คุณภาพน้ำดื่มในโรงเรียนประถมศึกษาในเขตลาดกระบัง คลองสามวาและเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
คุณภาพน้ำดื่ม, โรงเรียนประถมศึกษา, คุณภาพทางกายภาพ, คุณภาพทางจุลชีววิทยาบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาคุณภาพน้ำดื่มภายในสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 30 โรงเรียน ในเขตลาดกระบัง เขตคลองสามวาและเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร เพื่อวัดคุณภาพน้ำในด้านข้อมูลทางกายภาพได้แก่ สี ความขุ่น ความเป็นกรด-ด่าง ข้อมูลปริมาณคลอรีนในน้ำดื่ม ข้อมูลทางจุลชีววิทยาได้แก่ แบคทีเรียประเภทฟีคัลโคลิฟอร์ม แบคทีเรียประเภทโคลิฟอร์ม และวิเคราะห์ จำนวนเชื้อจุลินทรีย์ในน้ำตามเกณฑ์คุณภาพน้ำดื่มกรมอนามัย พ.ศ. 2553 พบว่าโรงเรียนที่มีคุณภาพน้ำ ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัยมีจำนวน 17 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 56.67 โดยคุณสมบัติที่ไม่ผ่านเกณฑ์ของกรมอนามัย คือ ความขุ่น และจำนวนเชื้อจุลินทรีย์ในน้ำ
ผลสรุปจากห้องทดลอง พบปัญหา 2 ข้อ คือ ความขุ่นและเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อน ข้อเสนอแนะคือ เพื่อแก้ปัญหาเรื่องความขุ่นของน้ำ ควรใช้เครื่องกรองน้ำที่มีความละเอียดสูงขึ้น และการแก้ไขปัญหาเรื่องเชื้อแบคทีเรียที่ปรากฏในการวิเคราะห์จำนวนเชื้อจุลินทรีย์ในน้ำ ควรใช้เครื่องกรองน้ำที่มีระบบการฆ่าเชื้อโรคร่วมด้วย
References
กรมอนามัย. (2551). การจัดการน้ำดื่มในโรงเรียน. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
ดาริวรรณ เศรษฐีธรรม, และเนตรนภา เจียระแม. (2555). สถานการณ์การปนเปื้อนจุลินทรีย์ในน้ำดื่มเครื่องดื่มและภาชนะที่ให้บริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(2), 5-7.
ธนาวัฒน์ รักกมล และคณะ. (2555). คุณภาพน้ำดื่มจากเครื่องทำน้ำเย็นในมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 15(2), 18-26.
Hunter, P. R., Risebro, H., Yen, M., Lefebvre, H., Lo, C., Hartemann, P., ... & Jaquenoud, F. (2015). Impact of the provision of safe drinking water on school absence rates in Cambodia: A quasi-experimental study. Annals of Nutrition and Metabolism, 66(Sup. 3), 31-37.
Koutchma, T. (2009). Advances in ultraviolet light technology for non-thermal processing of liquid foods. Food and Bioprocess Technology, 2(2), 138-155.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น