เครื่องมือสำหรับการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
คำสำคัญ:
อุตสาหกรรม, การจัดการสิ่งแวดล้อมบทคัดย่อ
ปัจจุบันประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมหลายด้านและนับวันยิ่งทวีความรุนแรง อันเป็นผลสืบเนื่องจากมลพิษต่าง ๆ ไม่ว่าทางอากาศ น้ำ การกำจัดของเสีย ฯลฯ โดยเครื่องมือในการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีควรต้องผสมผสานวิธีการและทางเลือกหลายรูปแบบที่เหมาะสม ซึ่งการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ต้นเหตุมากกว่าแก้ปัญหาที่ปลายเหตุและต้องควบคู่ไปกับการพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม เพื่อปรับตัวไปสู่ทิศทางของการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน
เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพที่ได้นำมากล่าวในบทความนี้ ประกอบด้วยเครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ต้นเหตุ 6 ประเภท คือ เทคโนโลยี สะอาด, การประเมินวัฏจักรชีวิต, การออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ, ประสิทธิภาพเชิง นิเวศเศรษฐกิจ, รอยเท้าคาร์บอน และฉลากคาร์บอน โดยเครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อมที่กล่าวมานั้นนอกจากจะเป็นแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมและแก้ไข ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นแล้วยังเป็นกลยุทธ์เชิงรุกที่สำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตและแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศอีกทางหนึ่ง
References
กรมควบคุมมลพิษ (2552)ฐานความรู้การป้องกันมลพิษ สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2552, จาก http:pcd.go.th/p2/index.php
เดช เฉิดสุวรรณรักษ์. (2551). ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2552, จาก http://tccnature.wordpress.com
ธเรศ ศรีสถิต (2549) เทคโนโลยีสะอาดและการนำไปใช้เพื่อลดต้นทุนการผลิต. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิชาการ. คอม (2552) คาร์บอนฟุตพริ้นท์ สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2552, จาก http://www.vcharkarn.com/vblog/49041
วิสาขา ภู่จินดา. (2549). เทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ.
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (2552). การประกวดออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงนิเวศเศรษฐกิจแห่งประเทศไทย สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2552, จาก http:www.mtec.0r.th/ecodesign 2009
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (2552) ฉลากคาร์บอน สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2552, จาก http://tech.mthai.com/view_2_carbon_Label_62_28931_1
อรพรรณ บุญพร้อม (2551).การประเมินผลกระทบวัฎจักรชีวิตในระบบการจัดการหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่ใช้แล้ว.คณะวิศวกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น