ความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ : บทสังเคราะห์คำนิยาม

ผู้แต่ง

  • บุญอยู่ ขอพรประเสริฐ

บทคัดย่อ

ประเด็นเรื่องความโปร่งใส (Transparency) เป็นสิ่งสําคัญยิ่งประการหนึ่งที่ รัฐบาลพยายามผลักดันให้เกิดขึ้นในหน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยงานทั่วประเทศ เพราะความ โปร่งใสเป็นสิ่งหนึ่งที่แสดงถึงการปฏิบัติงานของภาครัฐที่เปิดเผย ตรงไปตรงมา และเป็น เครื่องมืออย่างหนึ่งที่สังคมจะป้องกัน และรู้ถึงปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวงได้อย่างสะดวก อย่างไรก็ตาม นิยามของ "ความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ” แท้จริงแล้วมีความ หมายอย่างไรกันแน่ ก็ยังเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกันอยู่ทั้งในทางวิชาการและในทาง ปฏิบัติการ ทั้งนี้ นิยามของคําว่า "ความโปร่งใส" นั้น กล่าวได้ว่าไม่มีนิยามที่ตายตัว หาก แต่การให้คํานิยามของ "ความโปร่งใส" ขึ้นอยู่กับความเข้าใจหากแต่การให้คํานิยามของ "ความโปร่งใส" ขึ้นอยู่กับความเข้าใจของหน่วยงานที่นําไปใช้ รวมทั้งบริบทของสังคม วัฒนธรรม ซึ่งรวมไปถึงค่านิยม และวิถีชีวิต ดังนั้น ในงานวิจัยเรื่องการประเมินผลเบื้องต้นมาตรฐานความโปร่งใสหน่วยงาน ภาครัฐในกรุงเทพมหานคร ภายใต้โครงการกําหนดมาตรฐานความโปร่งใสและเกณฑ์การ ประเมินของหน่วยงานภาครัฐ” จึงได้ทําการสังเคราะห์คํานิยามของความโปร่งใสของหน่วย งานภาครัฐ จากข้อมูลที่ได้จาก 3 ภาคส่วนด้วยกัน ได้แก่ 1) การสัมภาษณ์เชิงลึก (Indepth Interview) ผู้บริหารงานระดับสูงในหน่วยงานภาครัฐรวม 30 หน่วยงาน 2) การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ผู้นําชุมชนในกรุงเทพมหานครจํานวน 56 ราย จาก 3 เขตคือ เขตดินแดง เขตวัฒนา และเขตลาดกระบัง และ 3) การสํารวจ ความคิดเห็นข้าราชการหรือพนักงานของรัฐจํานวน 496 ราย จาก 62 กรม

References

เจริญ เจษฎาวัลย์, การตรวจสอบภาครัฐ, กรุงเทพฯ: พอดี, 2546.

ถวิลวดี บุรีกุล และคณะ. วัดระดับการบริหารจัดการที่ดี, นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า, 2547.

ถวิลวดี บุรีกุล และวันชัย วัฒนศัพท์, 2545. การศึกษาเพื่อพัฒนาดัชนีวัดผลการพัฒนาระบบบริหารจัดการที่ดี, กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, 2545.

ทิพาวดี เมฆสวรรค์ และคณะ, พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545พร้อมคําอธิบายรายมาตรา และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร : บริษัท พี.เอ.ลีฟวิ่ง จํากัด.

ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์, การป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่นในหน่วยงานระดับกรมหรือเทียบเท่าด้วยเทคนิคการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และการใช้ดัชนีชี้วัดความเสี่ยงต่อการทุจริตคอร์รัปชั่น รายงานการวิจัยสาขาวิชารัฐศาสตร์

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. กรุงเทพฯ. 2549.

เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ. พจนานุกรมอังกฤษ-ไทย (ฉบับใหม่), พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:รวมสาส์น, 2537.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. การสร้างธรรมาภิบาล (Good Governance) ในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา, 2542.

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, 2546.

พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว และคณะ, ดัชนีคอร์รัปชั่นของไทย: การสร้างและการตรวจสอบความเชื่อถือได้รายงานการวิจัยสํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติผิดมิชอบแห่งชาติ, กรุงเทพฯ, 2543.

พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว, รายงานฉบับสมบูรณ์เรื่ององค์ความรู้ว่าด้วยการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ. เสนอต่อสํานักงาน ป.ป.ป.2539

พีเอแอสโซซิเอสคอลซันติ้ง, แนวทางการจัดทําตัวชี้วัดผลการดําเนินงานขององค์การมหาชน. กรุงเทพฯ : สํานักงาน ก.พ. 2545.

วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์. การป้องกันการทุจริตยุคใหม่, บทอภิปรายในการสัมมนาคณะกรรมการ ป.ป.ช. และผู้บริหารระดับสูงของสํานักงาน ป.ป.ช. ณ โรงแรมมณเฑียร พัทยา จังหวัดชลบุรี วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2545.

สถาบันพระปกเกล้า วัดระดับการบริหารจัดการที่ดี. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า, 2547.

โสภารัตน์ จารุสมบัติ และคณะ, โครงการวิจัยเพื่อบูรณาการ โครงการศึกษาวิจัยการทุจริตและประพฤติมิชอบในหน่วยงานราชการไทย. รายงานการวิจัย สถาบันวิจัยและให้คําปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU-RAC), 2548.

องค์กรเพื่อความโปร่งใสในประเทศไทย, Transparency Thailand Newsletter. June 2001.

อัมมาร สยามวาลา, ศัพท์แสงว่าด้วยคอร์รัปชัน, เอกสารเผยแพร่ในการประชุมติดตามนโยบายรัฐบาล"4 ปี ประเทศไทย" และเนื่องในวันต่อต้านคอร์รัปชันแห่งสหประชาชาติ, 9 ธ.ค. 2547. โรงแรมวินเซอร์สวีท กรุงเทพมหานคร, 2547.

Bellver, A. and Kaufman, D. 2005. Transparenting Transparency [On-line].• Available: http://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=808664

Schacter, M. When Accountability Fails: A Framework for Diagnosis and Action. Policy Brief No. 9, May 2000.

Institute on Governance. Ackerman, J. M. 2005. "Social Accountability for the Public Sector: A Conceptual Discussion". A Paper Presented in the Workshop on "Social Accountability" .Bangkok,

Thailand. March 2005.

Islam, R. Do more transparent Governments govern better?, Policy Research Working Paper 3007, World Bank. 2003.

Kaufmann, D., and Kraay, A. Growth without Governance. Policy Research Working Paper 2928, World Bank. 2002.

Mendel, T. Freedom of Information: A Comparative Legal Survey. UNESCO, 2004.

OECD. Public Sector Transparency and International Investment Policy. Committee on International Investment and Multinational Enterprises at its meeting on 9-11 April 2003.

Schedler, A. Restraining the State: Conflicts and Agents of Accountability. In Schedler, A. Diamond, L. and Plattner, M. F. (eds.). The Self-Restraining State: Power and Accountability in New

Democracies. 1999.

Sen, A. Development as Freedom. New York. Alfred A. Knopf. 1999.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-19