ส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ ซื้อผลิตภัณฑ์ผ่านสมาร์ทโฟนของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • ยุทธนาท บุณยะชัย คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์

คำสำคัญ:

ส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์, ปัจจัยภายใน, ปัจจัยภายนอก, การตัดสินใจซื้อ, สมาร์ทโฟน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์และปัจจัยภายใน/ปัจจัยภายนอกต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ ผ่านสมาร์ทโฟนของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี 2) เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์และปัจจัยภาย/ในปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผ่านสมาร์ทโฟนของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริโภคที่เคยตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผ่านสมาร์ทโฟนในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 385 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยใช้แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า ระดับความสำคัญของส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก อันดับที่ 1 คือ ด้านผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับมากที่สุด อันดับที่ 2 คือ ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายอยู่ในระดับมากที่สุด ระดับความสำคัญเกี่ยวกับปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกในภาพรวมอยู่ในระดับมาก อันดับที่ 1 คือ ปัจจัยภายในด้านการจูงใจอยู่ในระดับมากที่สุด อันดับที่ 2 คือ ปัจจัยภายในด้านทัศนคติอยู่ในระดับมากที่สุด จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1) ส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผ่านสมาร์ทโฟนของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี 2) ปัจจัยด้านการเรียนรู้และปัจจัยด้านกลุ่มอ้างอิงมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผ่านสมาร์ทโฟนของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี ปัจจัยด้านการเรียนรู้และปัจจัยด้านกลุ่มอ้างอิงสามารถทำนายการพยากรณ์อิทธิพลต่อการตัดสัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผ่านสมาร์ทโฟนได้ร้อยละ 75.00 ซึ่งสามารถเขียนสมการถดถอยเชิงเส้นได้ดังนี้ Y = 7.072 + 0.293 (การเรียนรู้) – 0.157 (กลุ่มอ้างอิง)

References

จิตรลดา วิวัฒน์เจริญวงศ์. (2553). ส่วนประสมการตลาดออนไลน์. สืบค้น 5 ตุลาคม 2562, จาก http://spssthesis.blogspot.sg

ทรั้มอัฟ. (2562). อุปกรณ์มือถือยังมาแรงส่งผลให้แอพและอีคอมเมิร์ซยังรุ่งกับสรุปสุดท้ายของ Digital 2562. สืบค้น 2 กุมภาพันธ์ 2562, จาก https://www.thumbsup.in.th/mobile-app-ecommerce-digital.

ธันยพร ชาญหรรษา. (2560). ศึกษาเรื่องปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มเม็ดแมงลักของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

นันทพร พงษ์พรรณนากูล. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าเบเกอรี่ผ่านร้านค้าออนไลน์ (การค้นคว้าอิสระ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

นันทพร ศรีธนสาร. (2561). ลักษณะพฤติกรรม และปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อเสื้อผ้าออนไลน์ของผู้หญิงพลัสไซส์ผ่านช่องทางเฟซบุ๊ก (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

เปรมกมล หงส์ยนต์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นออนไลน์ (ลาซาด้า) ของผู้บริโภคยุคดิจิทัลในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.

มัลลิกา บุนนาค. (2551). สถิติเพื่อการวิจัยและตัดสินใจ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มาเก็ตติ้งอุ้ป. (2562). พฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการผ่าน Social Media ของคนไทย. สืบค้น 5 ตุลาคม 2562, จาก https://www.marketingoops.com/reports/global.

วนิชา แสไพศาล. (2562). ส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจเลือกชม Netflix ของกลุ่ม Generation Y ในเขตกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิเชียร วงศ์ณิชชากุล. (2550). การบริหารการส่งเสริมการตลาด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ปริญ ลักษิตานนท์, และศุภร เสรีรัตน์. (2541). กลยุทธ์การตลาดการบริหารการตลาด. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

สหพัชร์ ชนะชัยสิทธิ์, อิสยาภรณ์ กิตติอังกูรพร, และพัชรกันต์ นิมิตรศดิกุล. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านช่องทางตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. ใน งานประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 11 มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม (น. 729-738).

อรุโณทัย ปัญญา. (2562). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อฟ้าแฟชั่นผ่านสังคมออนไลน์ (เฟซบุ๊ก) ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยเขตอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.

Cochran, W. G. (1953). Sampling techniques. New York: John Wiley & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-30