โอโซน : สมบัติทางเคมีกายภาพและการประยุกต์ใช้เพิ่มความขาวผลิตภัณฑ์เนื้อปลา

ผู้แต่ง

  • ปิยะวิทย์ ทิพรส มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

โอโซน, สมบัติทางเคมีกายภาพ, ความขาว, ผลิตภัณฑ์เนื้อปลา

บทคัดย่อ

โอโซน คือ สารชนิดหนึ่งที่ถูกผลิตจากออกซิเจนซึ่งมีอยู่ทั่วไปในอากาศ โดยใช้พลังงานไฟฟ้าหรือรังสีอัลตราโอเลท เปลี่ยนโครงสร้างทางเคมีของออกซิเจนจาก 2 อะตอม (O2) ให้เป็น 3 อะตอม (O3) ใน 1 โมเลกุล โอโซนถูกพบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2383 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ชื่อว่า C. F. Schonbein ต่อมาปี พ.ศ. 2431 ได้จดลิขสิทธิ์ชื่อว่า “ก๊าซโอโซน” สามารถละลายน้ำได้ดีมากที่อุณหภูมิต่ำ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในรูปสารละลายโอโซนที่มีสมบัติเป็นสารฆ่าเชื้อโรคในน้ำ จากหลักการดังกล่าว จึงพัฒนาเครื่องผลิตโอโซนจำหน่ายในเชิงการค้า โดยให้ก๊าซออกซิเจนผ่านกระแสไฟฟ้าบริเวณดิสชาร์จแกป (Discharge gap) ซึ่งเกิดจากการผลิตกระแสไฟฟ้าตรงบริเวณไดอิเลกตริก เซอร์เฟส (Dielectric surface) ทำให้ได้ก๊าซโอโซนออกมา การสลายตัวของโอโซนขึ้นกับค่า pH อุณหภูมิสูง และแสงอัลตราไวโอเลท ปฏิกิริยาการสลายตัวของโอโซนในทางเคมีเกิดขึ้นได้ 2 แบบ คือ ปฏิกิริยาการสลายตัวทางอ้อม และปฏิกิริยาการสลายตัวทางตรง ปัจจุบันมีการนำโอโซนมาใช้ประโยชน์กันมากขึ้น ได้แก่ 1) ทำลายสารพิษ หรือสารชีวพิษ 2) ใช้เป็นสารออกซิไดซ์สารประกอบอินทรีย์ 3) ทำลายเซลล์จุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค 4) ลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ และ 5) กำจัดสีหรือฟอกสี ในปี พ.ศ. 2540 Dee Graham เป็นผู้รับรองให้ใช้โอโซนเป็นสารทำความสะอาดเครื่องมือ เครื่องจักร และบริเวณพื้นผิวในโรงงานแปรรูปอาหารและเป็นผู้ผลักดันให้โอโซนผ่านการรับรองจาก กระทรวงเกษตรแห่งสหรัฐอเมริกา (USDA) ด้วยข้อกำหนดมาตรฐานที่เรียกว่า “โดยทั่วไปถือว่าปลอดภัย” (GRAS) จนกระทั่งเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2544 สำนักงานคณะกรรมอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. FDA) ได้ยอมรับโอโซนทั้งในสถานะก๊าซและของเหลวอย่างเป็นทางการ กลไกการทำงานของโอโซนในการเพิ่มความขาวของผลิตภัณฑ์อาหาร มีรายงานว่าการล้างเนื้อปลาด้วยน้ำที่ผสมโอโซนจะให้ค่าความสว่างและความขาวมากกว่าวิธีอื่น เนื่องจากการสูญเสียไมโอโกลบิน การฟอกสีโดยใช้โอโซนนั้น โอโซนจะเข้าทำลายโครงสร้างของพอร์ไฟริน (Porphylin) ในไมโอโกลบิน (Myoglobin) และฮีโมโกลบิน (Heamoglobin) แต่โอโซนจะไปมีผลต่อการเกิดเจล ซึ่งสอดคล้องกับทดลองใช้โอโซนในการผลิตซูริมิเนื้อปลาแมคเคอเรล โอโซนจะออกซิไดซ์หมู่ซัลฟไฮดริลอิสระ (Free sulfhydryl group) บนโมเลกุลของโปรตีนก่อให้เกิดพันธะไดซัลไฟด์ (Disulphide bond) นอกจากนี้ โอโซนยังสามารถออกซิไดซ์ พันธะไดซัลไฟด์และเกิดเป็นกรดซีสเตอิก (Cysteic acid) หรือสามารถทำลายพันธะไดซัลไฟด์และเกิดเป็นกรดซัลโฟนิก (Sulphonic acid) ส่งผลทำให้เกิดการเสียสภาพธรรมชาติของโปรตีน นั่นคือ ทำให้ความสามารถในการเกิดเจลลดลง ส่วนการใช้โอโซนแก้ไขความขาวของเนื้อปลาฮอร์สแมคเคอเรล (Horse mackerel) โดยล้างเนื้อปลาด้วยโอโซนในน้ำกลั่น 1 ครั้ง ควบคุมอุณหภูมิน้ำล้าง ต่ำกว่า 5 ํC ใช้เวลา 10 - 20 นาที สามารถแก้ไขความขาวได้ เนื่องจากโอโซนเป็นสารออกซิไดซ์อย่างแรง ซึ่งสามารถทำลายโครงสร้างของพอร์ไฟริน นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่ม ประสิทธิภาพการแยกองค์ประกอบต่างๆ โดยการลอยตัวกับฟองอากาศ ดังนั้นเม็ดสีที่ละลายได้อาจถูกขจัดโดยการลอยตัวดังกล่าว ส่วนการทดลองล้างด้วยน้ำเย็นและการล้างโดยใช้สารละลายด่างต้องใช้เวลานาน หรือล้างหลายครั้งถึงจะแก้ไขความขาวได้ นอกจากนี้มีรายงานว่าการใช้โอโซนในการผลิตซูริมิสามารถแก้ไขความขาวได้ โดยทดลองล้างเนื้อปลาแมคเคอเรล ใช้โอโซนปริมาณ 0.04 M ในซิเตรทบัฟเฟอร์ ที่ค่า pH 3 เวลา 30 นาที ได้ค่าความขาวเพิ่มขึ้น รวมทั้งลดปริมาณไมโอโกลบินและปริมาณรงควัตถุทั้งหมด นอกจากนี้การล้างเนื้อปลาโดยใช้โอโซน ต้องคำนึงถึงปริมาณโอโซนที่ตกค้างอยู่ในน้ำ เพราะถ้าไม่พบปริมาณโอโซนตกค้างในน้ำก็จะไม่มีผลในการใช้งาน

References

ภาษาไทย
ณัฐพล ฟ้าภิญโญ (2550). คุณภาพและการยืดอายุการเก็บรักษาปูนิ่ม (Scylla serrata Forskal) โดยใช้โอโซน กรดแอซีติก กรดแล็กติก กรดแอสคอร์บิก และการเก็บรักษาภายใต้สภาวะปรับบรรยากาศ. บัณฑิตวิทยาลัย วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก สาขาวิชาผลิตภัณฑ์ประมง ภาควิชาผลิตภัณฑ์ คณะประมง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : กรุงเทพฯ, 137 หน้า.
ยุวันดา นะหีม (2545). อิทธิพลของโอโซน ไข่ขาวผง และซีสเตอีนต่อคุณภาพเจลของซูริมิที่ทำจากปลาทูแขก (Decapterus maruadsi) แช่เยือกแข็ง. บัณฑิตวิทยาลัยปริญญาโท สาขาวิชาผลิตภัณฑ์ประมง ภาควิชาผลิตภัณฑ์ประมง คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. : กรุงเทพฯ, 109 หน้า.
สุทธวัฒน์ เบญจกุล (2549). การปรับปรุงสีของซูริมิจากปลาที่มีไขมันสูง. ซูริมิ : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเนื้อปลาบด. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, หน้า 65.
ภาษาอังกฤษ
H. H. Chen, E. M. Chiu., and J. R. Huang (1997). Color and Gel Forming Properties of Horse Mackerel(Trachurus japonicus) as Related to Washing conditions. J. Food Sci. 62 : pp. 985 - 991.
T. L. Dew (2005). Ozone Degradation of Off - Flavors in Catfish. A Thesis Submitted to the Graduate Faculty of The Louisiana State University and Agricultural and Mechanical College. In The Department of Food Science, 69 p.
J. A. Gottschalk, M. A. Libra, and K. M. Saupe (2000). Ozonation of Water and Waste Water. Weinheim. New York, 189 p.
D. M. Graham (1997). Use of Ozone for Food Processing. Food Technology, 51(6) ; pp. 72 - 75.
J. Hoigne.1982. Mechanism, Rates and Selectivities of Oxidations of Organic Compounds Initiated by Ozonation of Water, pp.341 - 379. In Rice, R. G., and Netzer, A. (eds). Handbook of Ozone Technology and Applications. Ann. Arbor. Sci. Publ, Ann Arbor MI.
Jiang, Shan - Tzang, H.O. Ming - Lang, Sheng - H. O. Jiang, and Hsing - Chen Chen (1998). Purified NADPH - Sulfite Reductase from Saccharomyces cerevisiae Effects on Quality of Ozoned Mackerel Surimi. J. Food Sci. 63 (5) : pp. 777 - 781.
J. C., Kaminski, and P. W. Prendiville. (1996). Milwaukee,s Ozone Upgrade, Civil Engineering, September : pp. 62 - 67.
J. G. Kim, S. Daves, and A. E. Yousef (1999). Application of Ozone for Enhancing the Microbiological Safety and Quality of Foods. Journal Food Protection. 62 : pp. 1071 - 1087.
J. F. Martin, L. W. Bennett, and W. H. Graham (1988). Off - Flavor in the Channel Catfish (Icatlurus punctatus) due to 2 - methylisoborneol and its Dehydration Products. Water Sci. Technol. 29 (8/9) : pp. 65 - 99.
J. B. Mudd, L. Leavith, A. Ongun, and T. T. McManas (1989). Reaction of Ozone with Amino Acid and Protein. Atoms Environ. 23 : pp. 669 - 674.
G. R. Rip (1984). Soft Drinking Water. Lewis Publishers, Inc., United States of America. 275 p.
H. H. Tomiyasu, S. A. Fukutomi, and G. Godon (1985). Kinetics and Mechanisms of Ozone Decomposition in Basic Aqueous Solutions. Inorganic Chem. 24 : pp. 2962 – 2985.
http://www.ozoneapplications.com/info/cd_vs_uv.htm) (2008) สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2551 จาก www.google.com
http://www.ozonesolutions.com/Ozone_Formation.html (2008) สืบค้นเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2551 จาก www.google.com
http://www.ozone.meteo.be/meteo/view/en/1547746-Formatio (2008) สืบค้นเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2551 จาก www.google.com
www.silvermedicine.org (2008) สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2551 จาก www.google.com

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-11