การทรุดตัวของแผ่นดินและการกัดเซาะชายฝั่งของอ่าวไทยตอนบนสาเหตุที่ถูกมองข้าม

ผู้แต่ง

  • สยาม อรุณศรีมรกต คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา นครปฐม

คำสำคัญ:

การทรุดตัวของแผ่นดิน, การกัดเซาะชายฝั่งทะเล, อ่าวไทยตอนบน

บทคัดย่อ

ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลกำลังทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะบริเวณอ่าวไทยตอนบนบริเวณจังหวัดกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ สมุทรสาครและสมุทรสงคราม สาเหตุของการกัดเซาะชายฝั่งในบริเวณดังกล่าวมีต้นเหตุหลักมาจากการใช้น้ำบาดาลหรือน้ำที่อยู่ใต้ดินทำให้อัตราการทรุดตัวในบริเวณดังกล่าวรุนแรงมาก ประกอบกับภาวะโลกร้อนและการใช้ทรัพยากรพื้นที่ป่าชายเลนอย่างไม่ชาญฉลาด แนวทางในการแก้ปัญหาคือ การใช้ประโยชน์ในบริเวณดังกล่าวควรปล่อยให้เป็นป่าชายเลนซึ่งเป็นไปได้ยาก ดังนั้นอีกวิธีคือผู้อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวจะต้องเลิกใช้น้ำบาดาลอย่างเด็ดขาดพร้อมกันนี้หน่วยราชการจะต้องส่งน้ำจืดจากทางด้านบนมาช่วย

References

รินี เรืองหนู(2545) พลิกฟื้น “บางขุนเทียน” แก้ปัญหากัดเซาะชายทะเล กรุงเทพฯ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply.php?user=fisheries&topic=381. (วันที่ค้นข้อมูล : 26 กุมภาพันธ์

เสรี ศุภราทิตย์. วิกฤตชายทะเลบางขุนเทียน ทะเลกรุงเทพ : ชายฝั่งกำลังหมดไป. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.thaidisaster.com/news/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99.pdf (วันที่ค้นข้อมูล : 19 มีนาคม 2552)

ASTV ผู้จัดการออนไลน์ (2551) ทำนายพื้นที่กทม.ถูกกัดเซาะหาย 300 เมตร ในอีก 12 ปีข้างหน้า. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จากhttp://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9510000089119 (วันที่ค้นข้อมูล:4 เมษายน 2552)

ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล (2551) ‘บ้านขุนสมุทรจีน’ รอด ‘โมเดล’ สกัดกัดเซาะชายฝั่งได้ผล. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จากhttp://www.thaienv.com/th/index.php?option=com_content&task=view&id=829&Itemid=27 (วันที่ค้นข้อมูล : 4 เมษายน 2552)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-18