การปลูกฝังวัฒนธรรมสุจริต เพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในองค์การ

ผู้แต่ง

  • นิติพล ธาระรูป คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ธิฏิรัตน์ พิมลศรี ฝ่ายบริหารโครงการวิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ศิรภัสสรศ์ วงศ์ทองดี หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ณัฐวดี ลิ้มเลิศเจริญวนิช นักวิจัยอิสระ

คำสำคัญ:

แนวทางการปลูกฝังวัฒนธรรมสุจริต, การป้องกันและปราบปรามการทุจริต

บทคัดย่อ

บทความมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการปลูกฝังวัฒนธรรมสุจริต เพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในองค์การทางสังคม 7 องค์การ การศึกษานี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การทบทวนเอกสารอย่างครอบคลุม การสัมภาษณ์เชิงลึกการประชุมกลุ่ม และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) ครอบครัว ผู้ปกครองต้องเป็นต้นแบบที่ดีทำกิจกรรมสุจริตร่วมกัน 2) องค์การทางการศึกษา คณะผู้บริหารต้องกำหนดนโยบายความสุจริต ใช้จรรยาบรรณวิชาชีพ ทำกิจกรรมร่วมกับเครือข่ายชุมชน และผู้ปกครอง 3) องค์การทางศาสนา เจ้าอาวาสต้องปกครองด้วยหลักพระธรรมวินัย อบรม และทำกิจกรรมทางศาสนา 4) องค์การชุมชน คณะกรรมการชุมชนต้องปลูกฝังความสุจริตด้วยทุนทางสังคม การจัดทำธรรมนูญชุมชน และสื่อสารกับสมาชิกชุมชน 5) องค์การธุรกิจ ผู้บริหารองค์การต้องกำหนดนโยบาย การบริหารองค์การอย่างโปร่งใส การจัดทำคู่มือให้ความรู้ความสุจริตกับสมาชิกในองค์การ 6) องค์การทางการเมืองการปกครอง คณะกรรมการป้องกันการทุจริตขององค์การต้องปลูกฝังความสุจริตด้วยการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน และทำกิจกรรมปลูกฝังความสุจริต การยกย่องบุคคลต้นแบบ และ7) องค์การสื่อมวลชน สภาสื่อมวลชนต้องกำหนดนโยบาย ประกาศเจตจำนงสุจริต กำหนดระเบียบ จรรยาบรรณวิชาชีพ และทำกิจกรรมปลูกฝังความสุจริต

References

คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ. (2560). คู่มือการขับเคลื่อนแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2559-2564). สืบค้นจาก https://bit.ly/2x8V8Qa.

คณะอนุกรรมการคัดเลือกชุมชน องค์กร หน่วยงาน จังหวัดคุณธรรม และคณะ. (2559). คู่มือการประเมินองค์กรชุมชน อำเภอและจังหวัดคุณธรรม. สืบค้นจาก https://bit.ly/2qNwG7n.

ชนิดา จิตตรุทธะ. (2560). วัฒนธรรมองค์การ (organizational culture:) ปัจจัยสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชุติพัณ สุวรรณะบุณย์. (2555). จริยธรรมในองค์กรธุรกิจกับความผูกพันในองค์กรของพนักงานบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ฟินันซ่า จำกัด (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เทพพร มังธานี. (2557). บทบาทของครอบครัวในการปลูกฝังจริยธรรมแก่เยาวชนในภาคอีสาน. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์, 31(1), 45-64.

นงค์นาถ ห่านวิไล. (2561). แนวทางการเสริมสร้างจริยธรรมสื่อมวลชนไทยเชิงพุทธบูรณาการ. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 7(36), 135-155.

บุษกร วัฒนบุตร. (2561). กลยุทธ์การปลูกฝังจิตสำนึกด้านคุณธรรมจริยธรรมสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนของสถาบันการศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 20(1), 43-51.

พระครูวิมลสุวรรณกร. (2558). รูปแบบการปกครองคณะสงฆ์ที่พึงประสงค์ของพระสังฆาธิการในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค 1. วารสาร มจร. สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 5(2), 15-26.

พระครูวิมลสุวรรณกร, เติมศักดิ์ ทองอินทร์, และพระระพิน พุทธิสาโร. (2559). รูปแบบการปกครองคณะสงฆ์ที่พึงประสงค์ของพระสังฆาธิการในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค 1. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 5(2), 15-26.

พระครูโสภณปริยัตยานุยุต (เจมศักดิ์ กิตฺติวณฺโณ). (2557). กลยุทธ์การปกครองคณะสงฆ์เพื่อความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนากรุงเทพมหานคร (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสัญญา ขนฺติธมฺโม. (2561). รูปแบบการปกครองสงฆ์ไทยในอนาคต. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(2), 711-728.

พิธุวรรณ กิติคุณ. (2559). แนวทางการเสริมสร้างความซื่อสัตย์สุจริตของประเทศไทยตามแนวทางขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา. สืบค้นจาก https://bit.ly/37HEzvR.

ยุรธร จีนา, และรมิตา จีนา. (2560). บวรสันติสุข : รูปแบบการมีส่วนร่วมของบ้าน วัด โรงเรียนในการส่งเสริมคุณธรรมค่านิยม 12 ประการจังหวัดเชียงใหม่. สืบค้นจาก https://bit.ly/33n5n15.

รสสุคนธ์ ศุนาลัย. (2555). แนวทางการเสริมสร้างจริยธรรมของผู้ประกอบการวิชาชีพด้านการสื่อสาร และสารสนเทศ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

วริยา ชินวรรโณ และคณะ. (2558). จริยธรรมในวิชาชีพครู: Ethics of the teacher’ profession. กรุงเทพฯ: สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

วัฒณี ภูวทิศ. (2556). บทบาทเชิงจริยธรรมของนักหนังสือพิมพ์ในการรายงานข่าวสารหน้าหนึ่งในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย. วารสารวิจัยราชภัฎเชียงใหม่,15(1), 97-107.

ศศิธร ทิพโชติ, และมนู ลีนะวงศ์. (2557). จริยธรรมในองค์กร และการรับรู้วัฒนธรรมองค์กรที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัทเอกชนในกรุงเทพมหานคร. วารสารสุทธิปริทัศน์, 28(88), 343-361.

ศิรานุช บุญขาว. (2556). รูปแบบการศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3. วารสารบริหารการศึกษาบัณฑิต, 14(1), 62-74.

ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2552). จริยธรรมทางธุรกิจกับบรรษัทภิบาล. วารสารบริหารธุรกิจ, 32(123), 1-6.

ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน). (2558). โครงการศึกษาเพื่อจัดทำหลักสูตรคุณธรรมจริยธรรมด้านสื่อมวลชน. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน), และสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (ม.ป.ป.). รายงานการพัฒนาดัชนีภาพลักษณ์คุณธรรมของภาครัฐในประเทศไทย. สืบค้นจาก https://bit.ly/2KXv6H4.

สภาปฏิรูปแห่งชาติ. (2558). วาระพัฒนาที่ 4 ระบบค่านิยม คุณธรรม จริยธรรมเพื่อความเป็นพลเมืองที่ดีและมนุษย์ที่สมบูรณ์. สืบค้นจาก https://bit.ly/2KjDOR4.

สายฤดี วรกิจโภคาทร และคณะ. (2552). คุณลักษณะและกระบวนการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมในประเทศไทย (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ : สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2561). แนวทางการดำเนินงานด้านการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมในส่วนราชการ. สืบค้น 13 มิถุนายน 2562, จาก https://bit.ly/2wQfWvB.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564). สืบค้นจาก https://bit.ly/2WCcbED.

สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์, และศศิกาญจน ทวิสุวรรณ. (2552). การส่งเสริมคุณธรรมที่มีประสิทธิภาพ กรณีศึกษากลุ่มเด็ก เยาวชน และข้าราชการภาครัฐ. สืบค้นจาก https://bit.ly/2ZoFZGE.

องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา. (2560). ความซื่อตรงในภาครัฐ. สืบค้นจาก https://bit.ly/2OlUFn8.

อาแว มะแส. (2557). บทบาทของชุมชนในการพัฒนาคุณธรรมในสังคมชนบทไทย. สืบค้นจาก https://bit.ly/2DgyiZW.

Barney, J. B. (1986). Organizational culture: Can it be a source of sustained competitive advantage?. The Academy of Management Review, 11(3), 656-665.

Bustari, M. (2017). The institutional integrity of secondary schools. In Cepi Safruddin Abdul Jabar (Ed.). 1st Yogyakarta. International Conference on Educational Management/Administration and Pedagogy (pp. 370-373). Yogyakarta: Yogyakarta State University.

Deal, T. E., & Kennedy, A. (1982). Corporate cultures: The rites and rituals of corporate life. Boston: Addison Wesley.

Erikson, E. H. (1982). The life cycle completed: A review. New York: W. W. Norton.

Handy, C. B. (1991). Gods of management. Great Britain: Business Books.

Jiang, Y. (2018). The role of traditional family motto in the moral cultivation of contemporary youth. In Proceedings of the 3rd International Conference on Contemporary Education, Social Sciences and Humanities (pp. 1573-1576). Moscow: People's Friendship University.

Klein, A. L. (1996). Validity and reliability for competency-based systems: Reducing litigation risks. Compensation and Benefits Review, 28(4), 31-47.

Kotter, J. P., & Heskett, J. L. (1992). Corporate culture and performance. New York: The Free Press.

Mingming, J. (2015). Research on integrity thought in traditional Chinese culture and contemporary value. In Proceedings of the 2015 International Conference on Social Science and Technology Education.

Murni, S., & Tanod, M. J. (2019). Maintaining family integrity through family counseling approach in the information technology advancement era. In Proceedings of the 1st Non Formal Education International Conference (NFEIC 2018). West Sumatra: Universitas Negeri Padang.

Peters, T. J., & Waterman, R. H. (1984). In search of excellence: Lessons from America’s best-run companies. New York: Harper & Row.

Schneider, B., Ehrhart, M. G., & Macey, W. H. (2013). Organizational climate and culture. Annual Review of Psychology, 64(1), 361-388. Retrieved from https://doi.org/10.1146/annurev-psych-113011-143809

Stewart, J. D. (2006). Teachers as exemplars: An Australian perspective. Retrieved from https://bit.ly/3rCUB2D.

Swanger-Gagné, M. S. (2009). The influence of the family context and home intervention implementation integrity on child behavior during conjoint behavioral consultation (Doctoral dissertation). USA: University of Nebraska.

Thomas, R., Kratochwill, L. M., Joel, R. L., Phyllis, A. S., & Gail, C. (2009). Families and schools together: An experimental study of multi-family support groups for children at risk. Journal of School Psychology, 47(4), 245-265.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-29