การทบทวนองค์ความรู้เพื่อรวบรวมและศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคติดต่อระยะที่ 2

ผู้แต่ง

  • เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล คณะสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

การควบคุมโรคติดต่อ, การบังคับใช้กฎหมาย

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การทบทวนองค์ความรู้เพื่อรวบรวมและศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคติดต่อ ระยะที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์และเสนอแนวทางการพัฒนากฎหมายระดับอนุบัญญัติของพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2523 รวมทั้งศึกษาวิเคราะห์และเสนอแนวทางการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และศึกษาวิเคราะห์กฎหมายอื่นๆ ในประเทศที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันควบคุมและเฝ้าระวังโรคติดต่อพร้อมทั้งเสนอแนวทางใน การปฏิบัติงานของผู้มีอำนาจหน้าที่ในการบังคับใช้ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2523

การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการทบทวนเอกสาร (Documentary Research) โดยการศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากหนังสือ ตำรา วารสาร บทความวิชาการ รายงาน การวิจัย วิทยานิพนธ์ สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์

การวิเคราะห์ข้อมูลจะใช้วิธีการบรรยาย (Descriptive) โดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2523 เป็นกฎหมายที่เน้นการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ โดยให้ส่วนกลาง (รัฐมนตรี) มีอำนาจในการกำหนดชนิดและอาการของโรคติดต่อ โดยแบ่งเป็นโรคติดต่อ โรคติดต่อที่ต้องแจ้งความและโรคติดต่ออันตราย รวมทั้งมาตรการควบคุมกรณีที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดต่อและการกำหนดเขตติดโรคได้ด้วย ในส่วนของกลไกระดับพื้นที่กำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้มีอำนาจเช่นเดียวกับรัฐมนตรี ทั้งนี้ภายใต้ประกาศของรัฐมนตรี ส่วนผู้ปฏิบัติจะมีเฉพาะเจ้าพนักงานสาธารณสุขและการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อรับแจ้งกรณีเกิดโรคติดต่อที่ต้องแจ้งความหรือโรคติดต่ออันตรายแล้วแจ้งเจ้าพนักงานสาธารณสุขเท่านั้น

สำหรับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน ควบคุมและเฝ้าระวังโรคติดต่อ นั้นมีจำนวนมากมายทั้งที่เป็นกฎหมายโดยตรงและโดยอ้อม เป็นกฎหมายระดับแม่บทและกฎหมายลำดับรอง ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านสาธารณสุขสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

1. เป็นกฎหมายที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินั้น เช่น พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2523 พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 เป็นต้น

2. เป็นกฎหมายที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการร่วมกับรัฐมนตรีอื่น เช่น พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 พระราชบัญญัติสุสานและฌาปนสถาน พ.ศ.2518 ซึ่งรักษาการร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นต้น

3. เป็นกฎหมายที่อยู่ในการรักษาการของรัฐมนตรีอื่นๆ โดยไม่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขร่วมรักษาการอยู่ด้วย แต่มีบทบัญญัติให้มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาการสาธารณสุขสิ่งแวดล้อมอยู่ด้วยเช่น พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รักษาการ เป็นต้น

ข้อเสนอแนะจากการวิจัยควรกำหนดให้มีคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อระดับชาติและระดับจังหวัดขึ้น เพื่อเป็นกลไกในการให้คำแนะนำแก่รัฐมนตรีหรือ ผู้ว่าราชการจังหวัดในการใช้อำนาจ ควรปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติเรื่องการแต่งตั้งเจ้าพนักงานสาธารณสุขให้มีความชัดเจน ควรจะต้องมีการสร้างความรู้ความเข้าใจในบทบัญญัติของกฎหมาย โดยเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสาธารณสุขให้กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั้งส่วนกลางและภูมิภาค เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่เกิดประสิทธิผลสูงสุด นอกจากนี้กระทรวงสาธารณสุขควรให้ความสำคัญในการบูรณาการ และประสานการบังคับใช้กฎหมายโรคติดต่อและกฎหมายการสาธารณสุขร่วมกัน

References

คณะกรรมการพัฒนากฎหมายและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2547). รายงานผลการสัมมนาเรื่อง ทิศทางการพัฒนากฎหมาย. (พ.ศ.2548-2550)

ธรรมนิตย์ สุมันตกุล. (2547). การจัดทำกฎหมายลำดับรองของฝ่ายปกครอง. www.lawreform.go.th

ธวัชชัย สัตยสมบูรณ์. (บรรณาธิการ). (2542). กฎหมายสาธารณสุข. กรุงเทพฯ : ประชุมร่าง.

ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์. (2531). การร่างกฎหมาย. วารสารกฎหมาย. หน้า 25-26.

ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์. (2547). กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง.

ณัฐริกา วายุภาพ. (2536). การศึกษาการบังคับใช้กฎหมายควบคุมการทิ้งมูลฝอยจากชุมชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

ประเสริฐ สุขสบาย.(2542). ทัศนะของผู้บังคับใช้กฎหมายต่อปัญหาการบังคับใช้กฎหมายด้านสวัสดิการสังคม. สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2523

พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535

พระราชบัญญัติการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535

พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535

พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535

พระราชบัญญัติสุสานและฌาปนสถาน พ.ศ.2528

พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ.2535

พระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ.2525

พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ.2535

พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2535

โภคิน พลกุล. (2531). ปัญหาและข้อคิดบางเรื่องจากรัฐธรรมนูญไทย. (หน้า 137-140). กรุงเทพฯ : ศูนย์การพิมพ์พลชัย.

วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์. (2535). กฎหมายกับการปรับปรุงพฤติกรรม. วารสารคลินิก. 8 มิถุนายน 2535.

วิษณุ เครืองาม. (2530). ปัญหาและแนวโน้มของกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารราชการไทย ในเอกสารการสอนชุดวิชาหลักกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารราชการไทย มสธ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อักษรไทย.

สุรชาติ ณ หนองคาย. (2546). กฎหมาย กลยุทธ์ และการประยุกต์. กรุงเทพฯ : สถาบัน จี. อี.ซี.

หยุด แสงอุทัย. (2538). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ.

อมร จันทร์สมบูรณ์. (2533). การกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่นเป็นพื้นฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตยเพียงใด. ประมวลพระราชบัญญัติแห่งกฎหมายปกครอง. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง. หน้า 248.

Communicable Diseases Enforcement Policy, Retrieved September 10, 2008 from http://www.pendle.gov.uk/downloads/Communicable_Diseases_Enforcement_Policy.pdf

David Foulkes.(1996). Administrative Law. London : Butterworth’s.

European Centre for Disease Prevention and Control. (2007). Annual Epidemiological Report on Communicable Diseases in Europe: report on the status of communicable diseases in the EU and EEA/EFTA countries. Retrieved September 19, 2008 from http://ecdc.europa.eu/pdf/ECDC_epi_report_2007.pdf

VCRAC.(1998). Legislative Drafting. London : Cavendish Publishing. http://en.wikipedia.org/wiki/Pendle_Borough_Council

http://www.pendle.gov.uk/downloads/Communicable_Diseases_Enforcement_Policy.pdf

https://teb.cdc.gov.tw/upload/doc/18732_145Development%20of%20Laws%20and%20Regulations%20on%20Communicable%20Diseases%20Control%20in%20Taiwan.pdf, p.153

http://nuffieldtrustnew.nvisage.uk.com/ecomm/files/State_of_Communicable_Disease_Law.pdf, p.21-22

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-11