ภาษาสร้างสรรค์ : การใช้ภาพพจน์ในนวนิยายของโสภาค สุวรรณ

ผู้แต่ง

  • กรกช อัญชลีนุกูล

คำสำคัญ:

ภาพพจน์ในนวนิยาย, ตัวละครในนวนิยาย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องภาษาสร้างสรรค์ การใช้ภาพพจน์ในนวนิยายของโสภาค สุวรรณ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ เพื่อศึกษาการใช้ภาพพจน์ประเภทต่างๆในนวนิยายของโสภา คสุวรรณ เพื่อศึกษาภาพสะท้อนพฤติกรรมด้านต่างๆ ของตัวละคร จากการสร้างสรรค์ภาพ พจน์ในนวนิยายของโสภาค สุวรรณและเพื่อศึกษาศิลปะการใช้ภาษาในการสร้างภาพ พจน์ของโสภาค สุวรรณ ซึ่งเป็นนักเขียนร่วมสมัย ผลการวิจัยพบว่าโสภาค สุวรรณนิยมสร้างสรรค์ภาพพจน์ให้ผู้อ่านเกิดภาพในใจ 4 ประเภทได้แก่ อุปมา อุปลักษณ์ บุคลาธิษฐาน และอติพจน์ด้วยกลวิธีทางตรงและกลวิธีทาง อ้อม องค์ประกอบหลักของการสร้างภาพพจน์ประเภทอุปมา อุปลักษณ์ ได้แก่การใช้สิ่งที่ ต้องการให้เกิดภาพ สิ่งที่ทําให้เกิดภาพ และคําบ่งชี้ภาพพจน์ คําบ่งชี้ประเภทอุปมา ได้แก่ เหมือน ดุจ ราว ปาน คําบ่งชี้ภาพพจน์ประเภทอุปลักษณ์ปรากฏแต่คําว่า เป็น เท่านั้น คําบ่ง ชี้ภาพพจน์ประเภทบุคลาธิษฐานคือคํากริยาแสดงอาการของมนุษย์แต่ใช้กับสัตว์ สิ่งของส่วน คําบ่งชี้ภาพพจน์ประเภทอติพจน์อยู่ที่การใช้เนื้อความเน้นพิเศษทั้งด้านปริมาณและความรู้สึก และผู้วิจัยยังพบว่าลักษณะเด่นของศิลปะการใช้ภาษาในการสร้างสรรค์ภาพพจน์ให้ผู้อ่านเกิด ภาพนั้นเกิดจากการใช้อรรถลักษณ์ ด้านสี ด้านแสง ด้านเสียง ด้านลักษณะ ด้านอาการ ที่ สอดประสานสัมพันธ์กันเป็นอย่างดีระหว่าง ด้านสี ด้านแสง ด้านเสียง ด้านลักษณะ ด้าน อาการ ของสิ่งที่ต้องการให้เกิดภาพกับสิ่งที่ทําให้เกิดภาพ นอกจากนี้โสภาค สุวรรณยังนิยม ใช้ภาพพจน์แต่ละประเภทสะท้อนพฤติกรรมด้านต่างๆของคนในสังคม เช่น พฤติกรรมชื่น ชมความงาม พฤติกรรมแสดงอารมณ์ พฤติกรรมการใช้คําพูด พฤติกรรมแสดงลักษณะนิสัย

References

กาญจนา นาคสกุล และคณะ. การใช้ภาษา. กรุงเทพฯ : เคล็ดไทย, 2524
กุหลาบ มัลลิกะมาส. วรรณคดีวิจารณ์, กรุงเทพฯ :เคล็ดไทย, 2522.
ชัยพร วิชชาวุธ. รายงานผลการวิจัย "เรื่อง พฤติกรรมจริยธรรมในสังคมไทยปัจจุบัน : ศึกษาตามแนวทางจิตวิทยาสังคม." โครงการเผยแพร่ผลงานวิจัย ฝ่ายวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531.
ดวงมน จิตรจํานง สุนทรียภาพในภาษาไทย. กรุงเทพฯ : ศยาม, 2524
นราธิปพงศ์ประพันธ์ กรมหมื่น วิทยาวรรณกรรม. พระนคร : แพร่พิทยา, 2514
เปลื้อง ณ นคร. เรียงความชั้นสูง พระนคร : ไทยวัฒนาพานิช, 2514
วิทย์ ศิวะศริยานนท์. วรรณคดีและวรรณคดีวิจารณ์ พิมพ์ครั้งที่ 4 พระนคร : สมาคมภาษา และหนังสือ, 2514.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊ค,2546.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับวรรณกรรม : ภาพพจน์ โวหารและกลการประพันธ์, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2539.
ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา, สํานวนไทยที่มาจากวรรณคดี, กรุงเทพฯ : คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542.
สมพร มันตะสูตร. การเขียนเชิงสร้างสรรค์, กรุงเทพฯ : บารมีการพิมพ์, 2525
สิทธา พินิจภูวดล และคณะ, การเขียนและการพูด. กรุงเทพฯ: แพร่พิทยา, 2514
สุจิตรา กลิ่นเกสร. วารสารราชบัณฑิต. 2 ฉ. 1, 2519.
โสภาค สุวรรณ. เกนรี-มายรี, กรุงเทพฯ : บํารุงสาส์น, 2524
โสภาค สุวรรณ. โกบี. กรุงเทพฯ : คลังวิทยา, 2544
โสภาค สุวรรณ. คามาเอน่า, กรุงเทพฯ : คลังวิทยา, 2542.
โสภาค สุวรรณ. ความลับบนแหลมไซใน. กรุงเทพฯ : ศิลปาบรรณาคาร, 2523.
โสภาค สุวรรณ. จินตปาตี, กรุงเทพฯ : รวมสาส์น, 2519.
โสภาค สุวรรณ. เจ้าทะเลทราย. กรุงเทพฯ : คลังวิทยา, 2543.
โสภาค สุวรรณ. ชิงช้าชาลี, กรุงเทพฯ : ศิลปาบรรณาคาร, 2531.
โสภาค สุวรรณ. ตะวันลับฟ้า. กรุงเทพฯ : ศิลปาบรรณาคาร, 2539.
โสภาค สุวรรณ. บุลลา, กรุงเทพฯ : ณ บ้านวรรณกรรม, 2527.
โสภาค สุวรรณ. บุหงารําไป. กรุงเทพฯ : ศิลปาบรรณาคาร, 2537.
โสภาค สุวรรณ. ปมพิศวาส, กรุงเทพฯ : ศิลปาบรรณาคาร, 2526.
โสภาค สุวรรณ. พระรถ-เมรี. กรุงเทพฯ : คลังวิทยา, 2522.
โสภาค สุวรรณ. พรานทะเล, กรุงเทพฯ : รวมสาส์น, 2519.
โสภาค สุวรรณ. ฟ้าจรดทราย. กรุงเทพฯ : รวมสาส์น, 2520.
โสภาค สุวรรณ. ฟ้าสางที่ดัคการ์, กรุงเทพฯ : ศิลปาบรรณาคาร, 2527.
โสภาค สุวรรณ. ยังมีรักที่อฮัคการ์, กรุงเทพฯ : รวมสาส์น, 2526
โสภาค สุวรรณ. รักในสายหมอก. กรุงเทพฯ : รวมสาส์น, 2520.
โสภาค สุวรรณ. ลมหวน. กรุงเทพฯ : รวมสาส์น, 2521.
โสภาค สุวรรณ. สิริยา, กรุงเทพฯ : บํารุงสาส์น, 2520.
โสภาค สุวรรณ. สเปโต. กรุงเทพฯ : คลังวิทยา, 2526.
โสภาค สุวรรณ. เสี้ยนดอกงิ้ว, กรุงเทพฯ : ศิลปาบรรณาคาร, 2525.
โสภาค สุวรรณ. ศิขริน-เทวินตา, กรุงเทพฯ : คลังวิทยา, 2522.
โสภาค สุวรรณ. หนังหน้าไฟ. กรุงเทพฯ : บํารุงสาส์น, 2525.
โสภาค สุวรรณ.อัสตา มายานา, กรุงเทพฯ : ศิลปาบรรณาคาร, 2546.
อมรา ประสิทธิรัฐสินธุ์, ภาษาในสังคมไทย : ความหลากหลาย การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
George LAKOFF and Mark JOHNSON. Metaphors: We Live By. The University of Chicago Press Chicago and London, 1980.
Holman, C. Hugh, William,Harman. A Handbook to Literature. Sixth edition. New York : Macmillan,1992.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-19