การเปิดรับข่าวสาร ทัศนคติและการมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครกับกิจกรรมรณรงค์ในช่วงเทศกาลของมูลนิธิเมาไม่ขับ

ผู้แต่ง

  • อิศเรศ คำแหง คณะนิเทศศาสตรพัฒนาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ปาริชาต สถาปิตานนท์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การเปิดรับข่าวสาร, ทัศนคติ, การมีส่วนร่วม, ประชาชนเขตกรุงเทพมหานคร, มูลนิธิเมาไม่ขับ, กิจกรรมรณรงค์ช่วงเทศกาล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับกิจกรรมรณรงค์ในช่วงเทศกาลของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร (2) ศึกษาทัศนคติเกี่ยวกับกิจกรรมรณรงค์ในช่วงเทศกาลของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร (3) ศึกษาการมีส่วนร่วมเกี่ยวกับกิจกรรมรณรงค์ในช่วงเทศกาลของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร (4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสาร ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมเกี่ยวกับกิจกรรมรณรงค์ในช่วงเทศกาลของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลจากประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 450 คน

ผลการวิจัยพบว่า (1) การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับกิจกรรมรณรงค์ในช่วงเทศกาลมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับทัศนคติเกี่ยวกับกิจกรรมรณรงค์ในช่วงเทศกาล และความสัมพันธ์ดังกล่าวอยู่ในระดับปานกลาง (2) การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับกิจกรรมรณรงค์ในช่วงเทศกาลมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมีส่วนร่วมเกี่ยวกับกิจกรรมรณรงค์ในช่วงเทศกาล และความสัมพันธ์ดังกล่าวอยู่ในระดับต่ำ (3) ทัศนคติเกี่ยวกับกิจกรรมรณรงค์ในช่วงเทศกาลมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมีส่วนร่วมเกี่ยวกับ กิจกรรมรณรงค์ในช่วงเทศกาลและความสัมพันธ์ดังกล่าวอยู่ในระดับต่ำ

References

กิตติ กันภัย และคณะ. (2543). มองสื่อใหม่ มองสังคมใหม่. กรุงเทพฯ : เอดิสัน เพรส โพรดักส์.

เกศราภรณ์ สืบสุรีย์กุล. (2544). การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมในโครงการรณรงค์ ลดมลพิษทางอากาศของผู้ใช้รถยนต์ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

จุมพล รอดคำดี. (2532). สื่อมวลชนเพื่อการพัฒนา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชาญชัย เจริญลาภดิลก. (2539). กระบวนการรณรงค์ทางการสื่อสารเพื่อสังคมโครงการถนนสีขาว. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชลลดา กิจรื่นภิรมย์สุข. (2549). การศึกษาสถานะขององค์ความรู้ด้านการสื่อสารและการมีส่วนร่วมในวิทยานิพนธ์สาขานิเทศศาสตร์พัฒนาของไทย. วารสารนิเทศศาสตร์ ฉบับที่ 3 : 32-45.

เบญจรัตน์ มรรยาทอ่อน. (2544). เทคโนโลยีในอุตสาหกรรมบริการแห่งศตวรรษที่ 21. จุลสารการท่องเที่ยว ปีที่ 20 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มีนาคม).

ปาริชาต สถาปิตานนท์ และคณะ. (2549). เมาไม่ขับก้าวจากวันวานสู่วันนี้และก้าวไปในวันหน้า. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

ปาริชาต สถาปิตานนท์ และคณะ. (2553). เมาไม่ขับกับสังคมไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

ประภาเพ็ญ สุวรรณ. (2526). ทัศนคติ : การวัดการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรมอนามัย. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

พัชนี เชยจรรยา และคณะ. (2538). แนวคิดหลักนิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ : เยลโล่การพิมพ์.

เพ็ญจันทร์ สุธีพิเชษฐกุล. (2534). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับสื่อความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ : ศึกษาเฉพาะกรณีข้าราชการกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2534.

เฟื่องฟ้า คณานุรักษ์. (2530). ปัญหาและข้อจำกัดของพัฒนากรในการทำงานพัฒนาชุมชนตามหลักการ การมีส่วนร่วมของประชาชน : ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดนราธิวาส.

มูลนิธิเมาไม่ขับ. แผนงานลดอุบัติเหตุทางถนนจากการดื่มแอลกอฮอล์ ปี 2551-2552 โดยมูลนิธิเมาไม่ขับ เสนอสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

มงคล แก้วจันทร์. (2544). ชีวิตการสื่อสาร : การใช้ไอทีในชีวิตประจำวันอินเตอร์เน็ต. ปีที่ 6 ฉบับที่ 5.

วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน. (2531). การพัฒนาชนบทไทย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วาทินี วิชญานุโรจน์. (2544). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์และประสิทธิผลของโครงการประชาร่วมใจป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วิภา ประดิษฐผลพานิช. (2549). การจัดกิจกรรมเพื่องานประชาสัมพันธ์. เอกสารประกอบการสอนสาขาวิชาการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

วิรัช ลภิรัตนกุล. (2549). การประชาสัมพันธ์ ฉบับสมบูรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิริพรรษ์ ศรีบุญลือ. (2544). กลยุทธ์การสื่อสารการรณรงค์โครงการร่วมใจเพื่อลดอันตรายจากควันบุหรี่มือสอง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุชา จันทร์เอม. (2524). จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิชย์.

หริสุดา ปัณฑวนันท์. (2544). เครือข่ายการสื่อสาร และการรณรงค์โครงการเมาไม่ขับ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรนุช งามขาว. (2543). การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตามกฎจราจรของประชาชนคนเดินเท้าในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Atkin,Charles K. (1973). “Intrumental Utilities and Information Seeking”. New Model for Mass Communication Research,ed, Peter Clark; Beverly Hill : SAGE Publication.

Cary, L.J. (1976). The role of the citizen in C.C. process : Communinity development : Seeking.

Klapper, J.T. (1960). The Effects of Mass Communication. New York : The Free Press.

Lazarsfeld, P.F. and Menzel, H. (1968). Mass Media and Personal Influence. In Wilbur Schramm(ed). The Science of

Human Communication. New York : Basic Books.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-11