ลักษณะทางภาษาบางประการที่พบใน พระราชนิพนธ์ ไกลบ้าน

ผู้แต่ง

  • นพาวรรณ์ ใจสุข คณะวิทยาลัยนานาชาติจีน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • วิไลศักดิ์ กิ่งคำ ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ลักษณะทางภาษา, เปรียบเทียบภาษาต่างสมัย, พระราชนิพนธ์ไกลบ้าน

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งนำเสนอลักษณะทางภาษาในพระราชนิพนธ์ไกลบ้าน ซึ่งเป็นลายพระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผลการวิเคราะห์พบว่า ลักษณะทางภาษาในพระราชนิพนธ์ไกลบ้านวิเคราะห์ได้ 4 ด้านดังต่อไปนี้ 1. อักขรวิธี 2. ลักษณะของคำ 3. ลักษณะของลำดับคำในวลีและประโยค 4.ลักษณะสำนวน ซึ่งแบ่งเป็นลักษณะย่อยได้ดังนี้ 1. อักขรวิธี ได้แก่ การใช้พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และเครื่องหมาย 2. ลักษณะของคำ ได้แก่ คำยืมภาษาอังกฤษ การเรียบเรียงคำ และคำซึ่งมีความหมายเหมือนกันและอยู่ในหมวดคำเดียวกัน แต่มีรูปต่างกัน 3. ลักษณะของลำดับคำในวลีและประโยค ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงลำดับคำในวลี และการเปลี่ยนแปลงลำดับคำในประโยค 4. ลักษณะสำนวน ได้แก่ สำนวนที่ใช้ในความหมายเหมือนกันทั้งในสมัยก่อนและปัจจุบัน กับสำนวนที่มีความหมายเหมือนกันทั้งในสมัยก่อนและปัจจุบันแต่มีส่วนประกอบต่างกันอยู่เพียงคำเดียว จากการศึกษาดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ภาษาไทยปัจจุบันที่ได้มีโอกาสอ่านพระราชนิพนธ์ไกลบ้านให้เข้าใจถึงเหตุผลความแตกต่างของลักษณะทางภาษาและสามารถศึกษาได้อย่างลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น

References

กำชัย ทองหล่อ. (2556). หลักภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 54). กรุงเทพฯ: รวมสาส์น.

คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2543). โครงกระดูกในตู้ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.

จรัลวิไล จรูญโรจน์, ม.ล. (2557). ภาษาในบริบทสังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2466). พระราชนิพนธ์ไกลบ้าน ฉบับพระราชหัตถเลขา. สืบค้น 20 ธ.ค. 2563, จาก http//www.vajirayana.org/พระราชนิพนธ์เรื่องไกลบ้าน/พระราชหัตถเลขา

ชวนพิศ อิฐรัตน์. (2518). การใช้คำและสำนวนในสมัยสุโขทัย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดียู ศรีนราวัฒน์, และชลธิชา บำรุงรักษ์. (2558). ภาษาและภาษาศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธวัช ปุณโณทก. (2553). วิวัฒนาการภาษาไทยและอักษรไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นพรัฐ เสน่ห์. (2558). การใช้คำและสำนวนในพระราชนิพนธ์ ไกลบ้าน. วารสารภาษาและวรรณคดีไทย, 32(3), 41-61.

นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยา. (2502). บันทึกเรื่องความรู้ต่างๆ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.

บรรจบ พันธุเมธา. (2555). ลักษณะภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ประคอง นิมมานเหมินท์. (2555). การเขียนคำภาษาอังกฤษในพระราชนิพนธ์ไกลบ้าน. วารสารราชบัณฑิตยสถาน,37(4).

ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2515). การใช้ภาษาร้อยแก้วในภาษาไทยสมัยอยุธยา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัชรีย์ จำปา. (2557). สุนทรียวิธีของคำยืมภาษาอังกฤษในพระราชนิพนธ์ เรื่องไกลบ้าน. วารสารวิชาการ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2508). ความรู้ทางอักษรศาสตร์. พระนคร: โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

ราตรี ธันวารชร. (2548). วิวัฒนาการของภาษาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วรรณพร พงษ์เพ็ง. (2547). ภาษาจินตภาพในเรื่องไกลบ้าน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิไลศักดิ์ กิ่งคำ. (2556). ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2560). พจนานุกรมศัพท์ภาษาศาสตร์ (ภาษาศาสตร์ทั่วไป). กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

สุริยา รัตนกุล. (2515). ฃ ฅ หายไปไหน?. วารสารธรรมศาสตร์, 2(1), 29-59.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2549). พินิจไทยไตรภาค ปฐมภาค: ภาษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอธิกา เอกวารีสกุล และคณะ. (2560). เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยสมัยรัชกาลที่ 5 และปัจจุบัน. วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม, 6(2).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-28