การศึกษาเปรียบเทียบบทบาทในการปฏิบัติงานและบุคลิกภาพของนักประชาสัมพันธ์ระหว่างองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน
คำสำคัญ:
บทบาทในการปฏิบัติงาน, บุคลิกภาพบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบบทบาทในการปฏิบัติงานและบุคลิกภาพของนักประชาสัมพันธ์ ในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสำคัญต่อบทบาทในการปฏิบัติงานและบุคลิกภาพของนักประชาสัมพันธ์ ตลอดจนเพื่อหาแนวโน้มของบทบาทในการปฏิบัติงานและบุคลิกภาพของนักประชาสัมพันธ์ที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานของนักประชาสัมพันธ์ในอนาคต โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพคือการสัมภาษณ์เชิงลึกนักประชาสัมพันธ์ จำนวน 16 คน และวิธีวิจัยเชิงปริมาณโดยการสำรวจนักประชาสัมพันธ์ จำนวน 400 คน โดย ผลการวิจัยพบว่า นักประชาสัมพันธ์ในองค์กรภาครัฐและเอกชน มีบทบาทในการ ปฏิบัติงานที่มี 10 บทบาทคือ บทบาทด้านการจัดการ บทบาททางด้านสื่อมวลชน สัมพันธ์ บทบาททางด้านประสานการสื่อสาร บทบาททางด้านเทคนิคการสื่อสาร บทบาททางด้านสื่อสารประชาสัมพันธ์ บทบาททางด้านวิจัย-ประเมินผล บทบาททาง ด้านการเป็นตัวแทน-โฆษกขององค์กร บทบาททางด้านการวางแผนการประชาสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์ บทบาททางด้านการจัดการภาวะวิกฤต และบทบาทในการแสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร ในส่วนบุคลิกภาพของนักประชาสัมพันธ์ที่สำคัญ แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ บุคลิกภาพภายนอก บุคลิกภาพภายในและบุคลิกภาพตามหลักพุทธศาสนา
จากการศึกษาพบว่าบทบาทในการปฏิบัติงานและบุคลิกภาพของนักประชาสัมพันธ์ในองค์กรภาครัฐบาลและเอกชนมีความแตกต่างกัน โดยพบว่านักประชาสัมพันธ์ภาคเอกชนมีบทบาทในการปฏิบัติงานมากกว่านักประชาสัมพันธ์ในภาครัฐบาลทุกประการ ยกเว้นแต่บทบาทด้านการสื่อสารกับนักการเมืองเท่านั้น ที่นักประชาสัมพันธ์ในภาครัฐบาลมีการปฏิบัติที่กว่ามาก ในส่วนของบุคลิกภาพนั้นทั้งภาครัฐและเอกชนจะแตกต่างกันไม่มากนัก นอกจากนั้นยังพบว่ามีปัจจัย 3 ประการที่มีความสำคัญต่อบทบาทในการปฏิบัติงานและบุคลิกภาพของนักประชาสัมพันธ์ได้แก่ ปัจจัยด้านคุณลักษณะทางประชากรของนักประชาสัมพันธ์ ปัจจัยภายในองค์กรและปัจจัยภายนอกองค์กร สำหรับแนวโน้มของบทบาทในการปฏิบัติงานของนักประชาสัมพันธ์ที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานของนักประชาสัมพันธ์ในอนาคตมีหลายประการ อาทิ บทบาทในการเป็นผู้ที่จะต้องมีความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในงานประชาสัมพันธ์มากขึ้น ความสามารถในการรวบรวมข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายให้ถูกต้องและมีรายละเอียดที่ชัดเจนเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการทำการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย และบทบาทในการเสริมสร้างกระแสอนุรักษ์โลกลดการใช้พลังงาน ส่วนแนวโน้มของบุคลิกภาพของนักประชาสัมพันธ์ที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานของนักประชาสัมพันธ์ในอนาคตพบว่า ความคล่องตัวสูง การเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ที่ก้าวไกล การเป็นผู้ที่พร้อมรับนวัตกรรมและสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ๆ ตลอดเวลา มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง มีความคิดสร้างสรรค์ ความรอบรู้ด้านการประชาสัมพันธ์แบบมืออาชีพ และเป็นผู้ที่มีความจริงใจ มีจริยธรรมในการทำงาน ล้วนเป็นบุคลิกภาพ ที่มีความสำคัญต่อนักประชาสัมพันธ์ใน อนาคต
References
กุลธิดา ธรรมภิวัชน์. ความเป็นนักวิชาชีพของนักประชาสัมพันธ์กับบทบาทและลักษณะการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542.
กอบกวี ชื่นรักสกุล. จิตสำนึกเพื่อสาธารณะของนักประชาสัมพันธ์ในงานประชาสัมพันธ์. วิจัย, คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2552.
ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ,กรรณิการ์ อัศวดรเดชา,รุ่งนภา พิตรปรีชา. การศึกษากระบวนการวางแผนการประชาสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์ขององค์กรภาครัฐและเอกชน. วิจัย, คณะนิเทศศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550.
วิรัช ลภิรัตนกุล. การประชาสัมพันธ์ ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542.
สมิต อาชวะนิจกุล. การพัฒนาตนเอง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, 2532.
Broom, G. M., & Smith, G. D. (1979). Testing practitioner’s impact on clients. Public Relations Review, 5, 22-28.
Broom, G. M. (1986). A comparison of sex roles in public relations. Public Relations Review, 8, 17-22.
Doug Newsom.(1992). This is PR: The Realities of Public Relations. United State of America : Wadsworth Publishing
Doug Newsom, Judy Vanslyke Turk and Dean Krunckeberg. (2000). This is PR: The Realities of Public Relations.Australia : Wadsworth Thomson Learning.
Matt Haig. (2000). E-PR: The Essential Guide to Public Relations on the Internet. UK: Kogan Page. Perspectives. Unpublished Dissertation, Rand Afrikaans University.
สมหวัง วิทยาปัญญานนท์. การจัดการธุรกิจด้วยพรหมวิหารธรรม. 2544. แหล่งที่มา : www.budmgt.com/budman/bm02/virtuousexist4.html สืบค้น 15 มิถุนายน 2552
James L. Horton (1982). What is PR today? แหล่งที่มา : Website.www.prsa.org สืบค้น 20 ตุลาคม 2551
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น