ช่องว่างงานวิจัยที่เกี่ยวกับเด็กและเยาวชนในประเทศไทย: ข้อเสนอเชิงการปฏิบัติและนโยบาย

ผู้แต่ง

  • สมพร โกมารทัต วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • อรัญญา ตุ้ยคำภีร์ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ศิริพร สัจจานันท์ คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • นิปัทม์ พิชญโยธิน คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • จิรภัทร รวีภัทรกุล คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พนิตา เสือวรรณศรี คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การสังเคราะห์งานวิจัย, เด็กและเยาวชน, นโยบาย

บทคัดย่อ

การศึกษาช่องว่างงานวิจัยที่เกี่ยวกับเด็กและเยาวชนในประเทศไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ช่องว่างการวิจัยเชิงประจักษ์ และเสนอแนะแนวทางการปฏิบัติและนโยบายสำหรับการวิจัยเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนของประเทศไทยในอนาคต กลุ่มตัวอย่าง คือ งานวิจัยเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนที่ผ่านเกณฑ์คัดเลือก และผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึก แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษา พบว่า ช่องว่างงานวิจัยที่เกี่ยวกับเด็กและเยาวชนในประเทศไทยมี 6 ประเด็น ได้แก่ 1) ความทันสมัย เท่าทันเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงในสังคม 2) ข้อความรู้เชิงลึกและเชิงระบบที่ก่อให้เกิดผลกระทบเชิงนโยบาย 3) ความร่วมมือระหว่างนักวิชาการและนักวิจัยหรือสถาบันที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ 4) การศึกษากลุ่มเด็กและเยาวชนในพื้นที่เข้าถึงยาก 5) งานวิจัยที่มุ่งตอบโจทย์ความท้าทายใหม่ ๆ ในอนาคต 6) การพัฒนานักวิจัยและระบบการสนับสนุน ข้อเสนอแนะทางนโยบายเพื่อนำไปสู่งานวิจัยเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน ได้แก่ มาตรการเชิงปฏิบัติการในการกำหนดประเด็นการวิจัยหรือโจทย์การวิจัยระดับชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน มาตรการเชิงปฏิบัติการในการสนับสนุนงานวิจัยที่มีผลกระทบสูงและเน้นการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กและเยาวชน และมาตรการเชิงปฏิบัติการในการกำหนดมาตรฐานด้านการวิจัยเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน นโยบายการวิจัยเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนของประเทศ ควรจะมีทิศทางและกลไกที่เชื่อมโยงสู่การขับเคลื่อนและการใช้ประโยชน์งานวิจัย และให้ความสำคัญกับระบบบริหารจัดการวิจัยในการพัฒนาเด็กและเยาวชนที่มีประสิทธิภาพ

References

กรมกิจการเด็กและเยาวชน. (2560). แผนกลยุทธ์กรมกิจการเด็กและเยาวชน ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

กรมกิจการเด็กและเยาวชน. (2560). แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). การวิเคราะห์อภิมาน. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิจารณ์ พานิช. (2557). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bronfenbrenner, U., & Morris, P. A. (1998). The ecology of developmental process. In W. Damon & R. M. Lerner (Eds.), Handbook of child psychology, vol. 1: Theoretical models of human development (5th ed.). NY: John Wiley and Sons.

Kay, K. (2010). 21st century skills: Why they matter, what they are, and how we get there. In J. A. Ballanca, & R. Brandt (Eds.), 21st century skills: Rethinking how students learn. Bloomington, IN: Solution Tree.

United Nations. (2018). The sustainable development goals. Retrieved 2019, 24 April, from https://www.un.org/sustainabledevelopment/sustainable-development-goals/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-30