2P4M: แนวทางการส่งเสริมการวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
คำสำคัญ:
การวิจัย, การศึกษา, สถาบันอุดมศึกษาเอกชน, การส่งเสริมการวิจัยบทคัดย่อ
การวิจัยคือบทบาทสำคัญของสถาบันอุดมศึกษาในการบุกเบิก แสวงหาและสร้างองค์ความรู้ และนำผลไปใช้ประโยชน์ทั้งในวงวิชาการและสังคม แต่จากสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน พบว่า สถาบันอุดมศึกษาจำนวนมาก โดยเฉพาะสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย มีจำนวนงานวิจัยค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ซึ่งสาเหตุสำคัญมาจากขาดนโยบายที่ชัดเจน ขาดแคลนนักวิจัยที่มีคุณภาพ ขาดงบประมาณและทรัพยากรในการวิจัย
แนวทางในการส่งเสริมการวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น ที่สถาบันต่างสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับบริบทของสถาบันคือ ตัวแบบ 2P4M ซึ่งหมายถึง 1) มีนโยบาย (Policy : P1) ที่ชัดเจน 2) มีแผนงาน (Plan : P2) ที่สอดคล้องกับนโยบายและสามารถนำนำไปปฏิบัติได้ 3) มีบุคลากรวิจัย (Man : M1) ที่มีความรู้ความสามารถพร้อมที่จะผลิตผลงานวิจัยคุณภาพ 4) มีงบประมาณ (Money : M2) ที่เพียงพอและมีช่องทางแสวงหาจากภายนอก 5)มีทรัพยากรวิจัย (Material : M3) ที่อำนวยความสะดวกให้แก่นักวิจัย และ 6) มีการบริหารจัดการ (Management : M4) ที่มีระบบและคล่องตัวเพื่อขับเคลื่อนให้การวิจัยบรรลุตามนโยบายที่ตั้งไว้ ดั้งนั้นตาม Model นี้ จะช่วยให้สถาบันอุดมศึกษาเอกชนก้าวหน้าด้านการวิจัย สามารถแข่งขันได้กับสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและได้ทำหน้าที่ของสถาบันอุดมศึกษาอย่างแท้จริง
References
จรัส สุวรรณเวลา และคณะ (2534) บนเส้นทางสู่มหาวิทยาลัยวิจัย พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุมพล สวัสดิยากร (2520) หลักและวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สุวรรณภูมิ
ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ (2549) เอกสารสรุปการเสวนา เรื่อง สอนดีต้องมีวิจัย 15 ธันวาคม 2549 ณ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กรุงเทพฯ
ถวัลย์รัฐ วรเทพพุฒิพงษ์ (2546) การกำหนดและวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ : ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพฯ : เสมาธรรม
บุญชม ศรีสะอาด (2545) การวิจัยเบื้องต้น กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น
บุญเสริม วีสกุล และคณะ (2546) รายงานวิจัย เรื่อง แนวทางการจัดระบบงบประมาณและการลงทุนเพื่ออุดมศึกษา กรุงเทพฯ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (2546) อุดมศึกษาไทยในอุดมศึกษาโลก กรุงเทพมหานคร. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รังสรรค์ ประเสริฐศรี (2549) การจัดการสมัยใหม่ กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์บริษัทธรรมสาร
วิจารณ์ พานิช (2540) การบริหารงานวิจัย แนวคิดจากประสบการณ์. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ดวงกมล
วิจิตร ศรีสะอ้าน (2518) หลักการอุดมศึกษา กรุงเทพฯ : วัฒนาพาณิช
ศิโรจน์ ผลพันธิน (2549) รายงานการวิจัยเรื่อง รูปแบบการบริหารงานวิจัยในสถาบันอุดมศึกษา. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ (2540) การวิจัยเชิงบรรยาย กรุงเทพฯ : บริษัทพิมพ์ดีจำกัด
________(2535) วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์
สิปปนนท์ เกตุทัต (2537) การวิจัยในอนาคต : สร้างสรรค์ปัญญาเพื่อพัฒนาประเทศ. ข่าวสารการวิจัยทางการศึกษา ปีที่18 ฉบับที่ 1 ตุลาคม – พฤศจิกายา 2537.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (2546) เอกสารประกอบการประชุมชี้แจงเกี่ยวกับ พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2526 กรุงเทพ : (อัดสำเนา)
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2548) มาตรฐานการศึกษาของชาติ กรุงเทพฯ : หจก.สหายบล็อกและการพิมพ์
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ (2539) องค์การและการจัดการ กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์พัฒนาศึกษา
อรวรรณ สุทธิพิทักษ์ (2544) รายงานวิจัย เรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำวิจัยของอาจารย์สถาบันอุดมศึกษาเอกชน กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
อุทัย บุญประเสริฐ (2543) โครงการเอกสารทางวิชาการบริหารการศึกษาเรื่อง นโยบายและการพัฒนานโยบาย ภาควิชาบริหารการศึกษาคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Dye,Thomas R (1984) Understanding Public Policy(5 th.ed) Englewood Cliffs, New Jerswy : Prentice – Hall,Inc
Duun,William N (1994) Public Policy Analysis an Introduction (Second edition) New- Jersey : Prentice-Hall. Inc A Simon & Schuster Company
Glueck ,William F (1977) Management Hinsdale:The Dryden Press
Kathryn , David C.(1991) Management McGraw - Hill series in management
Terry,G.R (1977) Principles of Managements (7 th) Hoomewood:Irwin
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น