ผู้กระทำความผิดหลายคน: ศึกษากรณีผู้ใช้และผู้ถูกใช้ขาดคุณสมบัติเฉพาะตัวที่กฎหมายกำหนด

ผู้แต่ง

  • กรรภิรมย์ โกมลารชุน คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

ผู้กระทำความผิดหลายคน, ตัวการ, ผู้ใช้, ผู้สนับสนุน, คุณสมบัติเฉพาะตัวที่กฎหมายกำหนด

บทคัดย่อ

ในการกระทำความผิดอาญาครั้งหนึ่ง ๆ ที่มีผู้เข้าส่วนร่วมในการกระทำความผิดหลายคน แต่ละคนเข้ามีส่วนร่วมในการกระทำความผิดมากน้อยแตกต่างกัน โทษของแต่ละคนจึงแตกต่างกันไปด้วย หากเป็นตัวการตามมาตรา 83 ต้องระวางโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น  หรือเป็นผู้ใช้ตามมาตรา 84 ซึ่งกฎหมายกำหนดให้รับโทษเสมือนตัวการ  หรือเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดของผู้อื่นตามมาตรา 86 ซึ่งกฎหมายกำหนดให้รับโทษสองในสามของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดที่สนับสนุนนั้น

อย่างไรก็ตาม มีประเด็นปัญหาที่ควรศึกษาในฐานความผิดที่กฎหมายกำหนดคุณสมบัติเฉพาะตัวที่กฎหมายกำหนด เช่น มาตรา 161 ความผิดฐานเจ้าพนักงานปลอมเอกสาร หรือมาตรา 157 ความผิดฐานเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต บุคคลที่ไม่มีคุณสมบัติเฉพาะตัวดังกล่าวย่อมไม่อาจเป็นผู้กระทำความผิดหรือเข้ามีส่วนร่วมในการกระทำความผิดได้ บุคคลนั้นจึงมีความรับผิดเพียงในฐานะผู้สนับสนุนเท่านั้น ยกตัวอย่าง เช่น กรณีที่บุคคลธรรมดาใช้เจ้าพนักงานให้ไปปลอมเอกสาร เจ้าพนักงานย่อมมีความผิดตามมาตรา 161 ในฐานะผู้กระทำความผิด ส่วนคนธรรมดาจะเป็นผู้ใช้ในความผิดตามมาตรา 161 ไม่ได้ เพราะคนธรรมดาเป็นตัวการไม่ได้ คนธรรมดาจึงผิดได้แค่เป็นผู้สนับสนุนในความผิดฐานเจ้าพนักงานปลอมเอกสารตามมาตรา 161 ประกอบมาตรา 86 เท่านั้น (คำพิพากษาฎีกาที่ 2079/2536) ในทางกลับกัน เจ้าพนักงานใช้ให้คนธรรมดาปลอมเอกสาร คนธรรมดาไม่อาจมีความผิดตามมาตรา 161 ได้เพราะขาดคุณสมบัติเฉพาะตัวที่กฎหมายกำหนด จึงผิดได้แต่เพียงความผิดฐาน (คนธรรมดา) ปลอมเอกสารสิทธิ มาตรา 265 เจ้าพนักงานผู้ใช้จึงผิดเพียงแค่ใช้ให้คนธรรมดาปลอมเอกสารตามมาตรา 265 ประกอบมาตรา 84 เท่านั้น (คำพิพากษาฎีกาที่ 2907/2526)

References

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (2562). คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 เล่ม 2 (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: กรุงสยาม พับลิชชิ่ง.

คณิต ณ นคร. (2560). กฎหมายอาญา ภาคทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

จิตติ ติงศภัทิย์. (2555). กฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.

เฉลิมชัย ศิลาขาว. (2557). ความรับผิดทางอาญาของตัวการ: ศึกษาเฉพาะกรณีตัวการอยู่ร่วมในที่เกิดเหตุ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ. (2558). กฎหมายอาญา ภาคทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

สุรสิทธิ์ แสงวิโรจนพัฒน์. (2541). ผู้กระทำผิดและการร่วมกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญาเยอรมัน. ดุลพาห, 45(3), 193.

หยุด แสงอุทัย. (2505). บุคคลที่ไม่สามารถเป็นตัวการในทางอาญา. บทบัณฑิตย์, 20(4), 784.

หยุด แสงอุทัย. (2556). กฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เอกกมล บำรุงพงศ์. (2553). ความรับผิดในทางอาญาของตัวการและผู้ใช้: ศึกษาเฉพาะความผิดที่กฎหมายกำหนดคุณสมบัติเฉพาะตัวของผู้กระทำ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Amelung, K. (2016). Die anstiftung als korrumpierende aufforderung zu strafbedrohtem verhalten. Festschrift für Friedrich-Christian Schroeder zum 70. Geburtstag, 147.

Herzberg, R. D. (1987). Täterschaft, mittäterschaft und akzessorietät der teilnahme. ZStW, Heft 1, 49.

Jescheck, H.-H., & Weigend, T. (1996). Lehrbuch des strafrechts allgemeiner teil (5 Aufl). Berlin: Duncker & Humblot.

Kindhäuser, U., & Zimmermann, T. (2019). Strafrecht allgemeiner teil (9 Aufl.). Baden-Baden: Nomos.

Kühl, K. (2015). Strafrecht allgemeiner teil (8 Aufl.). München: Franz Vahlen.

Otto, H. (1987). Täterschaft, mittäterschaft, mittelbare täterschaft. Jura, Heft 5, 246.

Roxin, C. (2003). Strafrecht allgemeiner teil, band II. München: C.H.Beck.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-29