ศึกษาแนวทางการใช้ดนตรีไทยตามนโยบายการสร้างชาติสมัยรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม กรณีศึกษา: เพลงระบำชุมนุมเผ่าไทย

ผู้แต่ง

  • พงษ์เทพ ตามเมืองปัก สาขาวิชามานุษยดุริยางควิทยา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • สุรศักดิ์ จำนงค์สาร สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ไทยและเอเชีย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

นโยบายการสร้างชาติ, ระบำชุมนุมเผ่าไทย

บทคัดย่อ

งานเขียนฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการใช้ดนตรีไทยตามนโยบายการสร้างชาติของ จอมพล ป. พิบูลสงครามผ่านการวิเคราะห์ที่มาของเพลงระบำชุมนุมเผ่าไทย โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เพลงไทยและแนวคิดบูรพาคดีศึกษาเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษาข้อมูลในการศึกษาได้จากเอกสาร เช่น หนังสือราชการจากนายกรัฐมนตรีถึงอธิบดีกรมศิลปากร เรื่องความสำคัญในการบำรุงวัฒนธรรม พ.ศ. 2484 จดหมายเหตุ แผ่นครั่ง การสัมภาษณ์ผู้รู้และการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discusstion)

จากการศึกษาพบว่าดนตรีไทยได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อแสดงออกถึงศักยภาพของดนตรีที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความทันสมัยให้ประเทศมีความเท่าเทียมนานาประเทศได้ ดังกรณีของเพลงไทใหญ่ในเพลงชุดระบำชุมนุมเผ่าไทยมีที่มาจากเพลงเงี้ยวของชาติพันธุ์ไทใหญ่ทางภาคเหนือของประเทศที่อาจารย์มนตรี ตราโมท ได้นำมาปรับปรุงให้เข้ากับเพลงระบำชุมนุมเผ่าไทยช่วงสำเนียง ไทใหญ่ เพื่อใช้เป็นการแสดงเบิกโรงในการแสดงละครเรื่องอานุภาพแห่งความแห่งสละ เมื่อปี พ.ศ. 2498 ซึ่ง เป็นละครที่จัดแสดงเพื่อตอบสนองนโยบายการสร้างชาติที่เป็นนโยบายสำคัญตามเจตนารมณ์ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในช่วงนั้น งานวิจัยฉบับนี้ต้องนำเสนอให้เห็นถึงพลังทางวัฒนธรรมดนตรี ที่เกิดจากจินตนาการทางดนตรีของผู้ประพันธ์เพลงที่ต้องการส่งสารเพื่อการปลุกใจหรือสร้างความรักชาติ ตลอดจนความเชื่อต่าง ๆ ให้กับผู้ฟังผ่านบทเพลงไทยที่ประพันธ์ขึ้นจากบทเพลงของชาติพันธ์ที่ไม่ใช่ ประชากรหมู่มากของประเทศเพื่อประโยขน์การเมืองของกลุ่มผู้ปกครอง

References

กษภรณ์ ตราโมท, พรทิพย์ อันทิวโรทัย, เฉลิมรัฐ ติ่งอ่วม, พงษ์พิพัฒน์ พรวัฒนาศิลป์, และวิไลวรรณ โพธิ์ศรีทอง. (2561). เพลงสัมพันธไมตรี ผลงานของครูมนตรี ตราโมท. แทนคุณ แอดวานซ์.

พงษ์ศิลป์ อรุณรัตน์. (2546). The evolution of Thai music หนังสือดนตรีไทยในยุครัฐนิยม. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 26(1),149-163.

มานพ วิสุทธิแพทย์. (2556). ทฤษฎีการวิเคราะเพลงไทย. กรุงเทพฯ: สันติศิริการพิมพ์.

มนตรี ตราโมท. (2524). ศัพท์สังคีต. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

ราตรี ธันวารชร. (2551). นาย ต. เง๊กชวน แห่งห้าง ต. เง๊กชวน. วรรณวิทัศน์, 8, 185-200.

อินทนิล บุญประกอบ. (2546). ประวัติและบทร้องนาฏศิลป์ไทยระดับ ปวช. สืบค้น 20 พฤษภาคม 2561, จาก http://taopuyimbunhotmail.blogspot.com/2009/01/blog-post_15.html.

Edward, S. (1978). Orientalism. United States: Pantheon books.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-28