ปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะความเป็นมืออาชีพของนักวิชาชีพบัญชีไทยในบริบทของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและผู้สอบภาษีอากร
คำสำคัญ:
นักวิชาชีพบัญชี, ทักษะความเป็นมืออาชีพ, ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต, ผู้สอบบัญชีภาษีอากรบทคัดย่อ
นักวิชาชีพบัญชีมีบทบาทสำคัญต่อภาคธุรกิจในฐานะผู้จัดทำบัญชี ผู้ตรวจสอบและรับรองงบการเงินให้กับภาคธุรกิจ พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 มีการกำหนดหน้าที่คุณสมบัติและประเภทของนักวิชาชีพบัญชีในแต่ละสายงาน และเนื่องจากเป็นวิชาชีพที่มีผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจจึงมีหน่วยงานกำกับดูแลนักวิชาชีพบัญชีในหลายด้านอาทิเช่น สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์และกรมสรรพากร เป็นต้น ซึ่งหน่วยงานกำกับดูแลเหล่านี้ดำเนินการกำหนดคุณวุฒิ คุณสมบัติ และเกณฑ์การทดสอบความรู้ความสามารถเพื่อให้สอดคล้องกับสภาวิชาการบัญชีระหว่างประเทศ (International Federation of Accounting Commission : IFAC) และตามมาตรฐานสากลที่กำหนดไว้ในมาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศสำหรับนักวิชาชีพบัญชี (International Accounting Education Standard for Professional Accountants: IES) ซึ่งมีการกำหนดทักษะความเป็นมืออาชีพ (Professional Skills)ทั้ง 5 ด้านของนักวิชาชีพบัญชีไว้ งานวิจัยมีขอบเขตการศึกษาวิจัยของผู้ประกอบวิชาชีพ 2 ด้านได้แก่ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตผู้มีหน้าที่ในการตรวจสอบและรับรองงบการเงินให้กับบริษัทจำกัดและบริษัทจดทะเบียนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศในการใช้สารสนเทศทางด้านการเงินเพื่อใช้ในการตัดสินใจซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและตลาดทุน และผู้สอบบัญชีภาษีอากรเป็นผู้มีหน้าที่ตรวจสอบและรับรองการเสียภาษีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะความเป็นมืออาชีพของนักวิชาชีพบัญชีในประเทศไทยในบริบทของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและ ผู้สอบบัญชีภาษีอากรทำการสำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 800 คนจากประชากรของนักวิชาชีพดังกล่าวในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยใช้แบบสอบถามระดับความคิดเห็น 5 ระดับ Likert Scale และคำถามปลายเปิด ผลจากการศึกษาวิจัยพบว่าผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและผู้สอบบัญชีภาษีอากรมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญใน 4 ปัจจัยได้แก่ ปัจจัยความรู้ด้านภาษีอากร ปัจจัยด้านความหลากหลายในธุรกิจที่มีประสบการณ์ในการตรวจสอบ ปัจจัยด้านความรู้จากการเข้าอบรมพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่อง และปัจจัยด้านการเข้าร่วมกิจกรรมกับหน่วยงานวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง และจากการทดสอบสมมติฐานความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นมืออาชีพกับทักษะความเป็นมืออาชีพโดยใช้การวิเคราะห์ความถดถอยแบบเส้นตรง พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับทักษะความเป็นมืออาชีพของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและผู้สอบบัญชีภาษีอากรประกอบด้วย 1)ปัจจัยความรู้ทางด้านภาษีอากร 2)ปัจจัยความรู้ด้านการตรวจสอบ 3)ปัจจัยความ หลากหลายของธุรกิจที่ตรวจสอบ 4) ปัจจัยจำนวนธุรกิจที่ทำการตรวจสอบ 5) ปัจจัยระยะเวลาที่ทำงานด้านตรวจสอบบัญชี 6) ปัจจัยการเข้าอบรมพัฒนาความรู้ต่อเนื่อง และ7) ปัจจัยการศึกษาด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง และผลวิจัยจากข้อเสนอแนะและความคิดเห็นพบว่ามีความต้องการที่จะให้มีการกำหนดประสบการณ์การทำงานเป็นคุณสมบัติของผู้สอบบัญชีภาษีอากร และต้องการให้หน่วยงานกำกับดูแลกำหนดมาตรฐานต่างๆที่เกี่ยวข้องและมีบทบาทในการพัฒนานักวิชาชีพให้มากขึ้น นอกจากนี้ข้อเสนอแนะที่ได้จากแบบสอบถามที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะความเป็นมืออาชีพได้แก่ การสร้างความร่วมมือระหว่างผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและผู้สอบบัญชีภาษีอากร มีการเสนอให้เพิ่มหลักเกณฑ์ในการเข้ารับรองเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรโดยเฉพาะประสบการณ์หรือระยะเวลาในการทำงานในวิชาชีพเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นในงานให้ทัดเทียมผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เสริมความรู้ทางด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้การปฏิบัติงานตรวจสอบ เน้นหลักสูตรการอบรมในรูปแบบของ workshop การอบรมในรูปแบบของ e-learning และยังมีข้อเสนอแนะให้มีการจัดตั้งมาตรฐานในการรับงานโดยเฉพาะในเรื่องของค่าตอบแทนผู้สอบบัญชีภาษีอากรการ นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอแนะให้สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์เป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารให้แก่สมาชิกโดย ไม่คิดมูลค่า ผลงานวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เพื่อเป็นประโยชน์แก่การพัฒนา นักวิชาชีพบัญชีอื่นๆ นอกเหนือจากวิชาชีพผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและผู้ตรวจสอบบัญชีภาษีอากร และงานวิจัยในอนาคตจะได้มีการศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับนักวิชาชีพบัญชีในสายงานอื่นๆ เพื่อแสดงภาพรวมของทักษะความเป็นมืออาชีพในวิชาชีพบัญชีในประเทศไทย
References
กระทรวงพาณิชย์. กฎกระทรวงว่าด้วยการยกเว้นไม่ต้องจัดให้งบการเงินได้รับรองการ ตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต พ.ศ.2544
พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547
พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2543
นลินรัตน์ เด่นดอนทราย (2547), ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมที่ทำให้ คุณภาพงานสอบบัญชีลดลง : มุมมองของผู้ช่วยผู้สอบบัญชีและผู้จัดการ งานสอบบัญชี, วิทยานิพนธ์ (บช.ม) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประกาศกรมสรรพากร. เรื่อง การพัฒนาผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร.มิถุนายน 2551
ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า, เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาในการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้ทำบัญชี พ.ศ.2547
สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. IFAC : International Federation of Accountants . International Education Standards (IES). 2004
อมลยา โกไศยกานนท์ (2547), ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพของงานสอบบัญชี : กรณีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, วิทยานิพนธ์ (บช.ม) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Aaker, A., Kumar, V. and Say, S. (2001), Marketing research, John Wiley and Son, New York.
Lee, F., Lee, C. and Lee, A (2000), Statistics for Business and Financial Economics, 2nd Ed., World Scientific, Singapore.
Nunnually, C. (1978), Psychometric theory, McGraw-Hill, New York
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น