ปัจจัยแห่งความสำเร็จของห่วงโซ่อุปทานธุรกิจกิจการค้าผลไม้ไทย

ผู้แต่ง

  • ธงชัย วัชนุชา บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • อดิลล่า พงศ์ยี่หล้า วิทยาลัยการบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

ห่วงโซ่อุปทาน, ปัจจัยความสำเร็จ, ผลไม้ไทย, เกษตรกร, คนกลางทางการตลาด, ผู้บริโภค, ทุเรียน, มังคุด, มะม่วง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ ต้องการหาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในห่วงโซ่อุปทานผลไม้ 3 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน มังคุด และมะม่วง โดยจำแนกเป็นวัตถุประสงค์ย่อยดังนี้ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จของห่วงโซ่ต้นน้ำผลไม้ (เกษตรกร) 2) เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จของห่วงโซ่กลางน้ำของธุรกิจกิจการค้าผลไม้ (คนกลางทางการตลาด) 3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อผลไม้ของห่วงโซ่ปลายน้ำ (ผู้บริโภค) และ 4) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ห่วงโซ่ปลายน้ำ (ผู้บริโภค) ให้ความสำคัญในการซื้อผลไม้ โดยเป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ทำการศึกษากลุ่มคนที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานผลไม้สดในประเทศไทย ศึกษาในบริบทของผลไม้ 3 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน มังคุด และมะม่วง โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ศึกษากลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้ จำนวน 30 คน เครื่องมือในการศึกษาวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยความสำเร็จของเกษตรกร ส่วนที่ 2 ศึกษากลุ่มคนกลางทางการตลาดที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับผลไม้ จำนวน 385 คน โดยใช้แบบสอบถามวัดระดับความคิดเห็นของคนกลางทางการตลาดที่มีต่อปัจจัยความสำเร็จของกลุ่มคนกลาง ส่วนที่ 3 ศึกษาพฤติกรรมการซื้อผลไม้ของผู้บริโภค และส่วนที่ 4 ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อผลไม้ของผู้บริโภค

ผลการศึกษาห่วงโซ่อุปทานผลไม้สดในประเทศไทยนั้น สรุปผลแยกตามกลุ่มตัวอย่างได้ดังนี้ ในกลุ่มเกษตรกร สามารถเรียงลำดับปัจจัยความสำเร็จที่เกษตรกรให้ความสำคัญจากมากที่สุดไปน้อยที่สุด คือ 1) ด้านมีความภูมิใจในการเป็นเกษตรกร 2) ด้านการมีความรู้ในเรื่องที่ทำ และด้านมีการบริหารการผลิตและบริหารการตลาด 3) ด้านมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจ และด้านมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม และ 4) ด้านมีตระหนักถึงคุณภาพของสินค้าและความปลอดภัยของลูกค้า ในกลุ่มคนกลางนั้น สามารถเรียงลำดับปัจจัยความสำเร็จที่คนกลางให้ความสำคัญจากมากที่สุดไปน้อยที่สุด คือ 1) มีการประเมินผลและการควบคุม 2) มีบุคลากรที่มีคุณภาพ 3) มีการลงทุนที่เหมาะสม 4) มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง 5) มีการบริหารหนี้ และ 6) มีการทำงบประมาณค่าใช้จ่าย และในกลุ่มผู้บริโภคผลไม้ สามารถเรียงลำดับปัจจัยความสำเร็จที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญจากมากที่สุดไปน้อยที่สุด คือ ปัจจัยที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญลำดับที่ 1) การสื่อสารทางการตลาด 2) คุณภาพผลไม้และความสะดวก 3) การลงทุนที่เหมาะสม และ 4) ความหลากหลายและการบริการ จากผลการศึกษาที่พบ หากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานผลไม้ทั้งสามชนิดสามารถนำไปปรับใช้โดยให้ความสำคัญกับลำดับปัจจัยต่างๆอย่างถูกต้องจะทำให้มีโอกาสในการประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพมากยิ่งขึ้น

References

กรณัฐ ปิ่นฉ่ำ, มนฤตย์พล อุรบุญนวลชาติ, และสุพัตรา จุณณะปิยะ. (2558, เมษายน-มิถุนายน). การพัฒนาตลาดเกษตรแบบยั่งยืน: ศึกษาการมีส่วนร่วมของเกษตรกรผู้ผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ โครงการอาหารปลอดภัย ตลาดกลางผักและผลไม้จังหวัดราชบุรี = The development of sustainable agricultural market: a study of the participation of farmers who produce vegetables safe from toxins in food safety project, fruit and vegetable market, Ratchaburi. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 4(2), 122-132.

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรมวิชาการเกษตร. (2553). ทุเรียน. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการเกษตร.

กวิน มุสิกา, สุชนนี เมธิโยธิน, และบรรพต วิรุณราช. (2562, มกราคม-กุมภาพันธ์). แนวทางการบริหารหนี้สินเกษตรกรไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 7(1), 111-125.

คำรณ ศรีน้อย, และอนงค์ รุ่งสุข. (2548). การยอมรับของผู้บริโภคต่อไฮเปอร์มาร์เก็ตในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน การประชุมทางวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 43 (น. 477-484). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นงค์นุช บุญกล่ำ. (2559). ห่วงโซ่อุปทานมะม่วงน้ำดอกไม้เพื่อการส่งออก: กรณีศึกษาจังหวัดพิษณุโลก. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

นิพนธ์ พัวพงศกร, บุญจิต ฐิตาภิวัฒนกุล, สุเมธ องกิตติกุล, ชัยสิทธิ์ อนุชิตวรวงศ์, ชลัท ทัพประเสริฐ, และสุวรรณา ตุลยวศินพงศ์. (2553). ศึกษาแนวทางการจัดการห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ของสินค้าเกษตร (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

ยุทธ ไกยวรรณ์, และกุสุมา ผลาพรม. (2553). พื้นฐานการวิจัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

รภัส มัชฌิมานนท์. (2551). การวิเคราะห์การจัดการโซ่อุปทานของผู้ประกอบการลําไยสดด้วยการวิเคราะห์สายธารคุณค่าในจังหวัดเชียงใหม่และลําพูน = The supply chain management analysis of fresh longan entrepreneurs using value stream analysis in Chiang Mai and Lamphun Provinces (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รุ่งนภา ต่ออุดม. (2556). ปัจจัยความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในอุตสาหกรรมเกษตร จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารบริหารธุรกิจราชมงคลธัญบุรี, 8(1).

สถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2553). โครงการศึกษาแนวทางการจัดการห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ของสินค้าเกษตร ภายใต้โครงการการศึกษาวิจัยตลอดจนติดตามประเมินผลเพื่อเสนอแนวทางนโยบายการปรับโครงสร้างภาคการผลิต การค้า และการลงทุน (รายงานฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สถิติการค้าระหว่างประเทศของไทย. (2562, มิถุนายน). ตลาดส่งออก 15 อันดับแรกของไทย. สืบค้น 31 กรกฎาคม 2562, จาก http://tradereport.moc.go.th/Report/Default.aspx?Report=MenucomTopNRecode&Option=3&Lang=Th&ImExType=1

อภิชาต โสภาแดง. (2551). การศึกษาระบบการจัดการโซ่อุปทานของลำไยสดในประเทศไทย (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย.

อัทธ์ พิศาลวานิช. (2561). วิเคราะห์ศักยภาพตลาดกลางผักและผลไม้ไทยเพื่อเชื่อมโยงกับประเทศเมียนมา. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ UTCC Academic Day ครั้งที่ 2 (น. 716-735). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

อุดมวิทย์ นักดนตรี, กมลรัฐ อินทรทัศน์, ปิยฉัตร ล้อมชวการ, และนคเรศ รังควัต. (2563, กรกฎาคม-ธันวาคม). แนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรไทยสู่การเป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 13(2), 116-125.

Ba, Sulin, & Johansson, Wayne, C. (2008). An exploratory study of the impact of e-service process. Production and Operations Management Society, 17(1), 107-119. Retrieved from https://doi.org/10.3401/poms.1070.0006

Fearne, Andrew, & Hughes, David. (1999). Success factors in the fresh produce supply chain: insights from the UK. Supply Chain Management: An International Journal, 4(3), 120-131.

Kim, Jae–On, & Mueller, Charles W. (1978). Factor analysis statistical method and practical issues. London: University of Iowa.

Kotler, Philip. (2003). Marketing management (11th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Lauterborn, B. (1990). New marketing litany; Four Ps passe: c-words take over. Advertising Age, 61(41), 26.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-30