การเปรียบเทียบการวางแผนทางการเงิน ก่อนและระหว่างสถานการณ์โควิดของคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • แพรพรรณ คำนวน วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • จรัญญา ปานเจริญ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

การวางแผนทางการเงิน, สถานการณ์โควิด, คนวัยทำงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการวางแผนทางการเงินของคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร ช่วงก่อนและระหว่างเกิดสถานการณ์โควิด 2) เพื่อเปรียบเทียบการวางแผนทางการเงินช่วงก่อนและระหว่างเกิดสถานการณ์โควิด ของคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร และ 3) เพื่อเปรียบเทียบการวางแผนทางการเงินของคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร ช่วงก่อนและช่วงที่เกิดสถานการณ์โควิด จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากตัวอย่างที่เป็นคนวัยทำงานที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ที่มีอายุระหว่าง 20-60 ปี จำนวน 400 ตัวอย่าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired-Sample t-test Independent Sample t-test และ One Way ANOVA ผลการศึกษาพบว่า คนวัยทำงานในกรุงเทพมหานครมีการวางแผนทางการเงินก่อนและช่วงเกิดสถานการณ์โควิดในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบการวางแผนทางการเงินช่วงก่อนและระหว่างเกิดสถานการณ์โควิด ของคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร พบว่า คนวัยทำงานในกรุงเทพมหานครมีการวางแผนทางการเงินก่อนและช่วงเกิดสถานการณ์โควิดแตกต่างกันทั้งในภาพรวม และในกระบวนการวางแผนทางการเงินทุกกระบวนการ โดยคนวัยทำงาน ในกรุงเทพมหานครมีการวางแผนทางการเงินช่วงเกิดสถานการณ์โควิดมากกว่าก่อนเกิดสถานการณ์โควิด นอกจกนี้ ผลการทดสอบสมมติฐาน ยังพบว่า คนวัยทำงานในกรุงเทพมหานครที่มีอายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา และรายได้ แตกต่างกัน มีการวางแผนทางการเงินก่อนเกิดสถานการณ์โควิดแตกต่างกัน และพบว่า คนวัยทำงานในกรุงเทพมหานครที่มีอายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ แตกต่างกัน มีการวางแผนทางการเงินช่วงเกิดสถานการณ์โควิดแตกต่างกัน

References

กิจติพร สิทธิพันธุ์. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลของประชาชนในกรุงเทพมหานคร (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

คอลัมนิสต์การเงิน-หุ้น. (2563, 24 มีนาคม). ผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์จาก “ไวรัสโควิด-19”. โพสต์ทูเดย์. สืบค้น 15 สิงหาคม 2563, จาก https://www.posttoday.com/finance-stock/columnist/618563

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน). (2563). ประเทศไทยหลังโควิด-19 ตอนที่ 1: ผลกระทบเศรษฐกิจและตลาดแรงงานไทย. สืบค้น 15 สิงหาคม 2563, จาก https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/business-maker/thailand-aftercovid-ep1.html

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2563). ทิศทางเศรษฐกิจไทยปี 2563 ชะลอตัวต่ำกว่าที่คาดและต่ำกว่าศักยภาพ. สืบค้น 15 สิงหาคม 2563, จาก https://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/256301CoverStory.aspx

ธีรพัฒน์ มีอำพล. (2557). ความรู้ทางการเงินและพฤติกรรมการออมที่ส่งผลต่อการวาง (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รัชนีกร วงศ์จันทร์. (2559). การบริหารการเงินส่วนบุคคล (พิมพ์ครั้งที่ 4 ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

ราตรี พัฒนรังสรรค์. (2542). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน = Human behavior and self-Development. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฎจันทรเกษม.

Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques (3rd ed.). New York: John Wilay & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29