คุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้บริโภควัยทำงานที่มีผลต่อการแสวงหาข้อมูลสินค้าที่เกี่ยวกับการดูแลร่างกายของผู้ชาย

ผู้แต่ง

  • พรพรหม ชมงาม คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

คำสำคัญ:

คุณลักษณะส่วนบุคคล, การแสวงหาข้อมูล, สินค้าที่เกี่ยวกับการดูแลร่างกายของผู้ชาย

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องคุณลักษณะส่วนบุคคลลของผู้บริโภควัยทำงานที่มีผลต่อการแสวงหาข้อมูลสินค้าที่เกี่ยวกับการดูแลร่างกายของผู้ชาย (Men’s grooming products) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาถึงลักษณะการแสวงหาข้อมูลสินค้าที่เกี่ยวกับการดูแลร่างกายของผู้ชายของผู้บริโภคเพศชาย 2) เพื่อศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้บริโภคเพศชายจำแนกตามอายุ และรายได้ที่มีผลต่อการแสวงหาข้อมูลสินค้าที่เกี่ยวกับการดูแลร่างกายของผู้ชาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้บริโภควัยทำงานเพศชายที่สนใจสินค้าเกี่ยวกับการดูแลร่างกายของผู้ชาย (Men’s grooming products) ในองค์การเอกชน จำนวน 200 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ One-way ANOVA ผลการศึกษา พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีลักษณะการแสวงหาข้อมูลสินค้าที่เกี่ยวกับการดูแลร่างกายของผู้บริโภคเพศชาย ได้แก่ การหาข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงโดยตรง (gif.latex?\bar{x} = 3.97) การหาข้อมูลอย่างต่อเนื่องโดยตรง (gif.latex?\bar{x} = 3.84) การหาข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงทางอ้อม (gif.latex?\bar{x} = 3.69) และการหาข้อมูลอย่างไม่กระตือรือร้น (gif.latex?\bar{x} = 2.76) 2) คุณลักษณะส่วนบุคคลด้าน อายุ และรายได้ของผู้บริโภคเพศชายไม่มีผลต่อลักษณะการแสวงหาข้อมูลสินค้าที่เกี่ยวกับการดูแลร่างกายของผู้ชาย (Men’s grooming products) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่งผลให้ลักษณะของการแสวงหาข้อมูลเป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีลักษณะการหาข้อมูลเกี่ยวกับที่เฉพาะเจาะจงโดยตรง มีการหารายละเอียดของสินค้าเมื่อต้องการซื้อสินค้า เคยมีความรู้ในเรื่องของสินค้านั้นๆ มาก่อนแล้ว มีการหาข้อมูลจากหลายๆ แหล่งเพื่อนำมาเปรียบเทียบ ชั่งน้ำหนักความสำคัญและความคุ้มค่าของเครื่องสำอางนั้นๆ ก่อนที่จะซื้อ และสุดท้ายเมื่อได้ข้อมูลแล้วก็จะหยุดทำการเสาะแสวงหาข้อมูล

References

ทรูไอดี (2020). นิยามใหม่ของผู้ชายดูดี. สืบค้นจาก https://cities.trueid.net/article/mens-grooming-นิยามผู้ชายดูดี-trueidintrend_83624.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ชวลิต ประภวานนท์, สมชาย หิรัญกิตติ, ลักธิกาล ศรีวะรมย์, และจิระศักดิ์ จิยะจันทร์. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2562). เทรนด์ชายต้องหล่อมาแรง. สืบค้นจาก https://www.kasikornbank.com/th/business/sme /KSMEKnowledge/article/KSMEAnalysis/Pages/TrendMan.aspx

อรุณวรรณ แก้วศิลป์. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางโอเรียลทอลพริ้นเซสในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

Assael, H. (1998). Consumer behavior and marketing action (6th ed.) Cincinnati, OH: South-Western College.

Assael, H. (2004). Consumer behavior: A strategic approach. Boston, MA: Houghton Mifflin.

Hanna, N., & Wozniak, R. (2001). Consumer behavior and applied approach. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Krikelas, L. (1983). Information seeking behavior: Patterns and concepts. Drexel Library Quarterly, 19(2), 5-20.

Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2012). A Beginner’s guide to structural equation modeling. New York: Routledge. Taylor & Francis Group.

Shiffman, L. G., & Kanuk, L. L. (2003). Consumer behavior (5th ed.). Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Solomon, M. R. (2013). Consumer behavior: buying, having, and being (10th ed.) Upper Saddle River, NJ: Pearson Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-30