ความสัมพันธ์ด้านแรงงานอพยพและการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหภาพพม่าต่อเศรษฐกิจไทย

ผู้แต่ง

  • สุเมธ อดุลวิทย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

แรงงานอพยพ, การพัฒนาเศรษฐกิจ, สหภาพพม่า, และเศรษฐกิจประเทศไทย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง “การศึกษาผลกระทบของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศสหภาพพม่าที่มีต่อเศรษฐกิจประเทศไทย” ระหว่างปี พ.ศ. 2541-2551 ซึ่งได้ทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติปี พ.ศ. 2551 ผู้เขียนมีส่วนร่วมในงานวิจัยและต้องการกล่าวถึงความสัมพันธ์ของแรงงานอพยพและการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหภาพพม่าต่อเศรษฐกิจไทย ทั้งนี้ เพื่อใช้เป็นแนวทางให้กับประเทศไทยในการเตรียมความพร้อมรับประโยชน์และปัญหาที่จะเกิดขึ้น

ส่วนหนึ่งของวัตถุประสงค์ในงานวิจัยคือ (1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงงานอพยพของสหภาพพม่ากับเศรษฐกิจไทย (2) คาดการณ์หรือประมาณการผลกระทบจากการพัฒนาเศรษฐกิจของสหภาพพม่าที่มีต่อเศรษฐกิจไทย

คณะผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งแบบปฐมภูมิและทุติยภูมิ โดยสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มประชากรเป้าหมาย (Key informants) ในบริเวณพื้นที่ชายแดนไทย- สหภาพพม่า เมืองศูนย์กลางธุรกิจที่สำคัญในสหภาพพม่า และนำเสนอผลการวิเคราะห์ในเชิงพรรณนา นอกจากนั้นยังประมาณผลกระทบจากการพัฒนาเศรษฐกิจของสหภาพพม่าที่มีต่อเศรษฐกิจไทย โดยการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงซ้อน

จากการศึกษาพบว่า แรงงานอพยพชาวพม่าส่งผลให้เกิดการกระจายตัวของโรงงานอุตสาหกรรมบริเวณพื้นที่ชายแดนไทย-สหภาพพม่ามากขึ้น แต่ก็ตามมาด้วยปัญหาทางสังคม สาเหตุหนึ่งที่จูงใจให้เกิดการอพยพของแรงงานชาวพม่า คือ ความแตกต่างกันของรายได้หรือค่าจ้างแรงงานในสองประเทศ ส่วนการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหภาพพม่าเกิดจากการขยายตัวในภาคการค้าโดยเฉพาะการส่งออกและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ การค้าชายแดนของประเทศไทยด้านการส่งออกก็ได้รับผลกระทบทางบวกจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหภาพพม่า รายได้ที่สูงขึ้นของคนพม่า ความเชื่อมั่นและนิยมซื้อสินค้าไทย ตลอดจนการร่วมลงทุนในโครงการสำคัญๆ อย่างเช่น การขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ

นโยบายหรือกลยุทธ์ในการเตรียมความพร้อมรับผลกระทบจากแรงงานอพยพ และการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหภาพพม่าเพื่อประโยชน์ของประเทศไทย ได้แก่ การพัฒนาระบบโลจิสติกส์เชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งของทั้งสองประเทศ และการเร่งรัดพัฒนากรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจและแนวพื้นที่เศรษฐกิจต่างๆ ที่มีอยู่ ส่วนปัญหาแรงงานอพยพชาวพม่า หน่วยงานภาครัฐในสองประเทศควรเจรจาและประสานความร่วมมือระหว่างกัน เพื่อจัดการปัญหาแรงงานและการจ้างงานระหว่างประเทศให้เป็นระบบและสามารถตรวจสอบควบคุมได้อย่างทั่วถึง

References

ทักษิณ เห็นชอบดี (2546) แนวทางการจัดการแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง: ศึกษากรณีสัญชาติลาว พม่า และกัมพูชา ในจังหวัดสมุทรปราการ มหาวิทยาลัยบูรพา

ฟิลลิป มาร์ติน (2550) คุณูปการของแรงงานข้ามชาติต่อประเทศไทย: แนวทางสู่การพัฒนานโยบาย สำนักงานแรงงานระหว่างประเทศ ประจำอนุภูมิภาคเอเชียตะวันออก

มนตรี ชมพูจันทร์ (2545) แรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่ากับความมั่นคงของประเทศไทย วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร

รายงานภาวะการค้าระหว่างประเทศ และการค้าชายแดนของไทยกับสหภาพพม่า (2552) สำนักความร่วมมือการค้าและการลงทุน กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

รายงานเศรษฐกิจสหภาพพม่า จีนตอนใต้ และโครงการ GMS (2550) ส่วนวิชาการธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ

วีรชัย ศาสตราภัย (2542) แรงงานอพยพพม่า: กรณีศึกษาอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ศรีนคร วงศ์ใจ (2543) ผลกระทบจากแรงงานพม่าผิดกฎหมายในประเทศไทย: กรณีศึกษาอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์ มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ASEAN Statistical Yearbook, 2008 (Online) Available URL: www.aseansec.org/Publication-ASEAN-SYB-2008.pdf

Asian Development Bank & MYANMAR: A Fact Sheet, 2007 (Online) Available URL: www.adb.org/myanmar/

Central Intelligence Agency (CIA): The World Factbook, 2006 (Online) Available URL: www.cia.gov/library/publications/download.html

IMF World Economic Outlook Database, April 2009 (Online) Available URL: www.imf.org/external/pubs/ft/weo/2009/01/weodata/download.aspx

Khin Hnit Thit Oo (2550) A Study on the Livelihoods of Burmese Migrant Workers in Informal Sector in Bangkok and Chiang Mai, Thailand An independent study report for the degree of Master of Rural Development Management Khon Kaen University.

Sein Htay (2007) Burma Economic Review The Burma Fund National Coalition Government of the Union of Burma

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-11