การใช้อภิปัญญาพัฒนาความสามารถกำกับตนเองของนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ผู้แต่ง

  • อัญชลี ทองเอม หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ไพทยา มีสัตย์ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

การใช้อภิปัญญา, ความสามารถกำกับตนเองกำกับตนเอง, วิชานวัตกรรมหลักสูตร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการใช้อภิปัญญาพัฒนาความสามารถกำกับตนเองของนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนวิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา CN510 นวัตกรรมหลักสูตร 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการใช้อภิปัญญาพัฒนาความสามารถกำกับตนเอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 27 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แผนการจัดการเรียนรู้วิชา CN510 นวัตกรรมหลักสูตร แบบทดสอบวัดความรู้ แบบประเมินความสามารถกำกับตนเองและแบบสอบถามความพึงพอใจ การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ค่าความสอดคล้องซึ่งมีค่าเท่ากับ 0.80–1.00 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติ Paired Sample t-test

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการใช้อภิปัญญาพัฒนาความสามารถกำกับตนเองของนักศึกษาหลักสูตร ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน หลังจากเรียนรู้โดยใช้อภิปัญญาสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา CN510 นวัตกรรมหลักสูตร มีคะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คิดเป็นร้อยละ100 3) ความพึงพอใจของของนักศึกษาต่อการใช้อภิปัญญาพัฒนาความสามารถกำกับตนเอง ภาพรวมของความพึงพอใจอยู่ระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.49, S.D.= 0.06)

References

ชนิกานต์ สิทธิฟอง. (2555). การใช้กลวิธีอภิปัญญาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทิศนา แขมมณี, ศิริชัย กาญจนวาลี, พิมพันธ์ เตชะคุปต์, ศรินธร วิทยะสิรินันท์, นวลจิตต์ เชาวกีนรติพงศ์, และปัทมศิริ ธรานุรักษ์. (2544). วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พระราชมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2549). ปรัชญาการศึกษาของไทย (ฉบับแก้ไขรวบรวมใหม่). กรุงเทพฯ: โกมลคีมทอง.

ศราวุธ เกิดสุวรรณ. (2558). การใช้อภิปัญญาพัฒนาความสามารถในการกำกับตนเองของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ศักดิ์สิทธิ์ ทองจำปา. (2559). การใช้กระบวนการเรียนรู้โดยกำกับตนเองเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้รายวิชา หน้าที่พลเมืองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สาลินี จงใจสุรธรรม, นำชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล, และวินัย ดำสุวรรณ. (2558). กลวิธีการกำกับตนเองในการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 7(1), 15-26.

สำนักราชบัณฑิตยสถาน. (2550). ศัพท์บัญญัติ. สืบค้น 25 สิงหาคม 2560, จาก http://www.royin.go.th/dictionary/

Ababaf, Z. (2009). The comparison of cognitive and metacognitive strategies of high school students according to their ability level, field of study, and gender and suggesting recommendations in the areas of curriculum. Review Quarterly Journal of Educational Innovations, 25(7), 224-241.

Dori, Y. J., Avargil, S., Kohen, Z., & Saar, L. (2018). Context-based learning and metacognitive prompts for enhancing scientific text comprehension. International Journal of Science Education, 40(10), 1198-1220.

Dörnyei, Z. (2005). The psychology of the language learner: Individual differences in second language acquisition. Erlbaum, Mahwah.

Jenkins, J. S. (2009). The effects if explicit self-regulated learning strategy instruction on mathematics achievement (Doctoral dissertation). America: Graduated School of University of North Carolina.

Mahmoodi, M. H, Behrooz, K., & Rozhin, G. (2014). Self-regulated learning (SRL), motivation and language achievement of Iranian EFL learners. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 98, 1062–1068.

Medina, E. (2011). Improving student mathematics achievement through self- regulation and goal setting. In Plakhotnik, M. S.; Nielsen, S. M., & Pane, D. M., Proceedings of the Tenth annual college of education & GSN research conference (pp. 147-153). Miami: Florida International University.

Mohamadi, F. S., Asadzadeh, H., Ahadi, H., & Jomehri, F. (2011). Testing Bandura’s theory in school. Procedia Social and Behavioural Sciences, 12, 426–435.

Panadero, E. (2017). A review of self-regulated learning: Six models and four directions for research. Frontiers in Psychology, 8, 1941-1975.

Prat-Sala, M., & Redford, P. (2010). The interplay between motivation, self-efficacy, and approaches to studying. British Journal of Educational Psychology, 20, 283-305.

Schunk, D. H., & Zimmerman, B. J. (2007). Influencing children’s self-efficacy and self- regulation of reading and writing through modeling. Reading and Writing Quarterly, 23, 7-25.

Stephanou, G., & Mpiontini, M. H. (2017). Metacognitive knowledge and metacognitive regulation in self-regulatory learning style, and in its effects on performance expectation and subsequent performance across diverse school subjects. Psychology, 8(12), 1941-1975.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-25