ผู้เรียนในระดับอุดมศึกษาพร้อมไหมสำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเอง

ผู้แต่ง

  • รสสุคนธ์ เสวตเวชากุล สถาบันภาษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

ความพร้อม, การเรียนรู้ด้วยตนเอง, ภาษาอังกฤษ, อุดมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความพร้อมในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเอง รูปแบบงานวิจัยคือการวิจัยเชิงการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพกับนักศึกษาจำนวน 380 คน ในมหาวิทยาลัยเอกชน 5 แห่งในเขตกรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ยังใช้วิธีสัมภาษณ์กับนักศึกษาจำนวน 15 คนเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลในรายละเอียด จากผลการวิจัยพบว่า โดยเฉลี่ยระดับความพร้อมในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเองของนักศึกษาอยู่ในระดับสูง กล่าวคือ ความเต็มใจในการเรียนรู้ แรงจูงใจในการเรียนและความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองอยู่ในระดับสูง ในขณะที่ความมั่นใจในการเรียนรู้ด้วยตนเองอยู่ในระดับปานกลาง งานวิจัยนี้ได้นำเสนอข้อสังเกตที่ได้จากการอภิปรายผลวิจัยและเสนอข้อแนะนำแก่ผู้บริหารการศึกษา ผู้สอนภาษาอังกฤษ และนักวิจัยเพื่อนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้และเพื่อวิจัยประเด็นที่เกี่ยวข้องต่อไป

References

Benson, P. (2001). Teaching and researching autonomy in language learning. London : Longman.

Brockett, R. and Hiemstra, R. (1993). Self-direction in adult learning: perspectives on theory, research, and practice. London: Routledge.

Chan, V. (2001). Readiness for learner autonomy: what do our learners tell us? Teaching in Higher Education. 6, 505-518.

Dickinson, L. (1987). Self-instruction in language learning. Cambridge : Cambridge University Press.

Dickinson, L. (1995). Introduction. In Proceedings of seminar on self-access learning and learner independence: a South East Asean perspective. Bangkok : KMITT, 1-10.

Hofstede, G. (1986). Cultural differences in teaching and learning. International Journal of Intercultural Relations. 10, 301-320.

Little, D. (1990). Autonomy in language learning. In I. Gathercole (Ed.), Autonomy in Language Learning. London: CILT, 7-15.

Littlewood, W. (1996). Autonomy: an anatomy and a framework. System. 24(4), 427- 435.

Littlewood, W. (1999). Defining and developing autonomy in East Asian Contexts. Applied Linguistics. 20(1), 71-94.

Scharle, A. and Szabo A. (2000). Learner Autonomy: a guide to developing learner responsibility. Cambridge : Cambridge University Press.

Schmenk, B. (2005). Glocalizing learner autonomy. TESOL Quarterly. 39 (1), 107-118.

Spratt, M. et al. (2002). Autonomy and motivation: which comes first? Language Teaching Research. 6 (3), 245-266.

Ushioda, E. (1996). Learner autonomy 5: The role of motivation. Dublin: Authentik.

Wenden, A. (1991). Learner strategies for learner autonomy: planning and implementing learner training for language learners. Hertfordshire: Prentice Hall International.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-18