พฤติกรรมการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อที่ประเทศไทยในระดับอุดมศึกษานานาชาติของนักศึกษาประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
คำสำคัญ:
การศึกษาต่อ, การศึกษาขั้นอุดมศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ การแสวงหาข้อมูลและพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับอุดมศึกษานานาชาติในประเทศไทยของนักเรียน นักศึกษาในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS) ได้แก่ จีน เวียดนาม พม่า ลาวและ กัมพูชา โดยเลือกศึกษาจากนักศึกษาที่ตัดสินใจมาศึกษาต่อที่ประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพร่วมกับเชิงปริมาณ ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเหตุผล แรงจูงใจ การแสวงหาข้อมูลข่าวสาร เป้าหมายและผู้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อต่างประเทศ หลักจากนั้นใช้วิธีการสำรวจด้วยแบบสอบถาม เกี่ยวกับการรับรู้ การแสวงหาข่าวสาร พฤติกรรมการตัดสินใจของนักศึกษาตามที่ได้ มาจากการสัมภาษณ์เพื่อยืนยันข้อมูลและสรุปผลการวิจัย
จากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสำรวจนักศึกษาในประเทศกลุ่ม GMS ที่มาศึกษาในประเทศไทย พบว่า ผลการวิจัยมีความสอดคล้องกัน สรุปได้ว่ากลุ่มเป้าหมายหลักทางการตลาดอุดมศึกษานานาชาติของไทยเป็นนักเรียนที่ต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีมากกว่าปริญญาโทและเอกมีศักยภาพในด้านทุนการศึกษา ผู้ปกครองมีธุรกิจส่วนตัวและทำงานในองค์การระหว่างประเทศ ผู้ปกครองส่วนใหญ่เคยมีประสบการณ์มาประเทศไทย และนักเรียนส่วนใหญ่มีผลการเรียนระดับปานกลางถึงดี มีพฤติกรรมชอบใช้อินเตอร์เน็ตมากที่สุด ชอบคุยกับเพื่อน เชื่อฟังพ่อแม่ อ่านหนังสือพิมพ์และนิตยสารเป็นบางครั้งรักอิสระ เป็นคนจริงจังอยากประสบความสำเร็จในอาชีพ และต้องการมีความรู้ทักษะด้านภาษาเพื่อที่จะพัฒนาตนเองและประเทศของตน
การตัดสินใจมาศึกษาที่ประเทศไทย ส่วนใหญ่ตัดสินใจด้วยตนเอง และได้รับการเห็นชอบจากผู้ปกครองเลือกประเทศไทยเพราะชอบสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ในสถาบันที่มีอาจารย์สอนดีอุปกรณ์การเรียนการสอนเทคโนโลยี แหล่งค้นคว้าทันสมัย หลักสูตรได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติ และค่าใช้จ่ายไม่แพงมาก ใกล้บ้านสะดวกสบาย ข้อเสียคือเป็นประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ การเมืองไม่มั่นคงเกิดความขัดแย้งในประเทศบ่อยทำให้รู้สึกไม่ปลอดภัย
สำหรับการศึกษาในอนาคต อยากศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นในประเทศไทย สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลียและญี่ปุ่น โดยขอให้ไทยสนับสนุนทุนการศึกษา หรือมอบสิทธิพิเศษให้ความช่วยเหลือบ้างในการศึกษาต่อยกเว้นนักศึกษาลาวที่ไม่เลือกประเทศไทย
References
กนิษฐา นาวารัตน์. (2549). การพัฒนารูปแบบและกลยุทธ์การส่งเสริมความเป็นศูนย์กลางการศึกษานานาชาติของประเทศไทยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎี บัณฑิต สาขาวิชาอุดมศึกษาคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กาญจนา แก้วเทพ. (2548). ทฤษฎีวัฒนธรรมศึกษา ในปรัชญานิเทศศาสตร์และทฤษฎีการสื่อสาร หน่วยที่ 8-15. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2546). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : ธรรมสาร.
จักรพงษ์ คำบุญเรือง.(2552) วิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์แห่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำโขง. เอกสารประกอบคำสอน กลุ่มชาติพันธุ์ในอารยธรรมลุ่มน้ำโขง. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2540). วัฒนธรรมคือทุน. กรุงเทพฯ : บริษัทสุขุมและบุตร.
ณรงค์ เส็งประชา. (2539). พื้นฐานวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ : โอเดี่ยนสโตร์. สำนักพิมพ์มติชน.
ทิพย์มาศ ทองมณี. (2530). ปัจจัยการเลือกเรียนในวิทยาลัยนาฏศิลป์ สังกัดกรมศิลปากร. (ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (จิตวิทยาแนะแนว) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
พีระ จิระโสภณ. (2538). หลักและทฤษฎีการสื่อสาร. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์. (2546). ทุนวัฒนธรรม วัฒนธรรมในระบบทุนนิยมโลก เล่ม 1. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Assael, Hensy. (1998). Consumer Behavior and Marketing Action. (6th ed.). Cincinnati, OH South-Western College.
Gray, Kim & Llanes.(2003). “Branding university in Asian markets.”The Journal of Product and Brand Management, Vol.12, Iss2/3; pg.108 ,13 pgs.
Grein, A. F., & Gould, S. J. (1996). “Globally integrated marketing communications.” Journal of Marketing Communication, 2(3), 141-158.
Gould, S. J., Grein, A. F., & Lerman, D. B. (1999). “The Role of Agency-Client Integration in Integrated Marketing Communications : A Complementary Agency Theory- interorganizational Perspective.” Journal of Current Issues and Research in Advertising, 21(1), 1-12.
Hosie, P. & Mazzarol, T.(1999, June) “Using Technology for the Competitive Delivery of Education Services.” Journal of Computer Assisted Learning. 15, 2,Blackwell Publishing.
Keller, K. (2003). Strategic Brand Management: Building, Measuring, and Managing Brand Equity. (2 nd ed.). Upper Saddle River, N.J.: Pearson Education.
Kother, Philip; and Fox, Karen F. (1995). Strategic Marketing for Education Institutions. (2 nd ed.). NJ : Prentice-Hall.
Morris,L. (2003). Integrated Marketing: The Process and Challenge of Implementing This Evolving Concept at Three Private Universities. Dissertation in Higher Education Abstract, Texas Tech University.
Singh, Raveena. (2002). Study Guide: Marketing Communication. University of Canberra.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น