การยอมรับเทคโนโลยีและแรงจูงใจที่มีผลต่อความตั้งใจใช้บริการสั่งอาหารผ่าน Mobile Application ซ้ำของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร ช่วงสถานการณ์ โควิด19

ผู้แต่ง

  • ธรรมรัตน์ สืบประยงค์ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • จรัญญา ปานเจริญ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

การยอมรับเทคโนโลยี, แรงจูงใจ, โควิด19, โมบายแอปพลิเคชัน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีและแรงจูงใจที่มีผลต่อความตั้งใจใช้บริการสั่งอาหารผ่าน Mobile Application ซ้ำของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครช่วงสถานการณ์ โควิด19 เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครที่เคยใช้บริการสั่งอาหารผ่าน Mobile Application ช่วงสถานการณ์ โควิด19 จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test F-test และ Multiple Regression ผลการวิจัยพบว่า การยอมรับเทคโนโลยีของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร มีผลต่อความตั้งใจใช้บริการสั่งอาหารผ่าน Mobile Application ซ้ำช่วงสถานการณ์ โควิด19 ด้านการรับรู้ความง่ายต่อการใช้งานมีผลมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการรับรู้ถึงความเสี่ยงการใช้งาน ด้านการรับรู้ถึงประโยชน์การใช้งาน และด้านการรับรู้ความไว้วางใจ ตามลำดับ โดยทั้ง 4 ตัวแปรของการยอมรับเทคโนโลยีสามารถอธิบายความตั้งใจใช้บริการสั่งอาหารผ่าน Mobile Application ซ้ำ ช่วงสถานการณ์ โควิด19 ได้ร้อยละ 35 (R2 = 0.350) และแรงจูงใจของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร มีผลต่อความตั้งใจใช้บริการสั่งอาหารผ่าน Mobile Application ซ้ำช่วงสถานการณ์ โควิด19 ด้านแรงจูงใจที่เกิดจากตัวผลิตภัณฑ์มีผลมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านแรงจูงใจที่เกิดจากเหตุผล ด้านแรงจูงใจที่เกิดจากอารมณ์ และด้านแรงจูงใจที่เกิดจากการอุปถัมภ์ร้านค้า ตามลำดับ โดยทั้ง 4 ตัวแปรของแรงจูงใจสามารถอธิบายความตั้งใจใช้บริการสั่งอาหารผ่าน Mobile Application ซ้ำ ช่วงสถานการณ์ โควิด19 ได้ร้อยละ 43.70 (R2 = 0.437)

References

เทคโนโลยีสําหรับร้านอาหาร Mobile order. (2561). สืบค้น 1 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.foodstory.co/blog/restaurant-mobile-order.

พิบูล ทีปะปาล. (2545). หลักการตลาดยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มิตรสัมพันธ์กราฟฟิค.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภคฉบับปรับปรุงใหม่. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2562). การแข่งขันของแอปพลิเคชั่นสั่งอาหาร ดันธุรกิจ Food delivery เติบโตต่อเนื่อง คาดมีมูลค่าสูงถึง 33,000–35,000 ล้านบาท ในปี 2562 (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 2559). สืบค้น 1 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/z2995.aspx

สารานุกรม IT. (2561). Application คืออะไร. สืบค้น 1 พฤศจิกายน 2563, จาก http://www.mindphp.com.

Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques (3rd ed.). New York: John Wiley and Sons.

Davis, F. D. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS Quarterly, 13, 319-340. doi: 10.2307/249008.

Hinton, Perry, McMurray, Isabella, & Brownlow, Charlotte. (2004). SPSS explained routledge. New York: Routledge.

Smith, P.R., & Taylor, J. (2004). Marketing communications. London: Kogan Page.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29