การพัฒนาแบบทดสอบวัดการรู้เรื่องการอ่านสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น: การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองแบบพหุมิติ

ผู้แต่ง

  • ปองภพ ปะวันเนย์ สาขาการประเมินและการวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • จุฑาภรณ์ มาสันเทียะ สาขาการประเมินและการวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ศิวะพร ภู่พันธ์ ภาควิชาศึกษาศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

ทฤษฏีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ, แบบทดสอบการรู้เรื่องการอ่าน, การตรวจสอบ, ความตรงเชิงยืนยัน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและพัฒนาแบบทดสอบวัดการรู้เรื่องการอ่านแบบพหุมิติสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น และ 2) ตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบวัดการรู้เรื่องการอ่านแบบพหุมิติสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ประชากร คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 ปีการศึกษา 2561 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 จำนวน 800 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) ใช้แบบทดสอบการรู้เรื่องการอ่าน (Reading Literacy Test) จำนวน 4 ฉบับ ในการเก็บข้อมูล และใช้วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA)

ผลการศึกษาพบว่า ในการสร้างแบบทดสอบการรู้เรื่องการอ่าน จำนวน 128 ข้อ ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกจำนวน 84 ข้อ โดยมีค่าพารามิเตอร์ ดังนี้ ค่าอำนาจจำแนกในมิติที่ 1 มีค่าอยู่ระหว่าง -1.658 ถึง 1.997 มิติที่ 2 มีค่าอยู่ระหว่าง -1.164 ถึง 2.031 และมิติที่ 3 มีค่าอยู่ระหว่าง -1.000 ถึง 2.408 ค่าจุดตัดของความยากแบบพหุมิติ (d) มีค่าอยู่ระหว่าง -1.405 ถึง 0.860 ค่าอำนาจจำแนกแบบพหุมิติ (MDISC) มีค่าอยู่ระหว่าง 0.074 ถึง 3.170 ค่าความยากแบบพหุมิติ (MDIFF) มีค่าอยู่ระหว่าง -1.251 ถึง 16.234 และค่าความเที่ยงรายฉบับ (Reliability) 0.712 ถึง 0.828

References

กระทรวงศึกษาธิการ. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2556). รายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น: โครงการ PISA 2012. กรุงเทพฯ: เซเว่นพริ้นติ้งกรุ๊ป.

กระทรวงศึกษาธิการ. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2558). สรุปผลการวิจัย PISA 2015. สืบค้น 4 ตุลาคม 2560, จาก http://pisathailand.ipst.ac.th/pisa/reports/pisa-2015-basic-summary.

กิตติศักดิ์ นิวรัตน์. (2554). การประมาณค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบตามโมเดลคะแนนจริงสัมพันธ์และโมเดลโลจิสติก 3 พารามิเตอร์ (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นภดล ยิ่งสกุล. (2559). การสอบ PISA คืออะไร. สืบค้น 4 ตุลาคม 2560, จาก https://sornordon.wordpress.com/2011/12/19/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9Apisa%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD-%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สัตยา นาอุดม. (2559). การพัฒนาแบบทดสอบการรู้เรื่องคณิตศาสตร์โดยประยุกต์ใช้โมเดลการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุนีย์ คล้ายนิล, ปรีชาญ เดชศรี, และอัมพลิกา ประโมจนีย์. (2551). ความรู้และสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์สำหรับโลกวันพรุ่งนี้. กรุงเทพฯ: เซเว่นพริ้นติ้งกรุ๊ป.

Frey, A., & Seitz, N.N. (2012). Calibration of response data using MIRT models with simple and mixed structures. Applied Psychological Measurement, 36(5), 375-398.

Rupp, A., & Templin, J. (2008). Effects of Q-matrix misspecification on parameter estimates and misclassification rates in the DINA model. Educational and Psychological Measurement, 68, 78-98.

Yao, L., & Boughton, P.(2009). Multidimensional linking for tests with mixed item types. Journal of Educational Measurement, 46(2), 177–197.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-25