การทบทวนองค์ความรู้เพื่อรวบรวมและศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคติดต่อ

ผู้แต่ง

  • เชษฐ รัชตาพรรณาธิกุล โครงการสำนักงานส่งเสริมการวิจัยกฎหมาย การแพทย์ สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม และวิทยาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
  • โกวิท โกวิท ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ชุษณะ รุ่งปัจฉิม สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ววรรณา บุญศรีเมือง สถาบันพัฒนาสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

โรคติดต่อ, กฎหมาย

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง "การทบทวนองค์ความรู้เพื่อรวบรวมและศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคติดต่อ" โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 5 ประการด้วยกันคือ

1. เพื่อศึกษาสาระและบทบัญญัติของกฎหมายการแพทย์และสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคติดต่อติดต่อและกลไกอื่น ๆ จากเอกชน องค์กร ชุมชน ฯลฯ

2. เพื่อศึกษากลไกของรัฐในการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรค

3. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคติดต่อที่ส่งผลกระทบต่อสังคม เศรษฐกิจ การเมือง/กฎหมาย การตลาด ฯลฯ

4. เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ โดยการเปรียบเทียบของไทยและต่างประเทศ

5. เพื่อสังเคราะห์และเสนอแนะเชิงนโยบาย เชิงการบริหารจัดการเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายเพื่อการควบคุมโรคติดต่อที่เหมาะสมกับประเทศไทย

การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการทบทวนเอกสาร (Documentary Research) โดยการศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากหนังสือ ตำรา วารสาร บทความวิชาการ รายงาน การวิจัย วิทยานิพนธ์ สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์

การวิเคราะห์ข้อมูลจะใช้วิธีการพรรณนา (Descriptive) โดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์เนื้อหาจากข้อมูลทั้งในและต่างประเทศ

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคติดต่อของทุกประเทศที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ซึ่งประกอบด้วย ประเทศไทย มาเลเชีย สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น อังกฤษและสหรัฐอเมริกา มีเนื้อหาและวิธีการที่ใช้ในการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อที่สอดคล้องกับกฎอนามัยระหว่างประเทศ

2. ในแต่ประเทศที่ศึกษามีมาตรการและกลไกที่ใช้ในการควบคุมและ ป้องกันโรคติดต่อที่คล้ายคลึงและใกล้เคียงกัน สำหรับสภาพปัญหาและผลกระทบ รวมทั้งมาตรการและกลไกที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพนั้นก็ขึ้นอยู่กับสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและการเมืองการปกครองของแต่ละประเทศเป็นสำคัญ

3. ข้อเสนแนะเชิงนโยบายและการบริหารจัดการเพื่อควบคุมโรคติดต่อ จะต้องมีระบบสารสนเทศเพื่อการเผยแพร่สื่อสาร ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารที่ดีและมีประสิทธิภาพสูง จะต้องมีการศึกษาทบทวนโรคติดต่ออันตรายเพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง จะต้องมีการวางแผนป้องกันในเชิงรุกอย่างต่อเนื่องและมีการประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ จะต้องมีการสร้างแผนพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงาน องค์กรทั้งในและต่างประเทศเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ คุณภาพ มาตรฐานระบบการให้บริการ นวัตกรรมด้านสุขภาพ บุคลากร แหล่งทุนและอื่น ๆ

References

เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุลและคณะ (2551). การทบทวนองค์ความรู้เพื่อรวบรวมและศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคติดต่อ. โครงการสำนักงานส่งเสริมการวิจัยกฎหมายการแพทย์สาธารณสุขสิ่งแวดล้อมและวิทยาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-17