ความต้องการพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของบุคลากรด้านการท่องเที่ยวในเขตอำเภอเมือง จังหวัดน่าน
คำสำคัญ:
ภาษาอังกฤษ, การท่องเที่ยว, การพัฒนาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) สำรวจความต้องการพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษด้านทักษะและด้านเนื้อหาสาระของบุคลากรด้านการท่องเที่ยวในเขตอำเภอเมือง จังหวัดน่าน และ 2) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อความต้องการพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของบุคลากรด้านการท่องเที่ยวในเขตอำเภอเมือง จังหวัดน่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสำรวจความต้องการพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของบุคลากรด้านการท่องเที่ยวและแบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรด้านการท่องเที่ยวในเขตอำเภอเมือง จังหวัดน่าน จำนวน 120 คน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการพัฒนาภาษาอังกฤษด้านทักษะการพูดมากที่สุด รองลงมาคือทักษะการฟัง ทักษะการอ่าน และทักษะการเขียนตามลำดับ ส่วนความต้องการพัฒนาด้านเนื้อหาสาระ มีความต้องการพัฒนาเรื่องการต้อนรับและเชื้อเชิญ การบรรยายเกี่ยวกับสถานที่ การทักทายและแนะนำตัว การให้คำแนะนำ และการบอกทิศทางและสถานที่ตั้ง ด้านปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อความต้องการพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษแตกต่างกัน 5 ปัจจัย คือ อายุ อาชีพ การศึกษา ประสบการณ์ และวัตถุประสงค์ในการใช้ภาษาอังกฤษ ส่วนปัจจัยด้านเพศไม่มีความแตกต่าง
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560–2564. สืบค้น 12 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.ubu.ac.th/web/files_up/03f2017052216244626.pdf
ธญวรรณ ก๋าคำ. (2562). การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับชุมชนกลุ่มธนบุรี กรุงเทพมหานคร (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
ธุรกิจท่องเที่ยวไทยพร้อมรับ AEC หรือยัง?. (ม.ป.ป.). ประชาชาติธุรกิจ. สืบค้น 15 พฤษภาคม 2561, จาก http://www.thai-aec.com/612
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์คร้ังที่ 7) กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
มินตรา ไชยชนะ, สรศักดิ์ เชี่ยวชาญ, และสุดารัตน์ ทองเณร. (2559). ปัญหาการสื่อสารภาษาอังกฤษของพนักงาน ต้อนรับในโรงแรมจังหวัดน่าน ในทัศนคติของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ. สืบค้น 17 พฤศจิกายน 2563, จาก http://repository.rmutr.ac.th/handle/123456789/681?show=full
รัชชประภา วิจิตรโสภา. (2561). การศึกษาความต้องการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารของผู้ประกอบการร้านค้าและ บริการในชุมชนกาดกองต้า อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง (สารนิพนธ์). พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.
วรางคณา พุ่มจีน. (2544). ปัญหาและความต้องการใช้ภาษาอังกฤษของผู้ขับขี่ทัวร์สามล้อในจังหวัดพิษณุโลก (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วราพร พูลเกษ, วนุชชิดา สุภัควนิช, และธีติพล วิมุกตานนท์. (2558). การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของ ชุมชนหมู่บ้านโฮมสเตย์เพื่อเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวบ้านโคกโก่ง ตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสังคมศาสตร์, 4(2), 86-91.
ศรีจิตรา นวรัตนาภรณ์. (2560). การวิเคราะห์ความต้องการ ปัญหา ความสามารถ และรูปแบบ การใช้ภาษาอังกฤษ เพื่อการพูดสื่อสารของพนักงานแผนกต้อนรับส่วนหน้าของโรงแรมในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเลย (รายงานผลการวิจัย). เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
สำนักงานสถิติจังหวัดน่าน. (2562). รายงานสถิติจังหวัดน่าน พ.ศ. 2562. สืบค้น 20 มีนาคม 2563, จาก http://nan.nso.go.th
สุนิดา ปานดำรงสถิต. (2556). ความต้องการใช้ภาษาอังกฤษของบุคลากรในสถานประกอบการธุรกิจโรงแรม จังหวัด ปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 5(1), 29-38.
สุภิตา กาฬสินธุ์. (2558). ความจำเป็นในการใช้ภาษาอังกฤษของพนักงานต้อนรับส่วนหน้าของโรงแรมในพื้นที่ ท่องเที่ยวภาคใต้ของประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2558. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่, 7(2), 1-22.
เสน่ห์ เดชะวงศ์, และสมพร โกมารทัต. (2557). ความต้องการภาษาต่างประเทศของวัดในกรุงเทพมหานคร (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
อัครพนท์ เนื้อไม้หอม, และพุทธชาต ศรีพัฒนาสกุล. (2558). การพัฒนานวัตกรรมที่ส่งเสริมความสามารถการใช้ ภาษาอังกฤษเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน สำหรับบุคลากรด้านการท่องเที่ยวที่วนอุทยานเขาไฟกระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ (รายงานผลการวิจัย). บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
Hutchinson, T., & Waters, A. (1994). English for specific purposes: A learning centre approach. New York: Cambridge University Press.
Hutchinson, T., & Waters, A. (1999). English for specific purposes. Cambridge: Cambridge University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น