ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพการบริการของสำนักงานบัญชีในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • เพ็ญธิดา พงษ์ธานี คณะการบัญชี หมวดบัญชีการเงิน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

คุณภาพการบริการสำนักงานทำบัญชี, จรรยาบรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพการบริการของสำนักงานบัญชีในประเทศไทย ซึ่งนโยบายของสำนักงานบัญชี จรรยาบรรณของสำนักงานบัญชี กระบวนการของสำนักงานบัญชี และคุณสมบัติผู้ทำบัญชีในสำนักงานบัญชีเป็นตัวแปรอิสระและเป็นตัวกำหนดคุณภาพการบริการของสำนักงานบัญชี โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากหัวหน้าสำนักงานบัญชีในประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า 1) นโยบายของสำนักงานบัญชีในทุก ๆ ด้าน ซึ่งประกอบด้วยด้านความรับผิดชอบของผู้บริหาร ด้านการสื่อสารภายในองค์กร และด้านการทบทวนการบริหาร มีผลกระทบเชิงบวกต่อคุณภาพการบริการของสำนักงานบัญชี 2) จรรยาบรรณของสำนักงานบัญชีในทุก ๆ ด้าน ประกอบด้วย ด้านความโปร่งใสอิสระ เที่ยงธรรมและความซื่อสัตย์สุจริต ด้านความรู้ความสามารถ ด้านความรับผิดชอบต่อผู้ใช้บริการส่งผลกระทบเชิงบวกต่อคุณภาพการบริการของสำนักงานบัญชี 3) กระบวนการของสำนักงานบัญชีในทุก ๆ ด้าน ประกอบด้วย ด้านกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า ด้านการจัดการทรัพยากร ด้านการปฏิบัติงาน ด้านการติดตามและตรวจสอบ และด้านการจัดการเอกสารส่งผลกระทบเชิงบวกต่อคุณภาพการบริการของสำนักงานบัญชี 4) คุณสมบัติผู้ทำบัญชีของสำนักงานบัญชีในด้านความรู้ในวิชาชีพ และด้านคุณค่าจรรยาบรรณในวิชาชีพ ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อคุณภาพการบริการของสำนักงานบัญชี นอกจากนี้ประโยชน์ของการวิจัยและข้อเสนอแนะ สำหรับงานวิจัยในอนาคตได้นำเสนอในบทความวิจัยนี้ด้วย

References

จรัญญา ปานเจริญ.(2548).ผลกระทบของลักษณะองค์การต่อการนำระบบการจัดการคุณภาพไปใช้: การศึกษาในประเทศไทย,(วิจัย) กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ธวัช ภูษิตโภยไคย.(2551).ความโปร่งใส จะเป็นจริงได้อย่างไร,(บทความ) กรุงเทพมหานคร: สมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย

ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ (2550). หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี 2550,กรุงเทพมหานคร : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ.(2541). การวิจัยธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร:ดวงกมลสมัย

สรชัย พิศาลบุตร.(2544). วิธีวิจัยเชิงปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร : จูนพับลิชชิ่ง

สุวรรณ หวังเจริญเดช.(2548) . ปัญหาการให้บริการการจัดทำบัญชีของสำนักงานบัญชีในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก เฉียงเหนือตอนล่าง,(วิจัย).กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

Brensinger,R.P. and Lambert, D.M. (1990), “Can the SERVQUAL Scale be Generalized to Business -to-Business Services? , in Knowledge Development in Marketing, AMA’s Summer Educatiors’ Conference Proceedings, American Marketing Association, Chicago, IL, p.289.

Crompton, J.L. and MacKay, K.J. (1989) , “ Users’ perceptions of the Relative Importance of Service Quality Dimensions in Selected Public Recreation Programs”, Leisure Sciences, Vol.11,pp. 367-75.

International Education Standard (2006), International Accounting Education Standard, NewYork : International Federation of Accounting

Parasuraman, A.,Zeithaml, V.A. and Berry, L.L.(1985), “A conceptual model of service quality and its implication” , Journal of Marketing,Vol.49,Fall, pp.41-50.

Zeithaml,V.A., Parasuraman, A. & Berry, L.L. (1990) , Delivering Quality Service:Balancing Customer Perceptions and Expectations, Free Press, USA.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-14