การบริหารจัดการคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมบริโภคแช่แข็ง
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ, ผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมบริโภคแช่แข็ง, คุณภาพและความปลอดภัยบทคัดย่อ
ปัจจุบันความต้องการของตลาดโลกในเรื่องของผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมบริโภคแช่แข็ง ซึ่งจัดเป็นผลิตภัณฑ์อาหารมูลค่าเพิ่มที่มีแนวโน้มที่สูงขึ้น ทั้งนี้เป็นผลมาจากอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากร สภาวะเศรษฐกิจของโลก ตลอดจนพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป สําหรับประเทศไทยอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้มีการพัฒนา และขยายตัวอยู่ในระดับแนวหน้าของสินค้าส่งออก พบว่า ช่วงระยะเวลาปี พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2550 มีการขยายตัวของตลาดผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมบริโภคแช่แข็ง ประมาณ 30% ถึง 50% คิดเป็นมูลค่าของการตลาดมากกว่า 3,500 ล้านบาทต่อปี การส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารดังกล่าวก็ยังประสบปัญหาบ้าง และคาดว่าจะทวีความรุนแรงมากขึ้นในอนาคต การบรรลุทางการแข่งขันด้านการตลาด จําเป็นต้องอาศัยปัจจัยหลายประการ เช่น การลดต้นทุนการผลิตให้มากที่สุด การรักษาคุณภาพและความปลอดภัยสินค้าให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค การออกแบบบรรจุภัณฑ์พร้อมกราฟิกที่มีความเหมาะสม ทั้งในด้านประโยชน์ใช้สอยและความสวยงามให้สอดคล้องกับรสนิยมและพฤติกรรมของผู้บริโภค อีกทั้งยังต้องมีความถูกต้องตามกฎระเบียบของฉลากควบคุมสินค้าของประเทศผู้นําเข้าอีกด้วย ดังนั้น จะต้องให้ความสําคัญมากที่สุดกับการบริหารและการจัดการคุณภาพและความปลอดภัยของกระบวนการผลิตตามขั้นตอนต่างๆ ได้แก่ ขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบหรือการแปรรูป วัตถุดิบเบื้องต้น ขั้นตอนการให้ความร้อนเพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนในอาหาร ขั้นตอนการจัดแบ่งส่วนอาหารและการบรรจุลงในบรรจุภัณฑ์ ขั้นตอนการลดอุณหภูมิหลังการปรุงสุกและการแช่แข็งในช่วงรอจําหน่ายให้กับผู้บริโภค และต้องมีโปรแกรมการจัดการเพื่อตรวจประเมินคุณภาพและความปลอดภัยผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมบริโภคแช่แข็งอย่างครบวงจร ได้แก่ โปรแกรมการคุ้มครองกระบวนการผลิตอาหารพร้อมบริโภคแช่แข็งพื้นที่ โดยรอบและหลังคาอาคารผลิตโปรแกรมด้านพนักงานผลิต และผู้เข้าเยี่ยมชมการรับวัสดุอุปกรณ์ การปฏิบัติงานพื้นที่การผลิตผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมบริโภค การจัดเก็บรักษาและการส่งจําหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารสําเร็จรูปแช่แข็งให้กับผู้บริโภค
References
กองบรรณาธิการ. (2008). An Update on Ready Meals Industry. Asia Pacific Food Industry. July – August 2008, (6) 32 : หน้า 18 - 19.
ลําพูน อุ่นเรือน. (2008). Pre - Processing Challenges : Exclusive Distributor Prospective Asia Pacific Food Industry. July - August 2008, (6) 32 : หน้า 20 – 21.
สุวิมล สุระเรืองชัย. (2008). แนวทางการตรวจประเมินการคุ้มครองด้านอาหาร For Quality กรุงเทพฯ , 14:123, หน้า 94 - 97.
ศรัทธา โลห์จินดาพงศ์. (2008). Preservation Challenges : Freezing / Chilling Professionals Perspective.(2008). Asia Pacific Food Industry. July - August 2008, (6) 32 : หน้า 26 - 27.
เอกชัย วังวรัญญ. (2008), Cooking Challenges : Technology Provider s Prospective. Asia Pacific Food Industry. July – August 2008, (6) 32 : หน้า 22 - 23.
ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย. (2551). การบรรจุอาหารพร้อมบริโภคแช่แข็งเพื่อการส่งออก. http: www.Tistr.or.th/t/publication/page_area_Show_bc.asp. 2 หน้า
White, J. (2008). Portion and Packing Challenges : Packing Professional 's Perspective. Asia Pacific Food Industry. July – August 2008, (6) 32 : p. 24
Donald, W. S., and M. S. Kristin (2007). Management of Risk Microbial Cross-Contamination from Uncooked Frozen Hamburgers by Alcohol – BasedHand Sanitizer. Journal of Food Protection. 70 (1): pp. 109 – 113.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น