การจัดการทุนมนุษย์เพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานของธุรกิจค้าส่งจังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
การจัดการทุนมนุษย์, ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน, ธุรกิจค้าส่งบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการจัดการทุนมนุษย์ที่มีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน และ 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ พนักงานของธุรกิจค้าส่ง จังหวัดเชียงราย จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 6 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการหาค่าสถิติพื้นฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน เพื่อทดสอบความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างกับข้อมูลเชิงประจักษ์
ผลการศึกษาพบว่า การจัดการทุนมนุษย์ของพนักงานในธุรกิจค้าส่ง จำนวน 4 ปัจจัย เรียงลำดับตามน้ำหนักองค์ประกอบจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการฝึกอบรมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้านการสรรหาทรัพยากรมนุษย์ ด้านการคัดเลือกทรัพยากรมนุษย์ และด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ ยิ่งไปกว่านั้น ผลการวิจัยพบว่าองค์ประกอบประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน เรียงลำดับตามน้ำหนักองค์ประกอบจากมาไปน้อย ได้แก่ ด้านเวลาในการทำงาน ด้านคุณภาพงาน ด้านปริมาณงาน และด้านค่าใช้จ่าย ตามลำดับ
ทั้งนี้ ผลการทดสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยการจัดการทุนมนุษย์และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในธุรกิจค้าส่ง พบว่าแบบจำลองที่พัฒนาขึ้นมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าสถิติที่ได้ คือ ค่า p เท่ากับ .067 ค่า x2/df เท่ากับ 1.181 ค่า CFI เท่ากับ .993 ค่า TLI เท่ากับ 989 ค่า RMSEA เท่ากับ .021 และ ค่า HOELTER เท่ากับ 406.00 แสดงให้เห็นว่าแนวคิดและทฤษฎีที่ได้นำมาใช้ในครั้งนี้มีประสิทธิภาพในการอธิบายความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของปัจจัยการจัดการทุนมนุษย์และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในธุรกิจค้าส่งเป็นอย่างดี
References
กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กิตติ มิลําเอียง. (2559). การสรรหาและคัดเลือกทรัพยากรมนุษย์ในองค์การภาครัฐยุคใหม่. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 8(1), 131-152.
ฉัตรวีณา เอื้อแท้. (2559). ศึกษาเปรียบเทียบแนวทางการสรรหาและคัดเลือกบุคคลเชิงรุกระหว่างภาคราชการกับภาคเอกชน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
นิ่มนวล คําปลื้ม. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารทุนมนุษย์กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสังกัดสํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดราชบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ประภาพร พฤกษะศรี. (2557). ปัจจัยค่าตอบแทนที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
พิชญาฏา พิมพ์สิงห์. (2558). ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ของบุคลากรสายวิชาการในมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. วารสารบัณฑิตวิทยาลัยพิชญทรรศน์, 10(1), 45-54.
วชรวิช รามอินทรา. (2561). ธุรกิจค้าส่งค้าปลีกภูธรปรับตัว เพื่ออยู่รอด: กรณีศึกษาธุรกิจค้าส่งค้าปลีกในภาคใต้. สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/Southern/ReasearchPaper/article_southern_local_retailwholesale.pdf
วรีวรรณ เจริญรูป, พวงทอง วังราษฎร์, และนภาภรณ์ ทรัพย์กุลมงคล. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างทุนมนุษย์กับผลการดำเนินงานของกิจการ: กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 9(3), 43-54. สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/107050
วิยะดา วรานนท์วนิช. (2558). การเตรียมความพร้อมด้านการพัฒนาทุนมนุษย์ของ มหาวิทยาลัยเอกชนสู่ประชาคมอาเซียน . วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์, 10(19), 88-99.
สอาด บรรเจิดฤทธิ์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสรรหาบุคลากรของธุรกิจโลจิสติกส์ภาคบริการ เขตภาคกลางในประเทศไทย. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(3), 133-141.
สิทธิชัย ศรีเจริญประมง. (2556). แนวทางการพัฒนาการดำเนินการด้านทุนมนุษย์เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริการของสายการบินในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
Bohlander, G. W., & Snell, S. A. (2010). Managing human resources (15th ed.). Cincinnati, OH: Cengage.
Herzberg, F., Mausner, B., & Synderman, B. (1959). The motivation to work (2nd ed.). NY: John Wiley & Sons.
McClelland, David C. (1961). The achieving society. New York: D. Van Nostrand.
Mondy, R. W., & Noe. R. M. (1996). Human resource management. New Jersey: Prentice-Hall.
Mulaik, S. A., & Millsap, R. E. (2000). Doing the four-step right. Structural Equation Modeling: A Multidisciplinary Journal, 7(1), 36–73. Retrieved from https://doi.org/10.1207/S15328007SEM0701_02
Peterson, E., & Plowman, G. E. (1989). Business organization and management. Illinois: Irwin.
Rosdi, I. S., & Harris, H. (2011). Human resource management practices and organizational commitment: The case of academics in a Malaysian Higher Education Institution. In Proceedings of International Conference on Business and Economic Research, 1155-1173. Kedah: Malaysia.
Werther, W. B., & Davis, K. (1998). Human resource and personnel management. New York: McGraw-Hill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารสุทธิปริทัศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสุทธิปริทัศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารสุทธิปริทัศน์ก่อนเท่านั้น