การจัดการระบบทำน้ำร้อนแบบผสมผสานระหว่างเซลล์แสงอาทิตย์ร่วมกับความร้อนทิ้งจากระบบปรับอากาศ

ผู้แต่ง

  • ติกะ บุนนาค สาขาการจัดการเทคโนโลยีอาคาร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ธนสิษฐ์ งามสอาด สาขาการจัดการเทคโนโลยีอาคาร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

ระบบผลิตร่วมไฟฟ้า - ความเย็น - ความร้อนร่วม, ความร้อน

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอการศึกษาการจัดการระบบทำน้ำร้อนแบบผสมผสานระหว่างเซลล์แสงอาทิตย์รวมกับความร้อนทิ้งจากระบบปรับอากาศขนาดใหญ่ ซึ่งในการศึกษาจะศึกษาแนวทางในการพัฒนาระบบผลิตไฟฟ้า และน้ำร้อนแบบผสมผสานกับระบบปรับอากาศขนาดใหญ่เพื่อที่จะนำมาใช้กับอาคารหรือโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงศึกษาแนวทางการจัดการการใช้พลังงานในอาคารโดยใช้ระบบผสมผสานไฟฟ้า จากพลังงานแสงอาทิตย์กับการทำน้ำร้อนและทำการประเมินความเป็นไปได้ของระบบผลิตน้ำร้อนแบบผสมผสานพลังงานแสงอาทิตย์กับระบบผลิตน้ำร้อนจาก

จากการศึกษาพบว่า ระบบนี้มีราคาต้นทุนสูงจึงไม่เหมาะกับการลงทุนในภาค เอกชน โดยคิดจากอายุของอุปกรณ์ที่ 20 ปี ที่อัตราผลตอบแทนการลงทุน 8.05 % จะมีจุดคุ้มทุนที่ 25 ปี อย่างไรก็ตามในด้านผลงานและสิ่งแวดล้อมระบบนี้เป็นระบบที่คุ้มค่าต่อการลงทุน เนื่องจากไม่ก่อมลพิษไม่ทำลายชั้นบรรยากาศ ทั้งยังเป็นการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์เหมาะกับหน่วยงานภาครัฐที่มีกิจกรรมที่มีความต้องการใช้ทั้งน้ำร้อนและระบบทำความเย็นและไฟฟ้า เช่นโรงพยาบาล

References

ทนงเกียรติ เกียรติศรีโรจน์และกูสกานา กูบาฮา. 2538. การพัฒนามาตรฐานเครื่องผลิตน้ำร้อนแสงอาทิตย์. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี,กรุงเทพฯ.

ปรีดา จันทวงษ์. 2543. เครื่องทำน้ำร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์อย่างง่ายสำหรับประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, กรุงเทพฯ

ศุภชัย กิรติกาญจน์พงศ์. 2542. การวิเคราะห์ฮีทปั้มเสริมพลังงานแสงอาทิตย์ในระบบน้ำร้อน. คณะพลังงานและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, กรุงเทพฯ

โชคชัย จูฑะโกสิทธิ์กานนท์. 2547. การศึกษาเทคโนโลยีการผลิตน้ำร้อนด้วยระบบผสมผสานพลังงานแสงอาทิตย์-ความร้อนทิ้งเครื่องปรับอากาศ. กรุงเทพ: วิทยานิพนธ์ปริญญาโท,มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เสริม จันทรฉาย. 2545. โครงการพัฒนาเครือข่ายสถานี วัดความเข้มแสงรังสีดวงอาทิตย์สำหรับประเทศไทย. 93.

กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานและคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2542 : แผนที่ศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศไทย พ.ศ. 2542.

Davidson, J. and B. Wood. 1996. Solar hot water for the home. Mechanical Engineering Journal. Volume 1188, Aug 31 1996:60-62.

Fanney, A.H and B.P. Dougherty. 1997. A . Photovoltaic solar water heating system. Journal of Solar Energy Engineering. Volume 119, May 31 1997: 126-133.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-18