ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ บ้านบางเขน

ผู้แต่ง

  • สุดาพิมพ์ สรสุชาติ คณะะบริหารธุรกิจ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • สายพิณ ปั้นทอง คณะบริหารธุรกิจ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • จิรารัตน์ จันทวัชรากร คณะบริหารธุรกิจ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

คำสำคัญ:

การตัดสินใจท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์, บ้านบางเขน, องค์ประกอบด้านการท่องเที่ยว 5A’s

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบด้านการท่องเที่ยว 5A’s ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ บ้านบางเขนซึ่งผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บสำรวจข้อมูลจากนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวบ้านบางเขน จำนวน 400 คน ในช่วงเดือนธันวาคม 2563 ถึง มกราคม 2564 เป็นเครื่องมือในการหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ t-test, f-test การทดสอบสมมติฐานใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s correlation coefficient) และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis)

ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ บ้านบางเขน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 สำหรับปัจจัยด้านองค์ประกอบด้านการท่องเที่ยว 5A’s ได้แก่ ด้านสถานที่ดึงดูดใจ ด้านกิจกรรม ด้านการตระหนักรับรู้ และด้านสิ่งอำนวยความสะดวกมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยเชิงสร้างสรรค์ บ้านบางเขน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนองค์ประกอบด้านการเดินทางที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยเชิงสร้างสรรค์ บ้านบางเขน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ค่าอิทธิพลที่ประสิทธิภาพร้อยละ 62.30

References

จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย. (2558). เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย. วารสารบัณฑิตศึกษา, 58(12), 21-23.

ชื่นสุมล บุนนาค. (2563). การวิเคราะห์เส้นทางความต้องการและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวไทยที่มีต่อรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัล. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร,17(2), 155-183.

ทิพวรรณ พุ่มมณี. (2558). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปณิศา มีจินดา. (2553). พฤติกรรมผู้บริโภค (Consumer behavior). กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

ประสพชัย พสุนนท์. (2555). การวิจัยการตลาด. กรุงเทพฯ: ท๊อปเอ็ดดูเคชั่น.

มารยาท โยทองยศ, และปราณี สวัสดิสรรพ์. (2557). การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัย. สืบค้น 30 ตุลาคม 2563, จาก http://www.fsh.mi.th/km/wp-content/uploads/2014/04/resch.pdf.

วิชสุดา ร้อยพิลา, และปรีดา ไชยา. (2558). องค์ประกอบของทรัพยากรท่องเที่ยวที่มีผลต่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(3), 197-211.

วิไลวรรณ สว่างแก้ว. (2561). อิทธิพลภาพลักษณ์การท่องเที่ยว องค์ประกอบแหล่งท่องเที่ยว และแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยวตลาดน้ำของนักท่องเที่ยวชาวไทย กรณีศึกษาตลาดน้ำ คลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ. (การค้นคว้าอิสระ). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วีระศักดิ์ โควสุรัตน์. (2560). ผู้บริหารกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาให้การต้อนรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. สืบค้น 30 มกราคม 2563, จาก https://www.mots.go.th

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ศุภร เสรีรัตน์, ปณิศา มีจินดา, จิระวัฒน์ อนุวิชชานนท์, และอรทัย เลิศวรรณวิทย์. (2560). การบริหารการตลาดยุคใหม่ (Marketing management). กรุงเทพฯ :ธรรมสาร.

สมพงษ์ พิศาลกิจวนิช. (2560). ไทม์แมชชีนสู่วันวาน เปิด "บ้านบางเขน" ที่พักกายที่ต้องกดไลค์รัวๆ. สืบค้น 15 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://mgronline.com/onlinesection/detail/9600000016521

สุคนธ์ ประสิทธิ์วัฒนเสรี. (2557). ลักษณะทั่วไปของประชากรศาสตร์. สืบค้น 15 พฤศจิกายน 2563, จาก http://www.sukon.cmustat.com/STAT208343/chap1_343.pdf

สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ และคณะ. (2556). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ creative tourism. กรุงเทพฯ: องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน).

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. (2561). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์.กรุงเทพฯ: โคคูน แอนด์ โค.

Grewal & Levy. (2013). M start here. New York: McGraw–Hill.

Samaraweera, K., & Upekshani, Y. (2019, December 18). An empirical analysis to investigate the influence of 5A’s on domestic tourists’ satisfaction in Hikkaduwa, Sri Lanka. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/341277208_An_empirical_analysis_to_investigate_the_influence_of_5A's_on_domestic_tourists'_satisfaction_in_Hikkaduwa_Sri_Lanka

Roday, S., Biwal, A., & Joshi, V. (2009). Tourism: Operations and management. England: Oxford University Press.

Taha Ali, Taha, & Ali, Taha. (2017). GIS-based DSS data model business tourism in Sudan, Alzaeim Alazhari University, Khartoum. Sudan, Sudanese Journal of Computing and Geoinformatics (SJCG), 1(1), 105-107

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29