การรับรู้ ทัศนคติ แรงจูงใจและพฤติกรรมการบริโภคบุหรี่ตรา L&M ของกลุ่มวัยรุ่นหญิง

ผู้แต่ง

  • ชิตาภา สุขพลำ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

บุหรี่, วัยรุ่นหญิง, การรับรู้, ทัศนคติ, แรงจูงใจ, พฤติกรรมการสูบบุหรี่, L&M

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการรับรู้เกี่ยวกับบุหรี่และการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นหญิงที่นิยมบุหรี่ตรา L&M ทัศนคติและแรงจูงใจของวัยรุ่นหญิงที่มีต่อการสูบบุหรี่ตรา L&M และลักษณะพฤติกรรมในการสูบบุหรี่ตรา L&M ของวัยรุ่นหญิง ที่สืบเนื่องมาจากกลยุทธ์ทางด้านการตลาดของบุหรี่ตรานี้ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มวัยรุ่นหญิงที่กำลังศึกษาในระดับอุดมศึกษา จำนวน 25 คน ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่า กลุ่มเป้าหมายทั้งหมดรับรู้เรื่องบุหรี่ตรานี้จากเพื่อน โดยรับรู้คุณสมบัติต่างๆ แล้วทดลองเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยมีแรงจูงใจที่สำคัญคือความอยากรู้อยากลอง ตามประสาวัยรุ่นและการเอาอย่างเพื่อน ผู้ตอบทุกคนมีทัศนะว่าบุหรี่ L&M เป็นบุหรี่ที่อยู่ในระดับกลางๆ ที่วัยรุ่นสูบได้ บุหรี่ L&M ที่ผู้ตอบเกือบทั้งหมดเลือกสูบ คือ L&M ซองสีเขียวเข้ม รส Menthol ด้วยเหตุผลด้านรสชาติและราคา ซึ่งผู้ตอบส่วนใหญ่สูบเป็นประจำทุกวันอย่างน้อยวันละ 2 มวน ผู้ที่สูบมากที่สุดคือวันละ 2 ซองครึ่ง แต่โอกาสที่ทุกคนระบุว่าทำให้ตนสูบบุหรี่มากที่สุดคือช่วงที่ไปเที่ยวในสถานที่เที่ยวกับเพื่อนๆ ด้วยอารมณ์สนุกสนาน ซึ่งจะสูบต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จนไม่สามารถระบุจำนวนได้

References

จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย. (2549). จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
แฉ! หญิงไทยสูบบุหรี่อื้อ. (2551). วันที่เข้าถึงข้อมูล 25 สิงหาคม 2551, แหล่งที่มา http://www.soizaa.com/news.php?name=news&file=readnews&id=35.
ตามให้ทันกลยุทธ์บุหรี่ข้ามชาติ. (มปป.). วันที่เข้าถึงข้อมูล 25 สิงหาคม 2551, แหล่งที่มา http://www.saf.or.th/THAI/ARTICLE/article/data/O_22.html.
ธีรพันธ์ โล่ทองคำ. (2551). Inside IMC เจาะลึกถึงแก่นไอเอ็มซี. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.
นักวิชาการ ชี้ เยาวชนไทยสูบบุหรี่เพิ่มสูงขึ้น. (มปป.). วันที่เข้าถึงข้อมูล 25 สิงหาคม 2551, แหล่งที่มา http://www.thaihealth.or.th/node/4325.
ประกิต วาทีสธกกิจ. (มปป.). ข้อมูลสำคัญเรื่องบุหรี่กับเยาวชน. วันที่เข้าถึงข้อมูล 25 สิงหาคม 2551, แหล่งที่มา http://www.thaihealth.or.th/node/4492.
เผยโจ๋ไทยไม่หวั่นภาพเตือนบนซองบุหรี่. (2007, May 29). วันที่เข้าถึงข้อมูล 25 สิงหาคม 2551, แหล่งที่มา http://www.newswit.com/news/2007-05-29.
ศิวารัตน์ ณ ปทุม, สุรกิจ เทวกุล และปริญ ลักษิตานนท์. (2550). Consumer behavior พฤติกรรมผู้บริโภคชั้นสูง. กรุงเทพมหานคร: BrandAgebook.
สุชา จันทร์เอม. (2540). จิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
สาวไทยกลายเป็นสิงห์อมควันเพิ่ม. (2008, August 3). วันที่เข้าถึงข้อมูล 25 สิงหาคม 2551, แหล่งที่มา http://www.popjer.com.
อนามัยโลกจี้ ปท.ต่างๆ ช่วยชีวิตผู้คน 1 พันล้าน รณรงค์ต้าน‘บุหรี่’มุ่งโฟกัสที่ชาติกำลังพัฒนา. (2551, 10 กุมภาพันธ์) วันที่เข้าถึงข้อมูล 25 สิงหาคม 2551, แหล่งที่มา http://www.saf.or.th/THAI/ARTICLE/research/Data/R_31.html.
อึ้ง การตลาดบริษัทบุหรี่ หวังเยาวชนติดบุหรี่. (มปป.). วันที่เข้าถึงข้อมูล 25 สิงหาคม 2551, แหล่งที่มา http://www.herbalone.net/index.php?option=com_content&task.
เอมอร พุฒิพิสิฐเชฐ. (2542). การรับรู้และพฤติกรรมของคนไทยต่อการสูบบุหรี่ในสถานที่สาธารณะ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
Dennis, C. T. (2007) Catch them young ... and watch them grow: grooming talent in schools to extend the reach of market research. ESOMAR, Asia Pacific Conference. Kuala Lumpur:
Duncan, T. (2005). Principles of Advertising & IMC. (2nd ed). New York, NY: McGraw-Hill/Irwin.
Elizabeth, H. B. (1994). Development psychology. New Delhi: Tata McGraw-Hill.
Knight, J. (2000). Philip Morris Companies, Inc.: You’Ve Come A Long Way, Baby campaign. Encyclopedia of Major Marketing Campaigns, 1, 1358-1376.
Mcnamer, M. (2007). Altria Group Inc.: It’s A Woman Thing campaign. Encyclopedia of Major Marketing Campaigns, 2, 55-58.
Kotler, P. (1997). Marketing management: Analysis, planning, implementation and control. (9th ed). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.
Schiffman, L. G. & Kanuk, L. L. (1997). Consumer Behavior. (6th ed) Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.
Solomon, M. R. (2007). Consumer behavior: Buying, having and being. (4th ed). Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-11