การประเมินผลการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีตามโครงการความร่วมมือระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ผู้แต่ง

  • ศศิธร กาญจนสุวรรณ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ณรงค์ ทีปประชัย สำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • อนันดา สัณฐิติวณิชย์ สำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

ประเมินผลการจัดการศึกษา, ความร่วมมือ, กระทรวงมหาดไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงประเมินมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินกระบวนการการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีตามโครงการความร่วมมือระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2) ประเมินผลการจัดการเรียนการสอน 3) ศึกษาการนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาท้องที่ของนักศึกษา และ 4) ประเมินผลลัพธ์ของการจัดการเรียนการสอน การดำเนินการวิจัย ดังนี้ ใช้รูปแบบการประเมินของเคิร์กแพทริค ประเมินใน 4 ด้าน ได้แก่ 1) ประเมินปฏิกิริยาตอบสนอง ได้แก่ ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอน 2) ประเมินผลการเรียนรู้ ได้แก่ ผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (TQF) 3) ประเมินพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปหลังการศึกษา ได้แก่ การนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาท้องที่ และ 4) ประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นต่อหน่วยงาน ได้แก่ ผลงานหรือผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ดำเนินการเก็บข้อมูลเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ภาคการศึกษา 1/2561 และภาคการศึกษา 2/2561 ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ 1) อาจารย์ที่สอนในปีการศึกษา 2561 จำนวน 20 คน 2) นักศึกษาชั้นปี 1 – 4 ในปีการศึกษา 2561 มีนักศึกษาลงทะเบียนทั้งสิ้น 2,877 คน และ 3) ผู้มีส่วนได้เสีย เช่น ประชาชนในพื้นที่ เจ้าหน้าที่ในส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีดังนี้ 1) แบบสังเกตการจัดการเรียนการสอนตามกรอบ TQF 2) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาและการนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาท้องที่ 3) แบบวัดคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (TQF) และ 4) แบบประเมินคุณลักษณะบัณฑิตของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการประเมินกระบวนการการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี พบว่า ผลการสังเกตการณ์การสอนของอาจารย์เป็นไปตามกลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ตามกรอบ TQF ซึ่งในบางชุดวิชามีการเรียนการสอนในสถานที่ที่ลงพื้นที่ในชุมชน ซึ่งเป็นการส่งเสริมด้านทักษะทางปัญญาเพื่อให้นักศึกษาใช้ความคิดวิเคราะห์กรณีศึกษาจากเหตุการณ์จริงและด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ มีกิจกรรมลงพื้นที่ให้นักศึกษาได้ร่วมกันทำงานเป็นทีม 2. ผลการประเมินผลการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี ดังนี้ 1) ผลการประเมินผลด้านความรู้ของนักศึกษาในหลักสูตร ภาคเรียนที่ 1 มีผลการเรียนรู้ผ่านคิดเป็นร้อยละ 95.74 และภาคเรียนที่ 2 มีผลการเรียนรู้ผ่านคิดเป็นร้อยละ 95.96 2) ผลการวัดและประเมินคุณลักษณะของนักศึกษาตามกรอบ TQF ดังนี้ นักศึกษามีคุณลักษณะด้านคุณธรรมและจริยธรรม ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และทักษะการศึกษาทางไกล อยู่ในระดับมาก 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนในด้านการสอนของอาจารย์อยู่ในระดับมากที่สุด 3. การนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาท้องที่ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี พบว่า นักศึกษามีการนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาท้องที่อยู่ในระดับมาก 4. ผลลัพธ์ของการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี ได้คัดเลือกโครงการและติดตามลงพื้นที่ เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานในการนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาท้องที่ ได้แก่ โครงการธนาคารน้ำใต้ดิน อำเภอโนนแดง จังหวัดนครราชสีมา ผลกระทบ/การเปลี่ยนแปลงของชาวบ้าน ลดปัญหาความขัดแย้งของชาวบ้าน เพราะสามารถกำจัดน้ำทิ้งจากครัวเรือนได้ ลดปัญหาน้ำขัง ไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ลดการเกิดไข้เลือดออก ปริมาณน้ำบาดาลมีมากขึ้น และ ชาวบ้านมีความพึงพอใจกับการทำธนาคารน้ำใต้ดิน และสนใจทำธนาคารน้ำใต้ดินในบ้านตนเอง

References

โครงการความร่วมมือระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2556). หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ วิชาเอกการบริหารการปกครองท้องที่ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2556. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

โครงการความร่วมมือระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2560). หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต วิชาเอกการบริหารการปกครองท้องที่ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์. (2549). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการประเมินหลักสูตรและการเรียนการสอน ใน ประมวลสาระชุดวิชาการประเมินหลักสูตรและการเรียนการสอน (น. 1-7). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2537). การพัฒนาหลักสูตรแบบครบวงจร. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2553). การประเมินหลักสูตร: หลักการและแนวปฏิบัติ. วารสารวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ. สืบค้น 11 มิถุนายน 2562, จาก http://www.edu.tsu.ac.th/major/eva/files/journal/scan1.pdf

สมคิด พรมจุ้ย, และสุพักตร์ พิบูลย์. (2543). การประเมินหลักสูตรในเทคนิคการประเมินหลักสูตร. นนทบุรี: สำนักวิชาการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุภมาส อังศุโชติ. (2555). รูปแบบการประเมินนโยบาย แผนงาน และโครงการ ใน ประมวลสาระชุดวิชาการประเมินนโยบาย แผนงาน และโครงการ. (น. 5). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2559). พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่พระพุทธศักราช 2457. สืบค้น 10 มิถุนายน 2562, จาก http://www.krisdika.go.th/librarian/get?sysid=621417&ext=htm.

สำนักงานโครงการความร่วมมือระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2561). สาสน์จากอธิบดีกรมการปกครอง. สืบค้น 10 มิถุนายน 2562, จาก https://mouproject.stou.ac.th/message/message2/.

Kirkpatrick, J. (1985). Theory and history in marketing: Reply. Boston USA.: Marketing Group.

Kirkpatrick, J. (1985). Theory and history in marketing: Reply. Managerial and Decision Economics, 6(3), 186-188.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-29