ความสวยบนส้นสูง : อัตลักษณ์ของผู้หญิงแห่งสมัย

ผู้แต่ง

  • ชิตาภา สุขพลำ หลักสูตรนิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

อัตลักษณ์, ส้นสูง, ผู้หญิง, ความสวย

บทคัดย่อ

การบริโภครองเท้าส้นสูงของผู้หญิงมี 3 ระดับคือ 1. บริโภคเพราะความชื่นชอบ ในระดับปกติทั่วไป 2. บริโภคด้วยความชื่นชอบอย่างมาก 3. บริโภคด้วยความคลั่งไคล้ ใหลหลง โดยต้องการที่จะสื่อสารอัตลักษณ์ในการสวมใส่ออกมาในลักษณะต่าง ๆ คือ ใส่ส้นสูงเพื่อเพิ่มความสูง เพื่อความสง่างามเสริมบุคลิกภาพและความมั่นใจ เพื่อความทันสมัยหรือนำสมัย เพื่อความเซ็กซี่แฝงเสน่ห์แห่งความเย้ายวน เพื่อความเป็นมืออาชีพหรือสาวทำงาน เพื่อความเป็นหญิงที่แตกต่างจากชายและเพื่อจำแนกชนชั้นทางสังคม โดยมีองค์ประกอบในเรื่องเรื่องของเวลาและพื้นที่หรือกาลเทศะ เรื่องของชนชั้นรายได้หรือ สถานะทางเศรษฐกิจ เรื่องของบทบาทหน้าที่ วัยของผู้สวมใส่ เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ในการแต่งกาย ลักษณะส่วนบุคคล และบริบทอื่นๆ ของวาทกรรมความงาม เป็นองค์ประกอบในการประกอบสร้างอัตลักษณ์ของผู้หญิงที่ใส่ส้นสูง

References

ชลลดา จันทร์เต็ม.(2547). วาทกรรมและการสื่อความหมายของวัฒนธรรมความงามระหว่างกลุ่มธุรกิจเสริมความงามและกลุ่มสตรีนิยมของไทย. กรุงเทพฯ : วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร.(2543). วาทกรรมการพัฒนา.กรุงเทพฯ : วิภาษา. ชูศรี งามประเสริฐ.(2541).

การแอบมองและจ้องดูที่ปรากฏในภาพยนตร์. กรุงเทพฯ : วิทยานิพนธ์ ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นันทวัฒน์ ฉัตรอุทัย. (2549). เหลียวหน้าแลหลังวัฒนธรรมป๊อป. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิริธร (องค์การมหาชน).

ปริตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล.(2541). เผยร่าง – พรางกาย : ทดลองมองร่างกายใน ศาสนา ปรัชญา การเมืองประวัติศิลปะและมนุษย์วิทยา. กรุงเทพฯ : โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

อภิญญา เพื่องฟูสกุล.(2546). อัตลักษณ์ : การทบทวน ทฤษฎีและกรอบแนวคิด. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการ สภาวิจัยแห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-14