การพัฒนาอาคารชุดพักอาศัยเขตศูนย์กลางธุรกิจกรุงเทพมหานครกับการดำเนินการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

ผู้แต่ง

  • อรุณ ศิริจานุสรณ์ ภาควิชาการบริหารทรัพย์สิน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม, อาคารชุดพักอาศัย, เขตศูนย์กลางพัฒนาธุรกิจ

บทคัดย่อ

สิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศ รัฐจึงกำหนดมาตรการทางกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยอาศัยการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 ที่กำหนดให้โครงการพัฒนาต้องจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมถึงโครงการอาคารอยู่อาศัย รวมตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ที่มีจำนวนห้องพักตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป ซึ่งปัจจุบันได้มีการพัฒนาประเภทโครงการอยู่อาศัยรวมในเขตศูนย์กลางธุรกิจ CBD) มากขึ้น และมีความเข้าใจว่าการพิจารณารายงานฯ มีความล่าช้า

จากการศึกษา พบว่า สาเหตุของความล่าช้าในการขออนุญาติส่วนใหญ่มาจากมีการแก้ไขเพิ่มเติมในรายงานฯ หลายครั้ง ในหัวข้อได้แก่ การจราจร การป้องกันอัคคีภัย สภาพเศรษฐกิจและสังคม การจัดพื้นที่สีเขียว การใช้ประโยชน์ที่ดิน การจัดการขยะมูลฝอย สุนทรียภาพ การระบายน้ำ การบำบัดน้ำเสีย ฯลฯ ทั้งนี้ รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดโครงการที่ต้องศึกษา

ทั้งนี้ในการศึกษายังพบว่า ความล่าช้าที่เกิดขึ้น มีสาเหตุมาจากการแก้ไขเพิ่มเติมรายงานฯ หลายครั้ง ซึ่งสอดคล้องกับผลงานวิจัยอื่นๆ นอกจากนี้ พบว่าในโครงการที่กระบวนการพิจารณารายงานฯ ล่าช้าและใช้ระยะเวลามาก ส่วนใหญ่เป็นอาคารสูงเกิน 23 เมตร และตั้งอยู่ในเขตเมือง ซึ่งมีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมรุนแรงมากกว่าอาคารประเภทอื่นที่ตั้งอยู่ในสิ่งแวดล้อมเดียวกัน

References

กนกพร สว่างแจ้ง, การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมขั้นพื้นฐาน. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2538.

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, คู่มือกฎหมายสิ่งแวดล้อมสำหรับประชาชนรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: ฝ่ายพัฒนาและผลิตสื่อ, 2543.

จำลอง ทองดี, การบริหารจัดการโครงการธุรกิจโรงแรม ประเภทรีสอร์ท. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์รวมสาสน์, 2545.

บัณฑิต จุลาสัย, การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางด้านสุนทรียภาพ. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548.

มาลินี ศรีสุวรรณ, การออกแบบอาคารสาธารณะประเภทต่างๆ. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2548.

อนุพันธ์ ก่อพันธ์พานิช, ความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานโรงแรม. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2548.

สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม, กองวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม. แนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการที่พักอาศัย บริการชุมชน และสถานที่ตากอากาศ. กรุงเทพฯ: กลุ่มโครงการ การบริการชุมชนและที่พักอาศัย, 2549.

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, กฎกระทรวง ประกาศกรรมการสิ่งแวดล้อมออกตามความใน พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2547. กรุงเทพฯ: ฝ่ายพัฒนาและผลิตสื่อ, 2549.

สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม, กองวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม. ระบบการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กลุ่มโครงการ การบริการชุมชนและที่พักอาศัย, 2550.

Zeiher, L. The Ecology of Architecture; A Complete Guild to Creating the Environmentally Conscious Building. New York: Watson-Guptill, 1997.

Weston, Joe. Architecture Planning and Environment Impact Assessment in Patrice. England: Addison Wesley Longman, 1998

Thackara, J., eds. Ernst Neufert Architect’ Data. 2nd ed. Great Britain: BSP Professional Books, 2002.

EIA Network URL. Environmental Impact assessment: Available from WWW.Environment.go.au: n.d. :EIA Network URL.: Distributer, N.d, 2004.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-19