การจัดการป้องกันและลดสารให้กลิ่นโคลน Geosmin ในผลิตภัณฑ์แปรรูปสัตว์น้ำ
คำสำคัญ:
จีออสมิน, กลิ่นโคลน, สัตว์น้ำ, ผลิตภัณฑ์แปรรูปสัตว์น้ำ, สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินบทคัดย่อ
กลิ่นโคลนในผลิตภัณฑ์แปรรูปสัตว์น้ำเป็นกลิ่นรสที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งมีผลกระทบต่อการนำสัตว์น้ำมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์ เนื่องจากทำให้เกิดการไม่ยอมรับของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์แปรรูปสัตว์น้ำของไทยที่พบปัญหา ได้แก่ ปลาสวาย ปลานิล ปลากะพงขาว กุ้งก้ามกราม และปลาสวายโมงที่เลี้ยงในน้ำจืด ส่วนกุ้งกุลาดำและกุ้งขาวแวนนาไมที่เลี้ยงในน้ำที่มีความเค็มต่ำ สารประกอบที่ให้กลิ่นโคลนมีหลายชนิด แต่ที่ทราบชนิดและลักษณะของกลิ่นที่เกิดขึ้นแน่นอนนั้นคือ Geosmin จึงก่อให้เกิดกลิ่นโคลนสังเคราะห์ขึ้นโดยสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินเช่น สกุล Oscillatoria sp., Mycrocystis sp., Anabaena sp., Lyngbya sp., Aphanizomenon sp., Symploca sp., Phromidium sp. และแบคทีเรีย สกุล Streptomyces sp. ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเพิ่มจำนวนของแบคทีเรียและสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินที่เป็นสาเหตุให้เกิดกลิ่นโคลนในสัตว์น้ำนั้น ได้แก่ ปริมาณธาตุไนโตรเจนและฟอสฟอรัส ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำชนิดและปริมาณของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ความเค็มของน้ำ อุณหภูมิของน้ำ และความเข้มแสง การดูดซึมและการสะสมสารประกอบ Geosmin ในสัตว์น้ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วโดยสาร Geosmin เข้าไปจับกับไขมันในกระแสเลือดแล้วแพร่กระจายตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย การจัดการป้องกันและลดกลิ่นโคลน มี 3 วิธีการ ดังนี้ คือ 1. การป้องกันกลิ่นโคลนที่เกิดขึ้นในระหว่างการเพาะเลี้ยง โดยการควบคุมปริมาณอาหารให้เหมาะสมและให้อาหารที่ดีมีของเสียเหลือน้อยที่สุด และควบคุมปริมาณออกซิเจนให้เพียงพอ 2. การลดกลิ่นโคลนในสัตว์น้ำที่มีชีวิตในบ่อพัก โดยกักปลาไว้ในบ่อจนกว่ากลิ่นรสจะดีขึ้นหรือย้ายปลามาพักในบ่อน้ำที่สะอาดหลังจับปลามาในสภาพยังมีชีวิต 3. การลดกลิ่นโคลนในผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำระหว่างกระบวนการแปรรูปที่ผ่านการแช่เย็นและแช่แข็ง มีงานวิจัยมากมายที่มีการนำสารละลายซึ่งสามารถลด Geosmin ได้แตกต่างกันไปตามสมบัติทางหน้าที่ได้แก่ สารละลายโอโซน กรดอะซิติก แคลเซียมไฮดรอกไซด์ โซเดียมคลอไรด์ เถ้าใบกล้วย เป็นต้น นอกจากนี้ ควรใช้วิธีอื่นๆ ในกระบวนการแปรรูปร่วมด้วยเช่น การรวมควัน การแช่ในน้ำมันพืช การแช่น้ำมาริเนด การใช้ไอน้ำทำให้สุกแบบกึ่งสุกก่อนบรรจุกระป๋อง เป็นต้น
References
ณัฐพล ฟ้าภิญโญ. 2550. คุณภาพและการยืดอายุการเก็บรักษาปูนิ่ม (Scylla serrata) โดยใช้โอโซน กรดแอซีติก กรดแล็กติก กรดแอสคอร์บิก และการเก็บรักษาภายใต้สภาะปรับบรรยากาศ. บัณฑิตวิทยาลัย วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก สาขาวิชาผลิตภัณฑ์ ประมง ภาควิชาผลิตภัณฑ์ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : กรุงเทพฯ, 137 หน้า.
ทวีทรัพย์ ศรีนาค. 2542. การกำจัดกลิ่นโคลนในปลานิล. วารสารอะควาฟาร์มิ่ง. 5 : 30 - 36.
วรพงษ์ นลินานนท์. 2545. การกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ในเนื้อปลานิล. บัณฑิตวิทยาลัย วิทยานิพนธ์ปริญญาโท สาขาวิชาผลิตภัณฑ์ประมง ภาควิชาผลิตภัณฑ์ประมง คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : กรุงเทพฯ, 78 หน้า.
วรพงษ์ นลินานนท์, มยุรี จัยวัฒน์, นงนุช รักสกุลไทย และจิราวรรณ แย้มประยูร. (ม.ป.ป.). การกำจัดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ในเนื้อปลานิล. เอกสารอัดสำเนา สืบค้นใน www. Google.com, 7 หน้า.
นฤมล อัศวเกศมณี. 2550. การกำจัดกลิ่นโคลนในเนื้อปลาดุกบิ๊กอุย โดยใช้สารละลายเถ้าจากใบกล้ายนางพญา (Musa sp.)ที่ระดับความเข้มข้นแตกต่างกัน. 3(5) : หน้า 15 - 26.
สมชาย หวังวิบูลย์กิจ. 2551. ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน Oscillatoria sp. และ Microcystis sp. และความสัมพันธ์ของปริมาณสาหร่ายต่อกลิ่นโคลนในกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei) ในบ่อเลี้ยง. บัณฑิต วิทยาลัย วิทยานิพนธ์ปริญญาเอกสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การประมง ภาควิชาชีววิทยา ประมง คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 110 หน้า.
Arganosa, G. C., and Jr. G. J. Flick. 1992. Off - Flavors in Fish and Shellfish, Off - Flavors in Foods and Beverages, 103 - 126.
Dew, T. L. 2005. Ozone Degradation of Off – Flavors in Catfish. A Thesis Submitted to the Graduate Faculty of The Louisiana State University and Agricultural and Mechanical College. In The Department of Food Science, 69 p.
Saadoun, I. M. K., K. S. Schrader, and W. T. Blevins. 2001. Environmental and Nutritional Factors Affecting Geosmin Synthesis by Anabaena sp. Water Research. 35(5) : 12 09 - 1218 pp.
Tameka LaShon Dew. 2005. Ozone Degradation of Off - Flavors in Catfish. A Thesis M.S. in the Department of Food Science. 69 p.
Yamprayoon, J., and A. Noomhorm. 2000. Geosmin and Off - Flavor in Nile Tilapia (Oreochromis niloticus). J. of Aquatic Product Tech. 9 (2) : 29 - 41. www.electron.rmutphysics.com/science-news/ind... สืบค้นใน www.google.com.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น