ผลกระทบของการประยุกต์ใช้มาตรฐานการบัญชีที่มีต่อลักษณะคุณภาพกำไรและภาพลักษณ์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
คำสำคัญ:
มาตรฐานการบัญชี, คุณภาพกำไร, ภาพลักษณ์ของกิจการบทคัดย่อ
กระบวนการทางบัญชีก่อให้เกิดการนำเสนอสารสนเทศทางด้านการเงินของกิจการอันเป็นประโยชน์แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลายฝ่าย เพื่อใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ สารสนเทศทางบัญชีจึงต้องเข้าใจได้เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ เชื่อถือได้และสามารถเปรียบเทียบกันได้ ซึ่งเป็นไปตามลักษณะเชิงคุณภาพของข้อมูลตามแม่บทการบัญชีสารสนเทศทางบัญชีจะมีคุณลักษณะดังกล่าวหรือไม่ขึ้นอยู่กับมาตรฐานการบัญชีที่กิจการใช้สำหรับจัดทำเป็นสำคัญ สารสนเทศทางการบัญชีการเงินถือเป็นสารสนเทศของ กิจการที่ฝ่ายบริหารมีหน้าที่นำเสนอรายงานที่เกิดขึ้นจากผลการปฎิบัติของกิจการให้กับผู้ใช้งบการเงินภายนอก ฝ่ายบริหารจึงมีหน้าที่จัดทำบัญชีของกิจการโดยใช้มาตรฐานการ บัญชีเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการประยุกต์ใช้มาตรฐานการบัญชีที่มีผลต่อคุณภาพกำไรในรายงานการเงิน และยังศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพกำไรในรายงานการเงินที่มีต่อภาพลักษณ์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยสอบถามความคิดเห็นจากผู้บริหารฝ่ายบัญชีของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยใช้แบบสอบถามระดับความคิดเห็น 5 ระดับ Likert Scale และคำถามปลายเปิด ผลจากการศึกษาวิจัยพบว่าการประยุกต์ใช้มาตรฐานการบัญชีมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพกำไร และพบว่าคุณภาพกำไรมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อภาพลักษณ์ของกิจการ ผลการวิจัยยังให้ข้อเสนอแนะแก่สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ซึ่งเป็นผู้กำหนดมาตรฐานการบัญชีนำไปใช้เป็นข้อมูลในการกำหนด และการปรับปรุงมาตรฐานการบัญชีให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมต่างๆ ของธุรกิจ ให้ข้อมูลกับผู้ใช้งบการเงินถึงปัจจัยการประยุกต์ใช้มาตรฐานการบัญชีของกิจการเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินคุณภาพกำไร อันจะเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจของผู้ใช้งบการเงินและเป็นข้อมูล สำหรับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีให้ตระหนักถึงความสำคัญของการประยุกต์ใช้มาตรฐานการ บัญชีที่จะส่งผลต่อคุณภาพกำไรและภาพลักษณ์ของกิจการ รวมทั้งข้อเสนอแนะสำหรับงานวิจัยต่อไปในอนาคต
References
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2546). การคิดเชิงประยุกต์. กรุงเทพมหานคร : ซัคเซสมีเดีย.
เกศชน ใจกระจ่าง (2548). วิทยานิพนธ์. ความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงทางการบัญชีทื่เกี่ยวข้องกับค่าตอบแทน และโครงสร้างความเป็นเจ้าของของคณะกรรมการบริษัทกับผลการดำเนินงานทางการเงินของบริษัทที่ไม่ใช่สถาบันทางการเงินในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เดชอนันต์ บังกิโล (2548). วิทยานิพนธ์. ความระมัดระวังของกำไรทางบัญชี กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนที่ ไม่ใช่กลุ่มบริษัททางการเงินในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ทิพวรรณ แซ่ล่อ (2548). วิทยานิพนธ์. เสถียรภาพของข้อมูลบัญชีกับความสามารถในการอธิบายผลตอบแทนหลักทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นในช่วงก่อนและหลังวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของบริษัทในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิ่มนวล เขียวรัตน์ (2539). ดุษฎีนิพนธ์. ผลกระทบของการประกาศกำไรสุทธิทางบัญชีต่อราคาหลักทรัพย์ของบริษัท จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรณีความแตกต่างในความพร้อมของข้อมูล. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
หนึ่งฤทัย นครพิน (2548). วิทยานิพนธ์. ปัจจัยด้านแรงจูงใจในการบริหารในการรับรู้การด้อยค่าของสินทรัพย์ของบริษัทที่ไม่ใช่สถาบันการเงินในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปัญญา สัมฤทธิ์ประดิษฐ์ (2545). วิทยานิพนธ์. การศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสามารถของกำไรทางบัญชีและมูลค่าตามบัญชีในการใช้อธิบายราคาหลักทรัพย์หุ้นสามัญในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรรณนิภา ครุวรรณพัฒน์ (2548). วิทยานิพนธ์. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรายการคงค้างกับกำไรและผลตอบแทนของหุ้นในอนาคต.
พรรณนิภา รอดวรรณะ (2539). ดุษฎีนิพนธ์. ผลกระทบต่อการตอบสนองในตลาดของมาตรการการเปลี่ยนแปลงการบัญชีเงินลงทุนในหุ้นทุนจากวิธีราคาทุนเป็นวิธีส่วนได้ส่วนเสีย : การศึกษาเชิงประจักษ์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรทิพย์ วรกิจโภคาทร .(2537).“ภาพพจน์กับการประชาสัมพันธ์” ใน ภาพพจน์นั้นสำคัญยิ่ง : การประชาสัมพันธ์กับภาพพจน์. คณะวารสารและสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, เมธากุล เกียรติกระจาย (2544). ทฤษฎีการบัญชี. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วรสิทธิ์ อภิวัฒนเสวี (2548). การศึกษาอิสระ. ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลที่มีสาระสำคัญกับอัตราผลตอบแทนผิดปกติของบริษัทขนาดใหญ่. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุภาพร แช่มช้อย (2548). วิทยานิพนธ์. ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกนโยบายการบัญชีที่สำคัญสำหรับธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศุภชัย ตั้งบุญธินา (2550). การศึกษาอิสระ. ปัจจัยที่มีผลต่อความเชื่อมั่นของงบการเงินในมุมมองของนักลงทุน. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ศันสนีย์ สุริยเชิดชูสกุล (2548). วิทยานิพนธ์. ความสัมพันธ์ระหว่างค่าความนิยมกับผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสดในอนาคตของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริกุล ลิ่มลัญจกร (2535). วิทยานิพนธ์. กระบวนการสร้างภาพพจน์โดยผ่านสื่อมวลชนของรถยนต์บีเอ็มดับบลิวซีรีส์ 5 ใหม่. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรพรรณ อรรฆย์ภูษิต (2547). วิทยานิพนธ์. ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดทำและการวิเคราะห์งบกระแสเงินสดของบริษัทจำกัดในเขตกรุงเทพมหานคร. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อนุพนธ์ เพ็งแป้น, (2548). วิทยานิพนธ์. ความสัมพันธ์ระหว่างคุณค่าของข้อมูลในการประกาศรายงานทางบัญชีกับราคาและปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์. บัณฑิตวิทยาลัย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Aaker, A., Kumar, V. and Say, S. (2001), Marketing research, John Wiley and Son, New York.
Apisit Chattananon et al. (2007). Buiding corporate image through societal marketing programs. Society and Business Review. Bradford.Vol.2,Iss 3.
Boonlert – U -Thai et al. (2006). Earnings attributes and investor-protection : International evidence. International journal of Accounting ; Vol41 Issue 4
Boulding E. Kenneth.(1975). The Image. Knowledge in life and society . Ann Arbor : The University of Michican.
Francis et al. (2004). Cost of Equity and Earnings Attributes. The Accounting Review Vol.79.No4.
Lee, F., Lee, C. and Lee, A (2000), Statistics for Business and Financial Economics, 2nd Ed., World Scientific, Singapore.
Leuz et. al. (2 0 0 3 ). Earning management and investor protection : an international comparison. Journal of Financial Economics 69.2003.
Nunnually, C. (1978), Psychometric theory, McGraw-Hill, New York
Schipper and Vincent (2003). Earning Quality. Accounting Horizons ABI/INFORM Global
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น