การจัดการความเสี่ยงของธุรกิจโรงแรมขนาดเล็กและขนาดกลางในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • วุธธีรวัฒน์ สิริรวีชล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยพายัพ
  • เอนก ชิตเกษร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยพายัพ

คำสำคัญ:

การจัดการความเสี่ยง, ธุรกิจโรงแรมขนาดเล็กและขนาดกลาง, COSO

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการความเสี่ยงของธุรกิจโรงแรมขนาดเล็กและขนาดกลาง ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และเพื่อศึกษาการจัดการความเสี่ยงของธุรกิจโรงแรมขนาดเล็กและขนาดกลาง ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำแนกตาม ประสบการณ์การบริหารงานโรงแรมของผู้บริหาร รูปแบบจดทะเบียนกิจการ ระยะเวลาดำเนินกิจการ และขนาดของโรงแรม ประชากรที่ศึกษาวิจัย คือ โรงแรมขนาดเล็ก และขนาดกลาง ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 147 กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม (Questionnaire) และรวบรวมข้อมูลมาทำการวิเคราะห์โดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติ F-test สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธี Scheffe

ผลการวิจัยพบว่า ธุรกิจโรงแรมขนาดเล็ก และขนาดกลาง ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่มีการจัดการ ความเสี่ยงตามแนวทางของ COSO (Committee of Sponsoring Organization of the Treadway Commission) อยู่ในระดับมาก นอกจากนี้ผลการวิจัยยังพบว่า ธุรกิจโรงแรมขนาดเล็กและขนาดกลาง ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีรูปแบบจดทะเบียนกิจการ ขนาดของโรงแรม และระยะเวลาดำเนินกิจการที่แตกต่างกัน มีผลต่อการจัดการความเสี่ยงตามแนวทางของ COSO (Committee of Sponsoring Organization of the Treadway Commission) และประสบการณ์การบริหารงานโรงแรมของผู้บริหารที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อการจัดการความเสี่ยงตามแนวทางของ COSO (Committee of Sponsoring Organization of the Treadway Commission)

References

กมลชนก อนุกูล. (2557). การบริหารความเสี่ยงของโรงแรมในจังหวัดเชียงใหม่ (การค้นคว้าอิสระ). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กระทรวงมหาดไทย. กรมการปกครอง. (2562). รายงานระบบโรงแรม. สืบค้น 28 สิงหาคม 2562, จาก https://dpa.dopa.go.th/DPA/hotel_report.php

คณะกรรมการผลิตและบริหารชุดวิชาการบริหารความเสี่ยงขององค์กรและการจัดการเชิงกลยุทธ์. (2555). การบริหารความเสี่ยงขององค์กรและการจัดการเชิงกลยุทธ์. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ฉันทัช วรรณถนอม. (2552). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: สามลดา.

ธนาคารออมสิน. ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจธุรกิจและเศรษฐกิจฐานราก. ส่วนเศรษฐกิจรายสาขา. (2562). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. สืบค้น 28 มกราคม 2563, จาก https://www.gsb.or.th/getattachment/75c08f31-a88f-4518-bd5920b073e9ad43/6_travel_12_62_detail.aspx

ธีราพรรณ อิ่มโอษฐ์. (2554). การโรงแรม. กรุงเทพฯ: วังอักษร.

นฤมล สอาดโฉม. (2550). การบริหารความเสี่ยงขององค์กร. กรุงเทพฯ: ฐานการพิมพ์.

นิรภัย จันทร์สวัสดิ์. (2551). การบริหารความเสี่ยง. กรุงเทพฯ: สูตรไพศาล.

พงษ์จันทร์ คล้ายอุดม, และเทิดชาย ช่วยบำรุง. (2561). พฤติกรรมของผู้บริหารต่อกระบวนการวางแผนการจัดการความเสี่ยงด้านทรัพยากรมนุษย์ของโรงแรมขนาดกลางและขนาดย่อมในหมู่เกาะท่องเที่ยวจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(2), 57-65.

รณชิต มหัทธนะพฤทธิ์. (2551). ข้อสังเกตถึงแนวคิดกระบวนการจัดการความเสี่ยงกับธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจนิด้า, 4(4), 109-114.

โรงแรมเชียงใหม่-เชียงราย-ตรวดปิดเองโฟร์ซีชั่นส์-แชงกรีลาดิ้นรัฐอุ้มพิษโควิด. (2563). ประชาชาติธุรกิจ. สืบค้น 23 กันยายน 2563, จาก https://www.prachachat.net/local-economy/news-448378

วรีสา ตรงคง. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการความเสี่ยงของธุรกิจนำเที่ยวในประเทศไทยในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สิริทิพย์ ฉลอง. (2563). ธุรกิจโรงแรม. สืบค้น 24 กันยายน 2563, จาก https://www.gsbresearch.or.th/wp-content/uploads/2020/07/IN_hotel_6_63_detail.pdf

สิริรัตน์ เกวียนเจริญกุล. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กรของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

สุกิจ กรีเจริญ. (2552). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความเสี่ยงในการบริหารโรงเรียนกวดวิชา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อรวรรณ เชื้อเมืองพาน, นงลักษณ์ ผุดเผือก, และภัทรา เตซะธนเศรษฐ์. (2559). อิทธิพลของการบริหารความเสี่ยงที่มีต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. ใน การประชุมทางวิชาการระดับชาติสาขาบริหารธุรกิจและการบัญชี ครั้งที่ 4 (น. 430). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Abdillah Alam. (2013). Corporate governance and its impact on firm risk. International Journal of Management, Economics and Social Sciences, 2(2), 76-98.

Industrialnew. (2561). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ธุรกิจทำเงินเข้าประเทศไทย. สืบค้น 3 กุมภาพันธ์ 2562, จาก https://industrialnew.com

Njagi, Christine Gatakaa. (2016). The effects of risk management practices in performance of hotel in Mombasa county (Master's thesis). Kenya: University of Nairobi.

Ogawa, Eiji. (1994). Small business management today. Tokyo: Asian Productivity Organization.

Peters, Mike, & Buhalis, Dimitrios. (2004). Family hotel businesses: Strategic planning and the need for education and training. Tourism Research. 46. 10.1108/00400910410569524.

Zimmerer, W., T., & Scarborough M., N. (2008). Essentials of entrepreneurship and small business management (5th ed.). New Jersey: Pearson Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-21