สถานการณ์ผลกระทบ ความต้องการการช่วยเหลือและการปรับตัวของคนวัยทำงานในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19: การศึกษาเชิงประจักษ์ในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • กนกวรา พวงประยงค์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

ผลกระทบ, การปรับตัว, ความต้องการการช่วยเหลือ, โควิด-19

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ผลกระทบ ความต้องการการช่วยเหลือ และการปรับตัวในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ของคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,200 ราย ที่พักอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและมีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา จากผลการวิจัยพบว่าคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานครได้รับผลกระทบด้านเศรษฐกิจในระดับปานกลางและได้รับผลกระทบด้านสังคมในระดับมาก โดยคนวัยทำงานร้อยละ 88.25 ต้องการได้รับการเยียวยาช่วยเหลือในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 นอกจากนั้นยังพบว่าในการปรับตัวด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต คนวัยทำงานส่วนใหญ่ ร้อยละ 94.92 สวมหน้ากากอนามัยเป็นประจำทุกวัน ขณะที่การปรับตัว ด้านเศรษฐกิจ คนวัยทำงานส่วนใหญ่ ร้อยละ 88.75 มีการปรับพฤติกรรมการใช้จ่ายเงินของตนเอง ส่วนการปรับตัวด้านสังคม คนวัยทำงานส่วนใหญ่ ร้อยละ 87.67 มีการปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ดังนั้น ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจึงควรมีบทบาทในการช่วยเหลือแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน การส่งเสริมทักษะทางอาชีพ การดูแลสุขภาพจิต การสนับสนุนให้เกิดพฤติกรรมการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตลอดจนส่งเสริมพฤติกรรม การปรับตัวที่เหมาะสมแก่คนวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร

References

กระทรวงการคลัง. (2563). มาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19). สืบค้น 24 ธันวาคม 2563, จาก https://www.mof.go.th/th/view/attachment/file/3134393130/ข่าวแถลงกระทรวงการคลังฉบับที่%2026-2563%20%28มาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากไวรัสโคโรนา%20%28COVID-19%29%20...%29.pdf

กนกวรา พวงประยงค์, และสานิตย์ หนูนิล. (2563). การสำรวจผลกระทบ การปรับตัวและการมีพฤติกรรมช่วยเหลือสังคมในภาวะวิกฤต COVID-19 ของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. สืบค้น 26 เมษายน 2563, จาก https://www.facebook.com/169059186777803/posts/1149252082091837/

กรมสุขภาพจิต. (2563). รายงานผลการคัดกรองความกังวลต่อไวรัส โควิด-19. สืบค้น 24 ธันวาคม 2563, จาก https://www.dmh.go.th/covid19/

ทนงศักดิ์ แสงสว่างวัฒนะ, ณิชนันท์ ศิริไสยาสน์, และโชติ บดีรัฐ. (2563). New Normal วิถีชีวิตใหม่และการปรับตัวของคนไทยหลังโควิด-19: การงาน การเรียน และธุรกิจ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 4(3), 263-278.

เปิดไทม์ไลน์ต้นตอโควิดโลก-โควิดไทย. (2563, 20 เมษายน). สยามรัฐออนไลน์. สืบค้นจากhttps://siamrath.co.th/n/148697

ยงยุทธ แฉล้มวงศ์. (2563). มาตรการเร่งด่วนในการช่วยเหลือแรงงานและคนทำงานจากผลกระทบของการระบาดโควิด-19. สืบค้น 24 ธันวาคม 2563, จาก https://tdri.or.th/2020/03/labor-measures-covid19/

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). การสำรวจผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19. สืบค้น 20 มกราคม 2564, จาก http://ittdashboard.nso.go.th/covid19_report_social.php

แสวง รัตนมงคลมาส. (2538). ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม. กรุงเทพฯ: สารมวลชน.

องค์การสหประชาชาติ. (2563). รายงานเบื้องต้นการสำรวจผลกระทบและความต้องการของเด็กและเยาวชนในสถานการณ์โควิด-19. สืบค้น 20 มกราคม 2564, จาก https://www.unicef.org/thailand/th/media/4031/file

อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์, บุญเลิศ วิเศษปรีชา, ประภาส ปิ่นตบแต่ง, สมชาย ปรีชาศิลปกุล, ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน, ธนิต โตอดิเทพย์ และธนพฤกษ์ ชามะรัตน. (2563). สรุปผลการสำรวจคนจนเมืองในภาวะวิกฤติโควิด-19 และข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

Best, J. W. (1981). Research in education (4th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Carson, R. C., Coleman, J. C., & Butcher, J. N. (1988). Abnormal psychology and modern life (8th ed.). Illinois: Scott, Foresman.

Cronbach, L. J. (1970). Essential of psychological testing (3rd ed.). New York: Harper Row.

Dye, T. R. (1982). Understanding public policy. New Jersey: Prentice Hall.

Khazanie, R. (1996). Statistics in a world of applications (4th ed.). New York: Harper Collins College.

Morales-Vives, F., Manuel Dueñas, J., Vigil-Colet, A., & Camarero-Figuerola, M. (2020). Psychological variables related to adaptation to the COVID-19 lockdown in Spain. Frontiers in Psychology, 11, 1-10. Retrieved from https://doi.org/10.3389/fpsyg.2020.565634

Roy, C. (2009). The Roy adaptation model (3rd ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Van Gelder, M., M., H., J., Bretveld, R., W., & Roeleveld, N. (2010). Web-based questionnaires: the future in epidemiology?. American Journal of Epidemiology, 172(11), 1292-1298.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-30