การใช้กลยุทธ์การเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของนักศึกษาในห้องเรียนภาษาอังกฤษขนาดใหญ่: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ผู้แต่ง

  • ฐิตาภา สินธุรัตน์ สาขาภาษาตะวันตก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • กฤษณะ โฆษชุณหนันท์ สาขาภาษาตะวันตก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • ประภาพร เล็กดำรงศักดิ์ สาขาภาษาตะวันตก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

กิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก, การประเมิน, รายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน, ห้องเรียนภาษาอังกฤษขนาดใหญ่

บทคัดย่อ

ในประเทศไทยปัญหาหลักที่มักเกิดขึ้นในห้องเรียนภาษาอังกฤษคือจำนวนนักเรียนที่มีมากกว่า 50 คนต่อห้องเรียน และการเรียนรู้แบบเน้นฟังบรรยายของผู้เรียน ดังนั้นการเรียนรู้เชิงรุก ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 จึงได้รับความนิยมและเป็นกลยุทธ์ที่จำเป็นในห้องเรียน จุดมุ่งหมายของงานวิจัยในครั้งนี้คือ 1) เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของการประยุกต์ใช้วิธีการเรียนรู้แบบเชิงรุกในห้องเรียนภาษาอังกฤษด้วยการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนและ 2) เพื่อสำรวจระดับความพึงพอใจของ กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียน 267 คนที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มีบทเรียนกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุก 8 สัปดาห์ มีกิจกรรมหลายหลายรูปแบบ รวมถึงการใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีการศึกษา เครื่องมือที่ใช้คือแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษแบบปรนัยจำนวน 75 ข้อที่ใช้เป็นแบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียนและแบบสอบถามจำนวน 20 ข้อประกอบด้วยแบบประเมินตนเองของนักเรียน 6 ข้อและแบบประเมินโดยครู 14 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่าคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียนที่ระดับค่าสถิติ .05 คะแนนการประเมินตนเองของนักศึกษาต่อการใช้กิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกและการจัดการเรียนการสอนพบว่ามีความพึงพอใจในระดับสูงโดยมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 4.16 (gif.latex?\bar{x} = 4.16, S.D. = 0.75) คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อครูผู้สอนอยู่ในระดับมากเท่ากับ 4.20 (gif.latex?\bar{x} = 4.20, S.D. = 0.73) ผลการทดสอบก่อนการเรียนชี้ให้เห็นว่า นักศึกษาอาจไม่คุ้นเคยกับการใช้กลยุทธ์การเรียนรู้เชิงรุกในห้องเรียนภาษาอังกฤษขนาดใหญ่ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อนักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้เชิงรุก สามารถส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ดังที่เห็นได้จากผลการทดสอบหลังการเรียน

References

Black, P., & Wiliam, D. (1998). Assessment and classroom learning, assessment in education: principles, policy and practice. CARFAX, 5(1), 7-74.

Coon, D., & Mitterer, J. O. (2013). Gateways to psychology: An introduction to mind and behavior (13th ed.). Belmont, CA: Cengage Learning/ Wadsworth.

Davis, B. G. (1993). Learning groups. In M. Tennant, C. McMullen & D. Kaczynski, D. Teaching. Learning and research in higher education. Florence: Taylor and Francis (pp. 69-84).

Dixson, D. D., & Worrell, F. C. (2016). Formative and summative assessment in the classroom. Theory into Practice, 55(2), 153-159.

Ellis, N. (1993). Rules and instances in foreign language learning: Interactions of implicit and explicit knowledge. European Journal of Cognition Psychology, 5(3), 289-318.

Gholami, V., Attaran, A., & Moghaddam, M. M. (2014). Towards an interactive EFL class: Using active learning strategies. Research on Humanities and Social Sciences, 4(19), 190-195.

Haque, B. B. (2009). Demotivation: A key barrier to learning English as a foreign language, Why it happens and how it can be tackled. Proceedings at the 8th International Conference on Language and Development, Bangladesh 2009, 1-8.

Herrington, J., & Oliver, R. (1999). Using situated learning and multimedia to investigate higher-order thinking. Journal of Interactive Learning Research, 10(1), 3–24.

Kay, K. (2010). 21st Century skills: Why they matter, what they are, and how we get there. In J. A. Bellanca, & R. S. Brandt (Eds.). 21st century skills: Rethinking how students learn (pp. xiii-xxi). Bloomington, IN: Solution Tree Press.

Kitjaroonchai, N., & K., Tantip. (2012). Motivation toward English language learning of Thai students Majoring in English at Asia-Pacific International University. Catalyst, 7(1), 21-38.

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W., (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement.

Long, M. H., & Porter, P. (1985). Group work, interlanguage talk and second language acquisition. TESOL Quarterly, 19, 207–228.

Mark, T., Cathi, M., & Dan, K. (2009). Perspectives on quality teaching, teaching, learning and research in higher education. Florence: Taylor and Francis.

Mckinney, S., Haberman, M., Stafford-Johnson, D., & Robinson, J. (2008). Developing teachers for high-poverty schools: The role of the Internship experience. Urban Education, 43(1), 68-82. doi: 10.1177/0042085907305200

Noom-Ura, S. (2013). English-teaching problems in Thailand and Thai teachers' professional development needs. English Language Teaching, 6(11), 139-147.

Race, P. (2010). Using effective assessment to promote learning. In L. Hunt & D. Chalmers. University teaching in focus: A learning-centered approach. Hoboken: Taylor and Francis (pp. 74-91).

Rotellar, C., & Cain, J. (2016). Research, perspectives, and recommendations on implementing the flipped classroom. American Journal of Pharmaceutical Education, 80, 1-9.

Segers, M., & Dochy, F. (2010). New assessment forms in problem-based learning: The value-added of the students’ perspective. Journal of Studies in Higher Education, 26, 327-343.

Sivan, A., Leung, R. W., Woon, C. C., & Kember, D. (2000). An implementation of active learning and its effect on the quality of student learning. Journal of Innovations in Education and Training International, 37, 381-389.

Todd, R. W., & Shih, C. M. (2013). Assessing English in Southeast Asia. In Kunnan, A. J. (Ed.). The companion to language assessment. New York: Wiley.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29