บทบาทดนตรีไทยเพื่อชีวิต วงต้นกล้า หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516

ผู้แต่ง

  • นาฐคุณ ถาวรปิยกุล คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • รุจี ศรีสมบัติ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

เพลงเพื่อชีวิต, ดนตรีไทยเพื่อชีวิต, วงต้นกล้า, หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516

บทคัดย่อ

การศึกษา บทบาทดนตรีไทยเพื่อชีวิต วงต้นกล้า หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 มีความมุ่งหมายการวิจัย คือเพื่อศึกษาบทบาทของดนตรีไทยเพื่อชีวิตของวงต้นกล้า หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516

ดนตรีไทยเพื่อชีวิต วงต้นกล้า เป็นวงดนตรีไทยที่เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มนักศึกษา โดยมีจุดประสงค์ต้องการใช้ดนตรีไทยเป็นสื่อกลาง เพื่อแสดงทางความคิดทางการเมืองและเสียดสีสังคม โดยได้รับแนวคิด “ศิลปะเพื่อชีวิต ศิลปะเพื่อประชาชน” ของจิตร ภูมิศักดิ์ ซึ่งเป็นการนำดนตรีมารับใช้ประชาชน จึงเป็นเหตุให้วงต้นกล้า ถูกเรียกว่า ดนตรีไทยเพื่อชีวิต บทบาทของวงต้นกล้า ได้แก่ การนำดนตรีมาเป็นสื่อกลางในการเรียกร้องความยุติธรรมให้แก่สังคม สะท้อนสภาพปัญหาของสังคม เสียดสีการเมืองและสภาพสังคมในขณะนั้น

บทเพลงของวงต้นกล้าให้มีความสนุกสนาน กินใจและเข้าถึงผู้ฟังได้ง่าย เพื่อผู้ที่ได้รับฟังมีความคิด และอุดมการณ์ทางการเมือง บทเพลงของวงต้นกล้าถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ในการต่อสู้กับอำนาจเผด็จหลายครั้งหลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 จนกระทั่งถึงเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ในยุคหลังจาก 14 ตุลาฯ บทเพลงของวงต้นกล้า ก็ยังได้ถูกนำกลับมาใช้ในเหตุการณ์ครบรอบ 30 ปี 14 ตุลาฯ การแสดงคอนเสิร์ต “เพลงของจิตร” การนำไปใช้ในการชุมนุนเรียกร้องของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และได้ถูกนำเนื้อเพลงไปใช้เชิงสัญลักษณ์กับการเรียกร้องสัมปทานปิโตรเลียม

References

จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์ และคณะ. (2548). สังคมวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ทีปกร. (2541). ศิลปะเพื่อชีวิต ศิลปะเพื่อประชาชน (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: ศรีปัญญา.

ธีรภาพ โลหิตกุล. (2540). ปฐมบทเพลงลูกทุ่งและเพลงเพื่อชีวิตในเมืองไทย (พ.ศ. 2480-2500). กรุงเทพฯ: โสมสาร.

พงษ์ศิลป์ อรุณรัตน์. (2550). ปฐมบทดนตรีไทย. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.

วรุณ ฮอลลิงก้า. (2536). การวิเคราะห์เพลงเพื่อชีวิตระหว่าง พ.ศ.2516-พ.ศ.2534 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.

สาวิตรี พฤกษาชีวะ. (2550). การศึกษาวิเคราะห์บทเพลงเพื่อชีวิตของวงคาราบาว (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ถ่ายเอกสาร.

อติภพ ภัทรเดชไพศาล. (2553). ดนตรี พื้นที่ เวลา. กรุงเทพฯ: โอเพ่นบุ๊กส์.

อัมพร สุคันธวณิช, และพวงเพชร สุรัตนกวีกุล. (2560). มนุษย์กับสังคม (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-21