แนวคิดมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์และหนี้สิน

ผู้แต่ง

  • อัมพร เที่ยงตระกูล คณะการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

ราคาทุนเดิม, มูลค่ายุติธรรม, ราคาตลาดซื้อขายคล่อง, มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับในอนาคต, มูลค่าที่ได้มา, มูลค่าที่ได้รับ, มูลค่าจากการใช้, มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน

บทคัดย่อ

การบันทึกบัญชีในปัจจุบันได้เปลี่ยนจากการใช้หลักราคาทุนเดิม (Historical Cost) มาใช้แนวคิดมูลค่ายุติธรรม (Fair Value) ของสินทรัพย์และหนี้สิน โดยสภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์แห่งประเทศไทยได้นำแนวคิดนี้มาจากคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีการเงิน (Financial Accounting Standards Board – FASB) และคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีนานาชาติ (International Accounting Standards Committee – IASC )มาทำการปรับปรุงมาตรฐานการบัญชีไทยเพี่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานนานาชาติและประกาศใช้โดยมีมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้องกับมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์และหนี้สินได้แก่ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 เรื่องที่ดิน อาคารและอุปกรณ์มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 34 เดิม เรื่องการบัญชีสำหรับการปรับโครงสร้างหนี้ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 เรื่องการด้อยค่าของสินทรัพย์มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 เดิม เรื่องการบัญชีเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 3 เรื่อง การรวมธุรกิจมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 เรื่อง การแสดงรายการและสำหรับเครื่องมือทางการเงิน ซึ่งแต่ละฉบับมีแนวทางการกำหนดการใช้มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์และหนี้สิน โดยมูลค่ายุติธรรมที่นำมาใช้ในมาตรฐานการบัญชีแต่ละฉบับที่เกี่ยวข้องจะถูกกำหนด โดยราคาตลาดซื้อขายคล่องหรือตลาดรองรับราคาตลาดล่าสุดที่มีระดับของการซื้อขายคล่องรองลงมาราคาตลาดของสินทรัพย์อื่นที่คล้ายกัน ราคาเทียบเคียงที่สามารถเทียบกันได้ซึ่งเป็นราคาที่เป็นไปได้ และมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดสุทธิที่คาดว่าจะได้รับในอนาคต สำหรับกรณีที่งบการเงินเริ่มมีการประมาณมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์และหนี้สินหลายรายการมากขึ้น จะใช้มูลค่ายุติธรรมหรือการปรับค่าตามราคาตลาดที่มีความผันผวนทำให้งบการเงินได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าของสินทรัพย์และหนี้สินมากขึ้น ดังนั้นถ้ามูลค่ายุติธรรมไม่สามารถกำหนดได้อย่างเหมาะสม ก็สามารถนำแนวคิดของราคาสินทรัพย์ที่ได้มา มูลค่าที่ได้รับและมูลค่าของการใช้ เพื่อมากำหนดมูลค่ายุติธรรมแทนได้ ซึ่งการใช้มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์และหนี้สินในการบันทึกบัญชีและเปิดเผยข้อมูลจะมีผลต่อการตัดสินใจของผู้ ใช้งบการเงินและสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงความเป็นจริงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งเป็นประโยชน์ต่อกิจการในการพยากรณ์กำไรในอนาคตได้ดีกว่าราคาทุนเพราะมูลค่ายุติธรรมให้ข้อมูลที่ทันต่อเวลามากกว่าราคาทุนและสามารถตรวจสอบได้อย่างมีเหตุผลในปัจจุบัน แม้ว่าการใช้มูลค่ายุติธรรมจะเป็นการประมาณการแต่ก็สามารถใช้ข้อมูลในงบการเงินเป็นสัญญาบอกปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ล่วงหน้า แต่มีสินทรัพย์และหนี้สินบางรายการยังใช้ราคาทุนอันส่งผลให้งบดุลเป็นเพียงการนำเสนอมูลค่ายุติธรรมเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น สำหรับกรณีที่เป็นสินทรัพย์ที่มีการด้อยค่ากิจการจะต้องทำการทดสอบการด้อยค่าของสินทรัพย์โดยเปรียบเทียบมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับในอนาคตกับมูลค่าราคาตามบัญชี หรือมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนกับราคาตามบัญชี ถ้าราคาตามบัญชีสูงกว่ามูลค่าปัจจุบันกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้หรือสูงกว่ามูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนแสดงว่าสินทรัพย์นั้นเกิดการด้อยค่านั่นเอง.

References

สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 4. “การรวมธุรกิจ”. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.dbd.go.th สืบค้น 11 ก.ค. 2552

_______มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 16. “ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์”. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.dbd.go.th สืบค้น 22 ก.ค. 2552

_______มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 27. “งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะ”. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.dbd.go.th สืบค้น 22 ก.ค. 2552

_______มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 32. “การแสดงรายการสำหรับเครื่องมือทางการเงิน”. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.dbd.go.th สืบค้น 25 ก.ค. 2552

_______มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 36. “การด้อยค่าของสินทรัพย์”. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.dbd.go.th สืบค้น 10 ก.ค. 2552

_______มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 38. “สินทรัพย์ไม่มีตัวตน”. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.dbd.go.th สืบค้น 11 ก.ค. 2552

_______มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 40. “อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน”. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.dbd.go.th สืบค้น 10 ก.ค. 2552

_______มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 40(เดิม). “การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้ และตราสารทุน”. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.dbd.go.th สืบค้น 22 ก.ค. 2552

_______มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 41. “การเกษตร”. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.dbd.go.th สืบค้น 12 ก.ค. 2552

AICPA, Accounting for Derivative Instruments and Hedging Activities, Statement of Financial Accounting Standard No. 133, Norwalk, Conn : 1998

AICPA, Accounting for Business Combinations, Statement of Financial Accounting Standard No. 141, Norwalk, Conn : 2001

AICPA, Accounting for Goodwill and Intangible Assets, Statement of Financial Accounting Standard No. 142, Norwalk, Conn : 2001

Hermann and Thomas, “The Use of Fair Value for Assets and Liabilities.” Oregon State University , 2002

IASC, Business Combinations, International Accounting Standard No.22, 1998

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-18