ทัศนคติต่อการเป็นหนี้ของข้าราชการครู
คำสำคัญ:
ทัศนคติ, การเป็นหนี้, ครู, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อการเป็นหนี้กับการเป็นหนี้ของข้าราชการครูโดยใช้วิธีการสำรวจด้วยตัวอย่างจากข้าราชการครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวง ศึกษาธิการ จำนวน 224 คน
ผลการศึกษา พบว่าข้าราชการครูส่วนใหญ่มีทัศนคติไม่ดีต่อการเป็นหนี้ และตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อการเป็นหนี้ของข้าราชการครูอย่างมีนัยสำคัญที่ ระดับสูงมาก (ค่าพีเท่ากับ0.000) คือการเป็นหนี้และอายุที่เริ่มกู้ครั้งแรก เมื่อเปรียบเทียบระหว่างข้าราชการครูที่มีทัศนคติดีและไม่ดีต่อการเป็นหนี้ พบว่าข้าราชการครูที่มีทัศนคติดีต่อการเป็นหนี้ มีมากถึงร้อยละ 90.48 ที่เป็นหนี้ มีร้อยละ 82.67 ที่กู้ครั้งแรกเมื่ออายุไม่เกิน 30 ปี และกลุ่มที่มีทัศนคติดีต่อการเป็นหนี้ ยังมีจำนวนครั้งของการกู้และปริมาณหนี้โดยเฉลี่ยมากกว่าข้าราชการครูที่มีทัศนคติไม่ดีต่อการเป็นหนี้ นอกจากนี้ยังพบว่า ภูมิภาคที่ข้าราชการครูปฏิบัติงานและค่าใช้จ่ายรวมของครอบครัวของข้าราชการครูมีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อการเป็นหนี้ของข้าราชการครูอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
References
[2] ทิตยา สุวรรณะชฎ. 2527. สังคมวิทยา. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
[3] บุญชู ไตรรัตน์รังสี. 2539. ทัศนคติต่อการเป็นหนี้ ค่านิยมทางวัตถุ และการเป็นหนี้ของครูโรงเรียนเอกชน ในเขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์ ปริญญาพัฒนบริหารศาสตร์มหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
[4] มติชนรายวัน. 2546. (7 พฤศจิกายน). ตะลึงหนี้ครู 2.7 แสนล้าน 7แสน/คน - ประถมแชมป์. : 1.
[5] มณิภัทร์ ไทรเมฆ พาชิตชนัต ศิริพานิช และ สุวัลลีย์ เปี่ยมปิติ. 2551. การจัดสรรเงินเพื่อการใช้จ่ายของวัยรุ่นไทย. เอกสารการประชุมวิชาการ การบริหารและการจัดการ ครั้งที่ 4 วันที่ 16 - 17 ตุลาคม 2551 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กรุงเทพมหานคร. หน้า 27 (บทคัดย่อ) / CD (1 - 10).
[6] ราชบัณฑิตยสถาน. 2539. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525. กรุงเทพมหานคร : อักษรเจริญทัศน์.
[7] สำรวม จงเจริญ. 2546. การศึกษาวิจัยปัญหาหนี้สินข้าราชการครู 2544 . วารสารพัฒนบริหารศาสตร์. 43(1). หน้า 187 - 210.
[8] หลักเกณฑ์กู้ยืมเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ปัญหาหนี้สินครู ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 340/2552 http://www.moe.go.th/websm/2009/sep/340.html ค้นวันที่ 5 กันยายน 2552..
[9] เอกสารอิเล็กทรอนิกส์. กลุ่มบริการและเผยแพร่ข้อมูล สำนักงานสถิติแห่งชาติ
[10] Allport, G. W. 1967. Attitude Theory and Measurement. New York: John Wiley & Sons, Inc.
[11] Oppenheim, A. N. 1975. Questionnaire Design and Attitude Measurement. 2nd ed. New York: Basic books.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น