thomas and others. Population redistribution and Economic Growth United States 1870-19 50. Philadelphia. American Philosophical Society. 1957,1960 and 1964
Nipon Poapongsakron. Thai Worker Abord : Causes, Effect, Problems and Policy. A paper presented at a Siminar on Thai Labor in Foreign Countries, Faculty of Economics Thamasart University, 1982.
Pongsapic, Amara. Miration workers to the Arab World. Bangkok : Chulalongkorn University, 1986.
Tingsabadh, Charit. Thailand as a Labour-Sending Country. Regional Development Dialogue 12, no.3 (1991) : 74-88.
Vatchareeya Thosanguan and Yongyuth Chalamwong. International Migration and Its Transformation in the Industrialization Process of Thailand. Paper presented at The Second Japan-ASEAN Forum on International Labor Migration in East Asia, United Nations University, Tokyo, 26-27 September, 1991.
UNDP. Human Development Report 2002. Bangkok : NESD Thailand, 2002. ที่มา The Malaysian government .Planning to send home up to foreign workers by 2009 สืบค้นเมื่อ January 31, 2008. จาก www.manilatimes.net/national/Report : Malaysia. Malaysia expects to send home at least 200000 foreign workers by next year to (สืบค้นเมื่อ - January 20,2008). www.cnn.com/2008/WORLD/ asiapcf/01/20/malaysia.workers
CIA.ข้อมูลประเทศมาเลเซีย สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2550. จาก https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/my.html
สำนักงานแรงงานในประเทศมาเลเซีย.(2550) ตลาดแรงงานในมาเลเซีย ... ทบทวน และปรับบทบาทของสำนักงานแรงงานไทยในต่างประเทศให้เน้นการคุ้มครองแรงงานไทย .... สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2550 ในเว็บไซต์กระทรวงแรงงาน http://www. research.mol.go.th/rsdat/Data

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-11